ตัวกำหนดบรรยากาศ


ตัวกำหนดบรรยากาศ

ตัวกำหนดบรรยากาศองค์การ

                นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับบรรยากาศองค์การได้แยกแยะตัวแปรซึ่งมีผลกระทบต่อบรรยากาศองค์การไว้หลายแนวคิด ซึ่งมีส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ดังเช่น โอเวน ได้อ้างอิงแนวคิดของ ฮาลปินและครอฟท์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับมิติต่างๆของบรรยากาศของคณะครูกับผู้บริหารในโรงเรียน  โดยแยกออกเป็นพฤติกรรมของคณะครู 4 มิติ และพฤติกรรมของผู้บริหาร 4 มิติ รวม 8 มิติ
ดังนี้

                พฤติกรรมของครู 4 มิติ คือ

                1.การขาดความสามัคคี (disengagement)
       หมายถึง ความรู้สึกของครูที่มีต่อพฤติกรรมของคณะครูมักจะทำงานโดยขาดความสามัคคี กล่าวคือ  คณะครูได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนในลักษณะที่ต่างคนต่างขาดการประสานงานขาดความร่วมมือซางกันและกัน

                2.อุปสรรค (hindrance)   หมายถึง   ความรู้สึกของครูที่มีต่อพฤติกรรมของคณะครูว่าคณะครูได้ปฏิบัติงานในหน้าที่โดยขาดความคล่องตัวหรือขาดความสะดวก  เพราะผู้บริหารให้งานครูทำมากเกินไป ครูรู้สึกอึดอัดใจที่ต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ

                3.ความร่วมแรงร่วมใจ(esprit)
        หมายถึงความรู้สึกของครูที่มีต่อพฤติกรรมของคณะครูว่าคณะครูปฏิบัติงานในหน้าที่โดยมีขวัญกำลังใจดีมีความรักหมู่คณะ เพราะครูได้การตอบสนองความต้องการทางด้านสังคมและได้รับความสำเร็จในการปฏิบัติงานสูง

                4.ความสนิทสนม (intimacy)
        หมายถึงความรู้สึกของครูที่มีต่อพฤติกรรมของคณะครูว่าคณะครูปฏิบัติงานในหน้าที่โดนแสดงออกถึงความสนุกสนาน และมีความสัมพันธ์อย่างสนิทสนมยิ่งแต่อาจจะไม่เกี่ยวของกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานก็ได้

พฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียน 4 มิติ คือ

                1.  ความห่างเหิน (aloofness)
       หมายถึง ความรู้สึกของครั้งมีต่อพฤติกรรมของผู้บริหารว่าบริหารงานโดนคำนึงถึงกฎระเบียบกฎเกณฑ์  ข้อบังคับและนโยบายบางอย่างเคร่งครัด มากกว่าคำนึงถึงจิตใจของคณะครู

                2.  การมุ่งผลงาน (production emphasis) หมายถึง ความรู้สึกของครูที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริหารโดยคำนึงถึงผลงานเป็นใหญ่  จะควบคุมตรวจตราสั่งการ และนิเทศการปฏิบัติงานของคณะครูอย่างใกล้ชิด คณะครูจะต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บริหารอย่างเคร่งครัดปราศจากปฏิกิริยาหรือความคิดเห็นใดๆ

                3.  ความเชื่อถือไว้วางใจ (thrust)
       หมายถึง ความรู้สึกของครูที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริหารว่าผู้บริหารพยายามที่จะกระตุ้นหรือจูงใจให้คณะครูปฏิบัติงาน  โดยใช้วิธีกระทำตนเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นยึดถือ

                4.  ความกรุณาปราณี (consideration) หมายถึง ความรู้สึกของครูที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริหารว่าผู้บริหารปฏิบัติต่อคณะครู  โดยแสดงออกถึงความเมตตา กรุณามีมนุษยธรรม ช่วยเหลือปฏิบัติงานของคณะครูเป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 454843เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2011 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท