ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา


การบริหารการศึกษา

ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริหารอื่นๆ โดยวิเคราะห์จากทฤษฎี 4 Ps

  1. Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์)
  2. People (บุคคล)
  3. Process (กรรมวิธีในการดำเนินงาน)
  4. Product (ผลผลิต)

 

ถ้าหากจะแบ่งการบริหารออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.การบริหารราชการแผ่นดิน (Public Administration)

2.การบริหารธุรกิจ (Bussiness Administration)

3.การบริหารการศึกษา (Education Administration)

           1.Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์) การบริหารราชการแผ่นดินมีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข การบริหารธุรกิจมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการกำไรเป็นตัวเงิน แต่การบริหารการศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่หวังผลกำไรเป็นตัวเงิน

           2.People (บุคคล)

                  2.1 ผู้ให้บริการ บุคคลที่เป็นผู้ให้บริการในการบริหารการศึกษา คือ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน อธิการบดี ตลอดจนผู้บริหารการศึกษาต้องเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และเป็นตัวอย่างแก่ผู้รับบริการหรือนักเรียน ซึ่งเป็นบุคคลที่แตกต่างไปจากผู้บริหารหรือบุคคลที่เป็นผู้ให้บริการในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ

                  2.2 ผู้รับบริการ บุคคลที่เป็นผู้รับบริการในการบริหารการศึกษา ส่วนมากเป็นผู้เยาว์ หรือเด็กที่ต้องพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป แต่บุคคลที่เป็นผู้รับบริการในการบริหารราชการแผ่นดิน และ การบริหารธุรกิจ ส่วนมากเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะหรือเป็นผู้ใหญ่แล้ว

           3.Process (กรรมวิธีในการดำเนินงาน)

           การบริหารการศึกษา มีกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน มีกรรมวิธีในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพที่หลากหลาย และแตกต่างกับกรรมวิธีของการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารธุรกิจอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้นการรบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจจะนำกรรมวิธีทางการบริหารการศึกษาไปใช้ไม่ได้อีกด้วย

           4.Product (ผลผลิต) ผลผลิตทางการบริหารการศึกษา คือได้คนที่มีคุณภาพซึ่งเป็นนามธรรม คือเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนแล้วสำเร็จการศึกษาออกไป จะได้เด็กที่มีความรู้ มีความคิด มีความสามารถ และเป็นคนดี ซึ่งจะมองเห็นได้ยากเพราะเป็นนามธรรม แต่ผลผลิตทาง การบริหารราชการแผ่นดิน และ การบริหารธุรกิจ เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย เช่น มีถนนหนทาง มีคลองระบายน้ำ มีไฟฟ้ามีน้ำประปาใช้ มีผลผลิตทางการเกษตร มีผลกำไรเป็นตัวเงิน หรือเมื่อนำผลไม้เข้าไปในโรงงานจะได้ผลผลิตที่ออกจากโรงานเป็นผลไม้กระป๋อง เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 455446เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท