ศูนย์รายได้ เรื่องที่ต้องร่วมด้วยช่วยกัน


ศูนย์รายได้

ดิฉันมอบรองศิริชัยมาดูแลเรื่องศูนย์รายได้ให้เป็นรูปธรรม    ไม่มีเรื่องรั่วไหลเพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อคนส่วนใหญ่ถ้าไม่มีเงินมาใช้จ่าย    รองนัดส่วนที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการทำงาน    ทั้งจากตึกผู้ป่วย   การเงิน   ห้องบัตร  ไอที  งานข้อมูล   เรามีข้อตกลงที่จะร่วมกันใส่ ข้อมูลให้ครบถ้วน    หมอต่อสงสัยว่าคนไข้ที่มีเบาหวานแต่รับไว้ด้วยโรคอื่นๆทำไมต้องใส่โรคด้วย

เราสรุปที่จะทำตามมาตรฐานเพราะระบบคงมีการคิดมาอย่างดีแล้ว     แพทย์จะใส่โรคให้ครบ

หมอนภาแนะนำให้หมอชยนันท์มาช่วยงานเพราะเข้าใจระบบและเข้าใจหมอและการcode โรค    ดิฉันคงต้องหาตัวช่วยหลายคนเช่นหมอก้อง น้องรักของหมอรุจนีมาช่วยงานนี้เพื่อคุณสุริวรรณ์จะได้ไม่เหนื่อยเกินไปค่ะ

ดิฉันขอฝากให้ทุกตึกดูแลเรื่องนี้ให้เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนค่ะ     แล้วเราจะช่วยตัวเองได้ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ศูนย์รายได้
หมายเลขบันทึก: 45515เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2006 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ได้สนองนโยบายของผ.อ.อยู่ค่ะเวลาคิดค่าบริการจะให้ถูกต้องตามอัตราค่าบริการอยู่แล้ว 
  • กำลังรวบรวมรายได้จากการผ่าตัดเทียบกับวัสดุวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลืองที่ใช้ให้ผ.อ.ทราบภายในสิ้นเดือนนี้ค่ะ

ดีมากเลยครับ

1. เรื่องใส่ข้อมูลโดยเฉพาะสิทธินี่ทางห้องยาในจะงงมากเป็นพิเศษ เพราะ เดี๋ยวบอกว่าไม่มีสิทธิ (จ่ายเองหมด) เดี๋ยวบอกว่ารอสิทธิ์ 30 บาท ตบท้ายไปสงเคราะห์ครับ

ล้อเล่นครับ (แต่ก็เคยมีจริงๆ)

ที่เป็นปัญหาบ่อย คือ ในใบคำขอยาจะเขียนหน้าแรกว่า มีสิทธิ์เบิกได้ หน้าต่อมาเขียนว่า 30 บาท (เอาละสิ) หน้าถัดไปไม่เขียน (คิดว่าเราคงรู้แล้ว) หน้าจบเขียนว่า ประกันสังคม ตกลงผมต้องถามทุกครั้งที่ขึ้นใบใหม่ครับ

ที่เป็นปัญหาคือ ยาบางตัวแต่ละสิทธิ์จ่ายไม่เหมือนกันครับ เช่น

ตัวนี้ 30 บาทต้องจ่ายเอง ประกันสังคม/ต้นสังกัดใช้ได้

ตัวนี้ 30 บาท/ประกันสังคมไม่ได้ แต่ต้นสังกัดได้

ตัวนี้ไม่ได้เลยทุกสิทธิ์ จ่ายเองหมด

แถมมีข้อยกเว้นกรณีที่หมอเซ็นต์ให้กรณีจำเป็นต้องใช้..........

แต่ถ้ามีการกรอกข้อมูลครบจริงๆ จะลดปัญหาตรงนี้ลงครับเพราะโปรแกรมห้องยาในจะดึงสิทธิ์โชว์ให้ดูในใบทุกครั้ง (ไม่ใช่คนติ้ก)

ทั้งนี้ข้อมูลต้องกรอกถูกต้องนะครับ

2. แถมท้ายอีกนิด ช่วยร่วมมือลงข้อมูล น้ำหนัก ส่วนสูงหน่อยนะครับเพราะยาบางตัวจำเป็นต้องใช้คำนวณ

ตัวอย่างล่าสุด เจอคนไข้เด็กมาครับ อายุ 13 ปีไม่ระบุน้ำหนัก ยาหมอก็ไม่เขียนขนาดยามา

เอาละ ถามคนไข้ก่อนสิ เจอหน้าคนไข้ถึงบางอ้อครับ เด็กอายุ 13 แต่หนัก 65 กิโลกรัม (เฮฟวี่เวท)

ที่ตอนแรกว่าจะโทรถามหมอต่อก็ไม่ต้องแล้วครับ นี่คือ ประโยชน์ของข้อมูลน้ำหนักครับ

ขอบคุณที่อ่านคำบ่นจบครับ

  • เป็นเรื่องดีค่ะ หากผู้ปฏิบัติสามารถตรวจสอบและลงข้อมูลได้ถูกต้องและครบถ้วน
  • กรณีที่คุณจันทร์เมามายยกตัวอย่าง อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ป่วยแจ้งว่าไม่มีสิทธิด้านการรักษา แต่เมื่อตรวจสอบจาก 13 หลักพบว่ามีสิทธิ 30 บาทและใช้สิทธิฉุกเฉินครบ 2 ครั้งแล้ว ปัญหาจึงเกิดขึ้นเพราะผู้ป่วยไม่มีเงินจ่ายค่ายาค่ะ ซึ่งปัญหานี้ก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่อาจต้องหาทางแก้ไข
  • ข้อมูลโอกาสพัฒนา (ปัญหา) ของคุณ "จันทร์เมามาย" เป็นตัวอย่างปัญหาที่ดีมากๆ เลยนะคะ......ชื่นชมในการเห็นปัญหาและการสื่อสารของคุณ "จันทร์เมามาย" ค่ะ 
  • ถ้าสามารถจัดระบบ IT เพื่อการสื่อสารได้สมบูรณ์ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับงานบริการที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นตัวช่วยที่สำคัญ
  • รวมทั้งขจัดปัญหาเรื่องการจัดเก็บรายได้ด้วย
  • คงต้องใช้พลังของหลายๆ ฝ่ายช่วยกันต่อไปนะคะ
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในห้องยา เพราะสิทธิผู้ป่วยห้องบัตรไม่ได้เช็คในลำดับแรกเพราะผู้ป่วยมีการเปลี่ยนสิทธิได้ ทุกครั้งที่มาโรงพยาบาล เมื่อเป็นผู้ป่วยในผู้ป่วยแจ้งเปลี่ยนสิทธิอีก ทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีปัญหา  อีกทั้งเจอปํญหายาตัวนั้นตัวนี้ให้ได้ และให้ไม่ได้เภสัชต้องใช้วิธีจำ อาจต้องพัฒนาโปรแกรมหรือลดรายการยาที่ไม่จ่ายให้ผู้ป่วย30บาทและประกันสังคมต้องจ่ายเงินเอง ขอเสนอแนะให้คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดทบทวนรายการเหล่านี้ใหม่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท