เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา

    ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษานั้น จะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ และปลูกฝังสิ่งต่างๆ ให้แก่เด็ก ดังนั้นจึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อครูเข้าใจ ครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้ ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอ ครูจะต้องรู้จักพอก่อน โดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆ ที่เข้ามา รู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ หมั่นศึกษา เพิ่มพูนความรู้ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ก้าวกระโดด ในการเลือกรับข้อมูลนั้น ต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา   จะได้รู้จัก และเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง

   เป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน

 คือ การทำให้เด็กรู้จักความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้เด็กมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม   โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร สาระเรียนรู้ต่างๆเพื่อสอนให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ รู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่านิยม ความเป็นไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลก การกระทำของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น สำคัญคือครูจะต้องรู้จักบูรณาการการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนเห็นถึงความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งความเป็นองค์รวมนี้จะเกิดขึ้นได้ ครูต้องโดยใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน

               นอกจากนี้ ในการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาฯไปใช้ในสถานศึกษาต่างๆ นั้น อาจจะใช้วิธี “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ตามหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า สำคัญที่สุดครูต้องเข้าใจเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยเข้าใจว่าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่สามารถเริ่ม ต้น และปลูกฝังได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน เช่น กิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนการกำจัดขยะในโรงเรียนการสำรวจทรัพยากรของชุมชนฯลฯ
               ก่อนอื่น ครูต้องเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี โดยกลับมาพิจารณาและวิเคราะห์ดูว่า ในตัวครูนั้นมีความไม่พอเพียงในด้านใดบ้าง เพราะการวิเคราะห์ปัญหาจะทำให้รู้และเข้าใจปัญหา ที่เกิดจากความไม่พอเพียง รวมทั้งควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาด้วย โดยการวิเคราะห์นี้ต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม โดยเฉพาะคุณธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นในใจเด็กให้ได้ก่อน ผ่านกิจกรรมที่ครูเป็นผู้คิดขึ้นมา โดยครูในแต่ละโรงเรียนจะต้องมานั่งพิจารณาก่อนว่า จะเริ่มต้นปลูกฝัง แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากจุดไหน ทุกคนควรมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ สามัคคีกันในกระบวนการหารือ

              หลังจากที่ครูได้ค้นหากิจกรรมที่จะปลูกฝังแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ครูควรจะต้องตั้ง เป้าหมายการสอนก่อนว่าครูจะสอนเด็กให้รู้จักพัฒนาตนเองได้อย่างไรโดยอาจเริ่มต้นสอนจากกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถเริ่มต้นจากตัวเด็กแต่ละคนให้ได้ก่อน เช่น การเก็บขยะ  การประหยัดพลังงาน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัย ที่ตนเองมีต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกในด้านต่างๆ 4 มิติ
              ในส่วนของการเข้าถึงนั้น เมื่อครูเข้าใจแล้ว ครูต้องคิดหาวิธีที่จะเข้าถึงเด็ก พิจารณาดูก่อนว่าจะสอดแทรกกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เข้าไปในวิธีคิดและในวิชาการต่างๆ ได้อย่างไร ทั้งนี้ อาจจัดกิจกรรมกลุ่มให้นักเรียนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ รู้จักแบ่งหน้าที่กันตามความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงชั้น เช่น ในกิจกรรมการเก็บขยะเพื่อรักษาความสะอาดของโรงเรียนนั้น ครูอาจจัดกิจกรรมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 สร้างกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กช่วยกันเก็บขยะ (ให้เด็กรู้หน้าที่ของตน ในระดับบุคคล)/ ช่วงชั้นที่ 2 สร้างกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กช่วยกันเก็บขยะและนับขยะ (ให้รู้จักการวิเคราะห์และรู้ถึงความเชื่อมโยงของตนเองกับสมาชิกคนอื่นๆ ในโรงเรียน) / ช่วงชั้นที่ 3 สร้างกิจกรรมที่สอนให้เด็กรู้จักเชื่อมโยงกับชุมชนภายนอกรอบๆ โรงเรียน เช่น สร้างกิจกรรมที่สอนให้เด็กรู้จักแบ่งแยกขยะ ร่วมมือกับชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่โรงเรียนและชุมชนของเขาตั้งอยู่ด้วย

               กิจกรรมทั้งหมดนี้สำคัญคือ ต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยสถานศึกษาควรตั้งเป้าให้เกิดการจัดการศึกษาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง สอดแทรกเข้าไปในกระบวนการเรียนรู้ สอนให้เด็กพึ่งตนเองให้ได้ก่อนจนสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่นๆในสังคมได้ต่อไป  

การจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
              การจัดการศึกษาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถดำเนินการได้ใน 2 ส่วน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และส่วนที่เป็นการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งส่วนที่ 2 นี้ ประกอบด้วย การสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตรและสาระเรียนรู้ในห้องเรียนและประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
               การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในระยะแรก ได้เริ่มจากการไปค้นหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณลักษณะ และการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือพอประมาณกับศักยภาพของนักเรียน พอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและชุมชนที่ตั้ง เช่น เด็กช่วงชั้นที่ 2 ทำสหกรณ์ได้ เด็กช่วงชั้นที่ 4 ดูแลสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง ฝึกให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ สอนให้ผู้เรียน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม พัฒนาคนให้เขารู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคมและช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และตัวกิจกรรมเองก็ต้องยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ ถึงจะเปลี่ยนผู้อำนวยการแต่กิจกรรมก็ยังดำเนินอยู่อย่างนี้เรียกว่ามีภูมิคุ้มกัน
               การค้นหาตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ก็เพื่อให้มีตัวอย่างรูปธรรม ในการสร้างความเข้าใจภายในวงการศึกษาว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่าอย่างไร และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง หลังจากนั้น ก็ส่งเสริมให้บูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้     เข้าไปในการเรียนรู้สาระต่างๆ บูรณาการเข้ากับทุกสาระเรียนรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้เกิดสมดุลทางสิ่งแวดล้อม บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนการคำนวณที่มีความหมายในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง หรือบูรณาการเข้ากับสาระภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา การงานอาชีพ เทคโนโลยีต่างๆ ได้หมด นอก เหนือ
จากการสอนในสาระหลักคือในกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาวัฒนธรรมเท่านั้น
               สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ให้ทุกช่วงชั้นเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ได้ แต่ถ้ามาตรฐานเรียนรู้ของทุกช่วงชั้นเหมือนกันหมดก็จะมีปัญหาทางปฏิบัติ จึงต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในการเรียนการสอนของแต่ละช่วงชั้นและแต่ละชั้นปีดังนี้
               ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้เด็กพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่น ประถม 1 ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน จัดหนังสือไปเรียนเอง แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน กินอาหารให้หมดจาน  ประถม 2 วิเคราะห์รายจ่ายของครอบครัว จะมีเป็นตารางกรอกค่าใช้จ่ายต่างๆ ของครอบครัว คุณแม่ซื้ออะไรบ้าง คุณพ่อซื้ออะไรบ้าง เด็กจะได้รู้พ่อแม่หาเงินมายากแค่ไหน เช่น ยาสีฟันหลอดละ 46 บาท จะต้องไม่เอามาบีบเล่น จะต้องสอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกนิสัยประหยัด ครอบครัวมีรายได้และรายจ่ายเท่าไร เด็กจะได้ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียง มีหลายโรงเรียนทำแล้ว ประถม 3 สอนให้รู้จักช่วยเหลือครอบครัวอย่างพอเพียงและรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่นมีส่วนร่วมสร้างครอบครัวพอเพียง
               ช่วงชั้นที่ 2 ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียน สามารถวิเคราะห์วางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียน และชุมชนใกล้ตัว โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
               ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่างๆ และในมิติต่างๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการจัดการชุมชน และในที่สุดแล้วสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด
               ช่วงชั้นที่ 4 เตรียมคนให้เป็นคนที่ดีต่อประเทศชาติสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้     ต้องเริ่มเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศ และการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เช่น  การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ หรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมสภาพปัญหาด้านสังคมเป็นอย่างไรแตกแยกหรือสามัคคีเป็นต้น
               ขณะนี้คณะทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาและเยาวชน ทำงานร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ และอีกหลายหน่วยงาน วิสัยทัศน์ของการขับเคลื่อน คือ สานเครือข่าย ขยายความรู้ ควบคู่ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาฯ และให้บุคลากรด้านการศึกษา สามารถนำหลักคิดหลักปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการสู่การเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของทุกระดับได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ตลอดจนผู้บริหารสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุข 

 

ตัวอย่างโครงการ

ผู้บริหารโครงการ พ.ต.อ.สุนทร หิมารัตน์ ผกก.สภ.ทุ่งเสลี่ยมและข้าราชการตำรวจ ในสังกัด


เป้าหมายโครงการ ส่งเสริมเพิ่มทักษะตำรวจด้านอาชีพเสริม จำนวน 106 คน
1. หลักการและเหตุผล
การบริหารจัดการแหล่งน้ำที่เหมาะสมและประสิทธิภาพ
ซึ่งแต่ละพื้นที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินโครงการ
ไม่เหมือนกัน จึงดำเนินการปรับและประยุกต์ตามสภาพพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนา
ทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เพื่อนำไปต่อยอดขยายการดำเนินการเพื่อเป็นอาชีพเสริมและเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ด้านการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. วัตถุประสงค์
2.1 สนับสนุนให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการ
2.2 สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
3. เงื่อนไขของโครงการ
3.1 ต้องมีบ่อที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาขนาดอย่างน้อย 1 งาน
3.2 เงินทุนสมทบที่จะดำเนินการ นอกเหนือจากกรมประมงสนับสนุน
3.3 ข้าราชการตำรวจทุกฝ่ายต้องขยันขันแข็งและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ประมง
4. เป้าหมายของโครงการ
4.1 สามารถใช้ประโยชน์ จากแหล่งน้ำคลองข้างบ่อที่มีอยู่ในการเลี้ยงปลาได้ตลอดปี
4.1 สามารถใช้ประโยชน์จากการดำเนินโครงการ ฯ ในการสร้างงานและรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
5. ผลสัมฤทธิ์ของงานที่คาดหวัง
6. ระยะเวลาดำเนินการ
6.1 ปีงบประมาณ 2550 ( ตั้งแต่เดือน กันยายน 2550 - เมษายน 2551 )
7. แผนการดำเนินงานตามกิจกรร
7.1 ออกคำสั่งแบ่งข้าราชการตำรวจ ออกเป็นกลุ่ม ( ตามสายงาน )
7.2 รับผิดชอบจัดหาและให้อาหารปลา และหาพืชผักตามธรรมชาติ เช่นผักบุ้ง ตามคำสั่งเป็นประจำ พร้อมทั้งดูแลรักษาความสะอาด
7.3 เรียนเชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประมงตรวจให้คำแนะนำการเลี้ยงตามความเหมาะสม
8. พื้นที่ดำเนินการ
8.1 สระน้ำหน้าสถานีตำรวจ พื้นที่ประมาณ 2 งาน
9. งบประมาณการดำเนินการและหน่วยงานสนับสนุน
9.1 ค่าอาหารปลาและพืชผักตามธรรมชาติโดยใช้งบปกติของหน่วย
9.2 ขอรับการสนับสนุนพันธุ์ปลาจาก สถานีประมงน้ำจืด สุโขทัย
10. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ข้าราชการตำรวจได้รับความรู้ในเรื่องการเลี้ยงปลา อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. ข้าราชการตำรวจ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้

ผู้อนุมัติโครงการ  พ.ต.อ. สุนทร หิมารัตน์   ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุ่งเสลี่ยม

ประมวลภาพกิจกรรมโครงการ

 

 

พื้นที่ก่อนดำเนินโครงการ

คณะทำงานเริ่มหาวัสดุอุปกรณ์มาตกแต่ง

 

 

คณะทำงานเริ่มปรับปรุง เริ่มตั้งแต่ปรับปรุงป้ายโครงการ

คณะทำงานแต่ละท่านช่วยกันออกแบบตกแต่ง

 

 

ปรับปรุงให้สวยงาม

บ้างก็ปรับปรุงรั้วรอบบ่อเพื่อความสวยงาม

 

 

ขอรับพันธ์ปลาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคำแนะนำการดูแล

พล.ต.ต.สุปรีชา อุณหนันท์ ผบก.ภ.จว.สุโขทัยร่วมปล่อยปลาในโครงการ
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2550 โดยมี พ.ต.อ.สุนทร หิมารัตน์ ผกก.ให้การต้อนรับ

 

 

พ.ต.อ.สุนทร หิมารัตน์ ผกก.ปล่อยปลา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2550

พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทร์รังษี ผบช.ภ.6 และคณะตรวจเยี่ยม สถานี
และร่วมให้อาหารปลา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2550

 

 

คณะทำงานแต่ละท่านร่วมกันหาอาหารตามธรรมชาติมาให้ปลา

เอ้ารีบๆโยน ปลาหิวแล้วๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

 

คณะทำงานดูแลให้อาหารปลา เป็นเวลาพร้อมกำจัดวัชพืช ข้างบ่อเลี้ยงปลา

คณะทำงานถ่ายรูปร่วมกันไว้เป็นที่ระลึก

 

 

หลังจากได้ระยะเวลาที่เหมาะสม ก็เริ่มทำการจับปลา

ตั้งเครื่องสูบน้ำ ทำการสูบน้ำออกเพื่อจับปลาและตากบ่อ

 

 

คณะทำงานร่วมกันทำการจับปลา

ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ

 

 

เด็กๆก็ช่วยกันจับปลา

ผลงานที่ได้

 

 

พ.ต.อ.สุนทร หิมารัตน์ ผกก.ให้ข้าราชการตำรวจแบ่งปลาไปรับประทาน ในครอบครัว

ท่าทางจะได้มากกว่าเขานะคุณพี่ๆ

 

 

ข้าราชการตำรวจแบ่งปลาไปรับประทานที่พักสายตรวจตำบลตนเอง

เอ้าค่อยๆแบ่งกันเน้อ ไม่ต้องแย่งกันจ้า

 

 

ตั้งแต่อดีต

ถึง ปัจจุบัน

สถานีตำรวจภูธรทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
Tel : 0-5565-9178 , 0-5562-6004  Fax : 0-5565-9178
ควบคุมระบบโดย ด.ต.สุนทร สายด้วง/งานสารสนเทศ Tel : 0-5565-9205
e-mail   kosuda2508@้hotmail.com

 

 

เอกสารอ้างอิง

เขียนโดย นายปรัชญา พลพุฒินันท์  (http://www.bkbr4.com/index.php/suffecotoed)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                     หน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วทช.คูเมือง1
หมายเลขบันทึก: 453267เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2011 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้รับงานที่มอบหมายแล้วครับ...ขอบคุณครับ และให้สมาชิก gotoknow ทุกคนหาข้อมูลดีๆหรือประสบการณ์เด่นๆมาลงไว้ในบล็อก เพื่อเป็นการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันต่อไปให้เยอะๆน่ะครับ....ร่วมสนับสนุนนักวิชาการน้อยทุกคนครับ....ด้วย gotoknow

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท