ผู้สูงอายุ กับ การนอนไม่หลับ


นาฬิกาชีวภาพ

ผู้สูงอายุ กับ อาการนอนไม่หลับ

 

 

 

       การนอนไม่หลับที่ปกติเป็นอย่างไร โดยทั่วไปแล้วเราทุกคนจะมีนาฬิกา ชีวภาพ ( Biological Clock) อยู่เรือนหนึ่งในร่างกาย นาฬิกาเรือนนี้จะเป็นตัวคอยบอกร่างกายว่าเมื่อไหร่จะถึงเวลานอน และเมื่อไหร่ จะถึงเวลาตื่น และเมื่อนาฬิกาในร่างกายบอกว่าถึงเวลานอนแล้ว
 
       วงจรการนอนหลับถึงจะค่อยๆเริ่มเกิดขึ้น วงจรการหลับของเรานี้แบ่งออกได้เป็นสองส่วน ทำงานสลับไปเรื่อยๆ
 
     ส่วนแรก เรียกว่า Non Rapid  Movement  (NON – REM ) ส่วนนี้จะเป็นส่วนของการนอนที่นำไปสู่การหลับที่ลึกขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งพบว่าการหลับลึกนั้นมีความสมพันธ์ กับความรู้สึกสดชื่นในตอนกลางวัน
 
     ส่วนที่สอง เรียกว่า Rapid Eye Movement (REM) เป็นช่วงที่พบว่า มีการทำงานของกล้ามเนื้อตากลอกไปมาร่วมด้วย ส่วนของการนอนหลับส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดการฝันขึ้น โดยปกติแล้ว วงจรการนอนหลับจะเป็นวงจรของ NON- REM-REM สลบกันไปเรื่อยๆแบบนี้ กัน 5-6 ครั้งในแต่ละวัน
 

อาการนอนไม่หลับ

 
      เป็นอาการหนึ่งที่เกิดจาก สมองทำงานไม่ปกติ ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับ  ญาติมักปล่อยปละละเลย   บางครั้งผู้ป่วยก็มักจะแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยานอนหลับ มารับประทานเอง ซึ่งยานอนหลับก็อาจเป็นดาบสองคมได้บ่อยๆในผู้สูงอายุ

 

เกิดอะไรขึ้นกับการนอนหลับเมื่อเรามีอายุมากขึ้น

 

    เกิดการเสื่อมลงของการทำงานของร่างกาย  นาฬิกาชีวภาพที่เคยทำงานได้ก็จะเริ่มลดประสิทธิภาพลงไป  ซึ่งก็จะไปกระทบต่อคุณภาพ  ของการนอนหลับโดยตรง โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดังนี้
 
-     ช่วงเวลาของการนอนหลับจะเลื่อนขึ้นมาเร็วขึ้น
      จะทำให้รู้สึกง่วงหัวค่ำขึ้นกว่าแต่ก่อน และจะรู้สึกตัวตื่นเร็วขึ้น
 
 -   จำนวนหรือเปล่าเปอร์เซ็นต์ ของการนอนหลับลึก จะลดลงไปค่อนข้างมาก
      และจำนวนหรือเปอร์เซ็นต์ของการหลับแบบตื้นจะมีมากขึ้น
 
-   ความต่อเนื่องของการนอนหลับจะลดลง ไม่ดีเหมือนก่อน
     การนอนจะเป็นลักษณะหลับๆตื่นๆ ได้บ่อยขึ้น
 
-   พบการงีบหลับในช่วงบ่ายได้มากขึ้น
 

อาการของการนอนหลับที่พบบ่อยในคนวัยสูงอายุนี้ มีอะไรบ้าง

 

-  หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ บ่อยมาก
-  ตื่นขึ้นมากลางดึก แล้วหลับต่อไม่ได้ 
-  ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น นอนได้ไม่อิ่ม
-  มีอาการอ่อนเพลียมาก หรือ ง่วงมากในตอนกลางวัน
-  มีอาการ หรือพฤติกรรมแปลกๆ ในช่วงระหว่างหลับ
   เช่น ดิ้นอย่างรุนแรง ร้องเสียงดัง เป็นต้น
 
 

สาเหตุการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุ แบ่งออกได้เป็น  2 สาเหตุ  คือ

 

 1. เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความชรา
2. เกิดเนื่องจากมีโรคที่เป็นพยาธิสภาพซ่อนอยู่ได้แก่ จากยาที่ผู้สูงอายุกำลังใช้อยู่
   โรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ  ความเจ็บป่วย โรคสมองเสื่อม และภาวะจิตผิดปกติ 
 

การใช้ยานอนหลับ

 
 ยานอนหลับที่ใช้ในผู้สูงอายุจะมีฤทธิ์อยู่ในร่างกายนานกว่าปกติ เช่น อ่อนเพลีย  ปวดศรีษะ ตาพร่า อาการลืม อาการติดยา เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาการใช้ยาทุกครั้ง และไม่ควรใช้ยา เพราะได้รับคำแนะนำจากผู้อื่น เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
 

วิธีช่วยให้หลับ

 

1.    เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อให้เกิดสุขนิสัยที่ดีในการนอน
2.     หากยังไม่ง่วงไม่ควรอยู่บนเตียง ควรหากิจกรรมอื่นๆทำที่ทำให้ง่วงหลับได้
3.     จัดกิจกรรมในตอนกลางวัน ให้มีการออกกำลังกาย การทำงานอดิเรก
4.     หลีกเลี่ยงการงีบหลับในเวลากลางวัน
5.     งดดื่มเครื่องดื่มที่กระตุ้น เช่น กาแฟ ชา และเครื่องดื่มชูกำลัง
6.     จัดสถานที่ห้องนอนให้สะอาด เงียบ และอากาศถ่ายเทได้ดี
7.    ไม่ควรทำงานในห้องนอน ไม่ควรเอาโทรทัศน์ และโทรศัพท์ไว้ในห้องนอน
8.    ถ้ามีโรคทางกาย ควรกินยาให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายปกติ
      ก็จะสามารถนอนหลับได้อย่างต่อเนื่อง
9.    การฝึกสมาธิ และการปฏิบัติธรรมเป็นทางเลือกอีกอย่าง ที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
 
    โดยสรุป ผู้สูงอายุมักประสบกับปัญหาการนอนไม่หลับได้บ่อยๆ จึงควรทำความเข้าใจกับปัญหาที่เป็นปกติ ในผู้สูงอายุ และ พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น และเมื่ออาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้นผู้สูงอายุ  ก็อาจจำเป็นต้องรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์  เพื่อค้นหาโรคต่างๆ  ที่อาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ ในผู้สูงอายุต่อไป
 
ขอบคุณข้อมูลจาก  ศูนย์ปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน
                           คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
ด้วยความปรารถนาดี    กานดา แสนมณี
 
หมายเลขบันทึก: 453956เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2011 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ขอบคุณคะสำหรับบทความที่เป็นประโยชน์

โดยเฉพาะข้อนี้ 

 หากยังไม่ง่วงไม่ควรอยู่บนเตียง ควรหากิจกรรมอื่นๆทำที่ทำให้ง่วงหลับได้

นอนไม่หลับ เพราะ "กลัวว่าจะนอนไม่หลับ" พบบ่อยเหมือนกันคะ 

 

 

ขอบคุณค่ะ ของพี่ใหญ่คือหลับทุกเวลาที่นั่งว่างๆไม่มีอะไรทำ :)

ตรงกับที่ผมเป็นเกือบทุกอย่างเลย

สงสัยว่าผมจะเริ่มแก่จริงๆ แล้วละ คิคิคิ

ครูดาหลามักจะมีอาการ "หนังท้องตึง หนังตาหย่อน " ค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ดา

    หายไปนานเลยมาแวะเยี่ยมด้วยความคิดถึง..แม้ไม่ได้ล๊อดอินท์แต่ติดตามเสมอค่ะ...คิดถึงนะคะ

สวัสดีครับพี่ พี่สบายดีน่ะครับ ผมสบายดีครับ

สวัสดีค่ะ      Ico48    Ico48   Ico48   Ico48   Ico48   Ico48

 

                   ขอบคุณมากนะคะ ดอกไม้ และกำลังใจที่มอบให้

                         บันทึก  ผู้สูงอายุกับการนอนไม่หลับ

 

                    

สวัสดีค่ะ   Ico48    Ico48    Ico48   Ico48   Ico48    Ico48 

 

คุณ CMUpal  ค่ะ ส่วนใหญ่แล้วพอเรานอนบนเตียงไหลับเราก็ไม่ลุกขึ้นนะคะ พลิกไปมาอยู่นั้นแหละ ไม่หลับสักที หากเรามีเรื่องคิดกังวล แต่เวลาอ่านหนังสือ ง่วงเร็วทุกทีค่ะ

 

คุณพี่ใหญ่  หลับง่าย ดีจังค่ะ ดาเป็นบางคืน มาสังเกตดูตอนนี้หลับง่ายขึ้นแล้วค่ะ แสดงว่าร่างกายดาไม่เครียด กังวลอะไร นะคะ

 

คุณ อักขณิช  ตรงหมดเลย หลับยากหรือค่ะ เดี๋ยวนี้แก่ไม่แก่ คงไม่ใช่ค่ะ

 

คุณครูดาหลา   อิ่มอร่อยก่อนแล้วง่วง อ้วนแน่ๆ คืดถึงนะคะ

 

น้องกระแต   ค่ะคิดถึงกันเสมอ พี่ดาก็มาบ้างไม่มาบ้าง กลับไปวุ่นวายกับต้นไม้บอนไซ  ปล่อยละเลยมา 2 ปีแล้ว เริ่มเพลินกับต้นไม้อีกแล้วค่ะ

 

อ.สามารถ  ค่ะพี่ดาสบายดี ขอบคุณนะคะ งานมากใช่ไหม?

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท