หลักธรรมการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำ


หลักธรรมการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำ

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ได้กล่าวถึงหลักธรรมสำหรับผู้นำไว้ว่า ผู้นำที่ดีควรมีหลักการอย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก ควรแบ่งงานให้คนอื่นทำ ผู้นำหลายคนเก็บงานไว้ทำคนเดียว ทำให้เหน็ดเหนื่อยอ่อนแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ประการที่สอง การชนะใจลูกน้อง ผู้นำที่ดีต้องนั่งอยู่ในหัวใจของลูกน้อง ด้วยหลักธรรมต่าง ๆ อาทิ ปิยวาจา (การพูดจาที่ดี) การสนับสนุนส่งเสริมลูกน้อง การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในองค์กร
           ปัจจุบัน ผู้นำหลายคนทำงานอย่างหนัก ซึ่งได้ผลสำเร็จทางการงานดี แต่ทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และครอบครัวกลับมีปัญหา ดังนั้น หลักการในการทำงานที่ดีคือ “อารมณ์ดี เพราะมีความสุข” ซึ่งจะทำให้ชีวิตของผู้นำมีความสดใส และมีพลังในการขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ให้สัมฤทธิ์ผลได้อย่างดีที่สุด
           หลัก 9 ประการที่พระมหาวุฒิชัยให้ไว้ คือ
           1. มีสัมมาทิฏฐิ คือ เชื่อในสิ่งที่ถูกต้องเช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
           2. ดำริถูกทาง คือ วิธีคิดบนพื้นฐานของการมีสติ หรือ โยนิโสมนสิการ ซึ่งหยิบยกมาในบางประการ กล่าวคือ คิดเป็น คือ คิดอย่างมีสติ คิดด้วยความรู้สึกตัว คิดถูก คือ คิดถูกเรื่อง คิดถูกระบบ หากจะบวกเลขต้องใช้วิธีคิดแบบคณิตศาสตร์ แต่หากจะดูงานศิลปะต้องใช้วิธีคิดแบบศิลปิน คิดดี คือ คิดด้วยจิตเมตตา ไม่ปรารถนาจะเบียดเบียนทำร้ายใคร และคิดมีประโยชน์ คือ คิดแล้วก่อให้เกิดประโญชน์ในทางปฏิบัติ แก้ปัญหาได้จริง ไม่ใช่คิดทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ แล้วก็ลืม
          3. วางตนให้เหมาะสมกับตำแหน่ง
          4. ชื่นชมผู้อื่น หรือที่เรียกว่ามุทิตาจิต ซึ่งผู้นำควรยึดหลักพรหมวิหารธรรม 4 ประการ คือ ในสถานการณ์ปกติ ควรเมตตา คือ ปรารถนาดีต่อคนอื่น ในสถานการณ์ที่มีปัญหา ควรกรุณา คือ มุ่งช่วยเหลือเกื้อกูลให้เขาพ้นทุกข์ ในสถานการณ์ที่ได้ดีมีสุข ควรมุทิตา คือ พลอยเบิกบานยินดี มีใจแช่มชื่นรื่นรมย์ และในสถานการณ์ที่คนขัดแย้งธรรม / ความจริง ควรอุเบกขา คือ วางใจเป็นกลาง ไม่แทรกแซงธรรมเพื่อเห็นแก่คน หรือไม่เห็นแก่คนจนยอมทิ้งหลักการ
         5. ไม่ฝืนสังขารตนเอง 
         6. ทำงานสุจริต คือ ถูกธรรม และถูกกฎหมาย
         7. ฝึกจิตให้สูง คือ ฝึกจิตให้มีคุณภาพ สุขภาพ และสมรรถภาพ สิ่งที่เป็นตัววัดว่าเราได้ฝึกจิตถูกต้องพอสมควร คือ หนึ่ง คือ เมื่อเราฝึกแล้วเพลิน ใจรู้สึกปลอดโปร่งเบาสบาย มีความแช่มชื่นผ่องใส      สอง คือ อิ่มใจ เกิดความปิติ สาม คือ  เมื่อฟังธรรมะแล้วรู้สึกสงบ  สี่ คือ เรามีความสุข และ ห้า คือ จิตเกิดความสงบ นิ่ง มั่งคง
         8. ไม่ปรุงความคิด คือ การปรุงแต่งความคิดของตนเองจนเป็นทุกข์
         9. ไม่ยึดติดโลกธรรม โลกธรรม แปลว่า ธรรมดาของโลก ซึ่งโลกธรรม 8 ประกอบด้วย มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสุข มีทุกข์ มีสรรเสริญ มีนินทา

หมายเลขบันทึก: 454335เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2011 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท