chacha2907
ฝ่ายอำนวยการ สพจ.ปทุมธานี CDD Pathum thani

บ้านงิ้ว หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ


บ้านงิ้ว หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

กิจกรรมของหมู่บ้าน                               ประวัติความเป็นมา             

บ้านงิ้ว เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่ง ของตำบลบ้านงิ้ว ในเขตอำเภอ สามโคก จังหวัดปทุมธานี ฝั่งตะวันออกของแม่เจ้าพระยา บ้านงิ้วมีเรื่องน่าศึกษาทั้งในด้าน ประวัติศาสตร์ ศาสนา และวรรณคดี สันนิษฐานว่า ในทุ่งนี้น่าจะเป็นเมืองที่มีความเจริญ มาก่อน  ในหมู่บ้านนี้ มีสภาพเป็นที่ดอน มีต้นงิ้วขึ้นเต็มไปหมด เขาจึงเรียกกันว่า "บ้านงิ้ว " ด้วยความเป็นป่าของต้นงิ้วนี้เอง ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาได้มีศรัทธา อย่างแรงกล้า ช่วยกันสร้างวัดขึ้นมาวัดหนึ่งห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาลึกเข้าไปในป่าของต้น งิ้ว และให้ชื่อว่า "วัดป่างิ้ว" เพื่อ เป็นการเตือนสติของคนที่จะประพฤติชั่วผิดลูกผิดเมียเขา เพราะในคดีทางศาสนาพุทธถือ ว่า ผู้ใดก็ตามที่ล่วงละเมิด กระทำชู้กับเมียหรือผัวของคนอื่นถือว่าเป็นความผิด อย่างร้ายแรง เป็นบาปนัก เมื่อตายไปจะตกนรกอเวจีและต้องปีนต้นงิ้วในเมืองนรก  คนโบราณจึงกลัวกันนักหนา ไม่ยอมเป็นชู้ กับผัวเมียคนอื่นอย่างเด็ดขาด เพราะเขากลัวบาปกลัวกรรมเหลือเกิน ส่วนใหญ่จะมีผัวเดียว เมียเดียว  จะไม่ประพฤตินอกใจกันในครอบครัว   มีแต่ความสุข ความอบอุ่น ปัญหาการหย่าร้าง ก็เกิดน้อยกว่าสมัยนี้

สุนทรภู่นั่งเรือ ขึ้นไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อไปถึงหมู่บ้านงิ้วเห็นต้นงิ้วขึ้นเป็นป่า  ก็ตกใจ เพราะแลขึ้นไป

 มีแต่ต้นงิ้วทั้งนั้น ทำให้เกิดจินตนาการ แล้ว บันทึกไว้เป็นกลอนในนิราศ

ภูเขาทองตอนหนึ่ง ว่า 

"ถึงบ้านงิ้วเห็นแต่งิ้วละ ลิ่วสูง

ไม่เห็นฝูงสัตว์สิงกิ่งพฤกษา 

ด้วยหนามดกรกระดาตา
นึกก็น่ากลัวหนามขามขามใจ
งิ้ว นรกสิบหกองคุลีแหลม
ดั่งขวากแซมเสี้ยม แซกแตกไสว
ใครทำชู้คู่ท่านครั้น บรรลัย
ก็ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง "

บริเวณวัดป่างิ้ว ทางด้านทิศหน้าติด ต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยามีวัดอยู่ ๒ วัด ด้าน ทิศเหนือชื่อ วัดนางหยาด และด้านทิศใต้ชื่อ วัดพญาเมือง วัดทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มาก คงจะสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือก่อนหน้านั้นก็เป็นได้ เพราะตามที่ คนเก่าเล่าสืบต่อกันมาว่า ตรงวัดพญาเมืองนี้ แต่เดิมเป็นที่ตั้งเมืองสามโคกมี ความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน เป็นด่านซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าก่อนเข้ากรุงศรีอยุธยา ในทุ่งนี้แต่ก่อนก็เรียกทุ่งพญาเมือง มีอาณาเขต กว้างขวาง

เวลานี้ วัดพญาเมืองกับวัดนางหยาด กลายเป็นวัดร้าง ไปนานแล้ว คงเหลือแต่วัดป่างิ้ววัดเดียว อาณาเขตของวัดพญาเมืองกับวัดนางหยาด จึง มารวมกับวัดป่างิ้ว ทำให้บริเวณของวัดป่างิ้วกว้างขวางยิ่งขึ้นเมื่อความเจริญเข้ามา ความเป็นป่าก็หมดไป บ้านงิ้วจึงไม่ มีงิ้วหลงเหลือให้เห็นเช่นแต่ก่อน  ความกลัวหนามงิ้วจึงหมดไปด้วย

สถานที่ตั้ง

      บ้านงิ้ว  หมู่ที่ 3    มีพื้นที่ทั้งหมด 670  ไร่   ตั้งอยู่ในเขต อบต.บ้านงิ้ว 
อาณาเขตของตำบลบ้านงิ้ว

          ทิศเหนือ          ติดกับหมู่ที่ 2  ตำบลบ้านงิ้ว  วัดศาลาแดงเหนือ  ตำบลเชียงรากน้อย

          ทิศใต้             ติดกับคลองคู  หมู่ที่ 4 ,5 ตำบลบ้านงิ้ว 

          ทิศตะวันออก    ติดกับ หมู่ที่  หมู่ 5 ตำบลบ้านงิ้ว และตำบลเชียงรากใหญ่

          ทิศตะวันตก      ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

        พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม    ลักษณะภูมิอากาศ  โดยทั่วไปจัดอยู่ในภูมิอากาศร้อนชื้น จะมี 3 ฤดู คือฤดูร้อน   ฤดูฝน และฤดูหนาว อากาศจะร้อนจัดประมาณ 2  เดือน คือเดือนมีนาคม – เดือนเมษายนของทุกปี ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยปานกลาง มีน้ำมากในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้ง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา   คูคลองต่างๆ มีปริมาณน้ำเพียงพอในการทำการเกษตร

 

สภาพทางสังคม

การจัดการปกครอง  บ้านงิ้ว หมู่ที่ 3

มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ    นายเกี๊ยะ         ไม่มีนามสกุล   

คนที่ ๒ คือ                 นายสน           พวงศิลป์

คนที่ ๓ คือ                 นายแก่น         แสงน้ำ เป็นคุณปู่ ของอาจารย์อุดม แสงน้ำ

คนที่ ๔ คือ                 นายสิทธิ์          แสงแดง

คนที่ ๕ คือ                 นายเกษม         ต้นสาย

คนที่ ๖ คือ                 นายชาญ         พวงเพ็ชร์

คนที่ ๗ คนปัจจุบัน คือ    นางลำจวน       พวงเพ็ชร์ 

บ้านงิ้ว หมู่ที่ 3  เป็นหนึ่งในจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ๕ หมู่บ้าน ของตำบลบ้านงิ้ว อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสามโคก

การคมนาคม

หมู่บ้านอยู่ห่างจากอำเภอ       12       กิโลเมตร      

           ถนนภายในหมู่บ้าน                  2        สาย           แยกเป็น

            ถนนลาดยางสายศูนย์ศิลปะชีพ-เชียงรากน้อย     1    สาย   ระยะทาง   1,000  เมตร

            ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน มีทุกซอย           

เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ

สามารถเดินทางเข้าชมหมู่บ้านได้โดยรถยนต์สะดวก เพราะมีถนนเข้าถึงหมู่บ้าน ห่างจากตัวจังหวัด

ปทุมธานี เพียง 12 กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทาง  25   นาที  ค่ารถ 9 บาท

หรือถ้านั่งเรือข้ามฟากจากท่าวัดสุราษฎร์รังสรรค์ (วัดดอน) อำเภอสามโคก  ขึ้นท่าโรงเรียนวัดป่างิ้ว (หรือวัดนางหยาด)      ใช้เวลาเดินทางเพียง  5 นาที  ค่าเรือ 20 บาท

แหล่งน้ำที่สำคัญ  

 แหล่งน้ำที่สำคัญของหมู่บ้านมี   แม่น้ำเจ้าพระยา    คลองงิ้ว  และคลองวัดป่างิ้ว     ใช้ในการทำการเกษตร   และเลี้ยงปลาเพื่อการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและขยายพันธุ์ปลา

ไฟฟ้า             จำนวนครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ครบ  152   ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละ 100 

น้ำประปา        จำนวนครัวเรือนมีน้ำประปาใช้  จำนวน  152  ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละ 100 

จำนวนครัวเรือน      ๑๕๒          ครัวเรือน           

จำนวนประชากร      รวมทั้งสิ้น     ๕๕๖      คน  แยกเป็น ชาย     ๒๕๑   คน   หญิง   ๓๐๕  คน          

สภาพทางเศรษฐกิจ 

หมู่บ้านงิ้ว  มีรายได้      33,845,442       บาท/ปี    รายจ่าย       25,638,995    บาท/ปี      

รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์   จปฐ. ปี  ๒๕๕๔)  จำนวน          61,317     บาท/คน/ปี 

 

ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น 

กลุ่มอาชีพสตรีทำขนม /ทำน้ำพริก    นางลำจวน  พวงเพ็ชร์ เป็นประธาน  จัดตั้งเมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๓   สมาชิก ๒๐  คน เงินทุนหมุนเวียน ๕,๐๐๐  บาท วัตถุประสงค์  เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับแม่บ้านที่ว่างงาน มีรายได้น้อย  ได้ประกอบอาชีพ มีงานทำ กิจกรรมกลุ่ม  ทำขนมปังไส้ต่างๆ  น้ำพริกแกง  กาแฟ  ก๋วยเตี๋ยว  ส้มตำ/ ไก่ย่าง สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการประกอบอาชีพเฉลี่ย คนละประมาณ 3,000-5,000 บาท/เดือน

โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ระดับ “อยู่ดี กินดี” ของบ้านงิ้ว หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอ สามโคก  เป็นการดำเนินการตามโครงการแผนงานยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน หนึ่งในผลผลิตที่ ๒ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงกิจกรรมของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง กิจกรรมหลักที่ ๓ ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมย่อยที่ ๔ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับอยู่ดี กินดี  โดยมีวิธีการดำเนินการและเงื่อนไขกิจกรรม คือ

๑. ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงครัวเรือนต้นแบบ

๒. ฝึกปฏิบัติการปรับเปลี่ยนวิธีคิดด้วยการทบทวนแผนชุมชน

๓. ฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามแผนกระบวนการพัฒนากระบวนการกลุ่ม

๔. ส่งเสริมแนวคิดการบริหารจัดการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

๕. เสริมสร้างศักยภาพการเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

ต้นแบบหมู่บ้าน 

ในการบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุ่ม เพิ่มรายได้และขยายโอกาสคนในชุมชน

 

 

 


หมายเลขบันทึก: 453656เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2011 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท