ผู้นำแบบใดล่ะที่เหมาะสมกับยุคนี้


ผู้นำแบบใดล่ะที่เหมาะสมกับยุคนี้
1) ต้องดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและความซื่อสัตย์
ที่เน้นคุณสมบัติในเรื่องของความซื่อสัตย์และเกียรติยศนี้ ก็เพราะโลกในยุคใหม่ แต่ละคนต่างก็มีความเป็นตัวของตัวเองสูง หรือเป็นผู้นำตัวเองได้ ดีบ้าง เก่งบ้างแตกต่างกันไป

ผู้นำจึงต้องพัฒนาตัวเองมาเป็น "leaders of the leaders"

ในยุคนี้ ผู้นำแบบอำนาจนิยม ชอบบังคับ ข่มขู่ ดูถูกว่าคนอื่นด้อยกว่า หรือคนอื่นฉลาดไม่เท่าตัวเอง หรือนิยมรวบอำนาจไว้กับตัวเองนั้น จะเป็นกลุ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จได้เลย ผู้นำที่ดี จึงต้องรู้จักให้เกียรติลูกน้อง และสอนให้มีการให้เกียรติซึ่งกันและกันในที่ทำงาน ไม่ใช่อยากได้อะไรก็ด่าเอา รวมทั้งมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ สร้างความเคารพและความไว้วางใจกันให้เกิดขึ้น ให้ลูกน้องได้รู้สึกว่า เขาได้รับการปฏิบัติอย่างใหเกียรติและจริงใจ เรื่องเหล่านี้ล่ะครับ สามารถทำให้เกิดความจงรักภักดีของคนต่อองค์การ ผูกใจคนให้ทำงานร่วมกัน รักและสามัคคีกัน บรรยากาศในการทำงานก็ดีตามไปด้วย

คราวนี้ โดยธรรมดาแล้ว ผู้นำก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของลูกน้อง ก็ไม่เป็นเรื่องแปลกครับ เพียงแต่ว่า ควรจะต้องทำด้วยความจริงใจ และถูกต้อง เกื้อกูลซึ่งกันและกันสมมติว่า เจ้าของธุรกิจที่มาเป็นผู้นำองค์การ แต่เป็นแบบอำนาจนิยมที่ว่านั้น จะทำอย่างไร ผมคงตอบอะไรไม่ได้หรอกครับ คงต้องตัวใครตัวมัน หรือยึดคติว่า "หากทำงานกับเขาแล้วไม่สบายใจ เราก็ลาออกไปเสียดีกว่า..."

2) ต้องมีวิสัยทัศน์
ผู้นำจะต้องสามารถสร้างวิสัยทัศน์ที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ น่าเชื่อถือ สอดคล้องกับศักยภาพขององค์การตามสถานการณ์ ท้าทายและดึงดูดใจให้คนทำมันให้สำเร็จ นำไปสู่มาตรฐานการทำงานที่สูงขึ้น โดยที่วิสัยทัศน์ขององค์การเองก็ต้องมองการณ์ไกล เข้าใจง่าย โดยครอบคลุมในลักษณะกว้าง ๆ วิสัยทัศน์ที่ดีที่เกิดจากผู้นำนั้น จะต้องมองในเรื่องของการใช้ทรัพยากรขององค์การ โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การที่จะทำแบบนี้ได้ ผู้นำเองก็ต้องมีบทบาทหนึ่งในการกระตุ้นให้พนักงานทุ่มเทในการทำงานอย่างสุดความสามารถ

3) ผู้นำต้องมีวิญญาณของความเป็นเด็ก (the heart of child)
วิญญาณของความเป็นเด็กนั้น คือ การมองโลกในแง่ดี คิดด้านบวก ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ บนพื้นฐานของจิตสำนึกบริสุทธิ์ ไม่เอาแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง นอกจากนี้ ผู้นำยังต้องมีความอยากรู้อยากเห็น แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ มาเติมเต็มให้ตัวเองอย่างกระตือรือร้น เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ปรับเปลี่ยนมันให้เป็นโอกาสให้ประสบการณ์ โดยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหามากกว่าหาตัวผู้กระทำผิด เพราะนั่นเป็นการบ่อนทำลายขวัญกำลังใจของพนักงานอย่างที่ท่านอาจจะไม่คาดคิด
 
 

 
หมายเลขบันทึก: 453109เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2011 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท