ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

บริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน


บริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับการปรับวิสัยทัศน์ใหม่

คณะบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปรับยุทธศาสตร์เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ

        เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2554 ดร.วิโรจน์ มโนพิโมกข์ คณบดี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ร่วมกับคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต รวมทั้งหมด 84 คน ร่างแผนกลยุทธ์ คณะบริหารศาสตร์ ระยะ 5 ปี (2555-2559) ณ ห้องบอลรูม อาคารเทพรัตนสิริปภา

        โดยในเบื้องต้น คณบดี ได้เชิญผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย

1. ผศ.ดร.จุฑามาศ จิตต์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนา

2. ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ รองอธิการบดีฝ่ายพ้ฒนานักศึกษา

3. ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและชุมชนสัมพันธ์

4. ดร.จุฑามาศ หงษ์ทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

5. ผศ.ดร.อินทิรา ซาฮีร์ คณบดีคณะศิลปะศาสตร์

 

Large_pic_4779

ดร.วิโรจน์ มโนพิโมกข์ คณบดีคณะบริหารศาสตร์

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมทำแผน

ก้าวต่อไปเดินเคียงคู่มหาวิทยาลัย

          หลังจากที่ได้รับทราบทิศทางของมหาวิทยาลัยแล้ว ทีมงานจึงได้ระดมพลังสมองร่วมกัน โดยได้ทีมงานวิเคราะห์ขูดรีดปัญญาจากมหาวิทยาลัย นำทีมโดยรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและมวลชนสัมพันธ์ (ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์) ผอ.กองแนงาน และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน จากคณะต่างๆ ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ มาช่วยวิเคราะห์ ถอดบทเรียนโดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis จนกระทั่งได้วิสัยทัศน์ และพันธกิจดังนี้

วิสัยทัศน์

คณะบริหารศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการบริหารธุรกิจ

ระดับสากล อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ในเขตอีสานใต้และลุ่มน้ำโขง

 

พันธกิจ

๑.  สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล มีภาวะผู้นำ ที่มีคุณธรรม  มีความรับผิดชอบต่อสังคม และ ดำรงชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียง

๒. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้อย่างบูรณาการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมทุกระดับ

๓. บริการวิชาการ และเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน สังคมทุกระดับ

๔. ทำนุบำรุง ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

 วัตถุประสงค์

๑. สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ  มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก และความรับผิดชอบ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพและมีความสุขในการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาผู้ที่มีศักยภาพสูงให้สามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้แข่งขันได้ในเขตอีสานใต้ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

๒. สร้างองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของสังคมทุกระดับ

๓. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ท้องถิ่น และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยบูรณการองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมโยงกับสู่การเรียนการสอน การวิจัย และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยการศึกษา อนุรักษ์ และเผยแพร่ โดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน การวิจัย และกิจกรรมนักศึกษา เพื่อธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๕.  บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาคณะให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บุคลากรมีคุณภาพและมีความสุข

 กลยุทธ์ที่ ๑  สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและสมรรถนะตามมาตรฐานสากล สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ ความพอเพียง จิตสำนึกที่ดี และมีความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน โดยพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดให้มีทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

มาตรการ

๑.๑   พัฒนาระบบการรับนักศึกษาเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและดึงดูดนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษหรือผู้มีศักยภาพสูง

๑.๒   *พัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย มีความยืดหยุ่น มีความหลากหลาย มีมาตรฐานระดับสากล สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ทิศทางการพัฒนาประเทศ

๑.๓   *จัดระบบและกลไกการบริหารหลักสูตรทุกระดับให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ

๑.๔   *ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ครบถ้วนทุกหลักสูตร ให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

๑.๕   ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การหาประสบการณ์จากการทำจริง การเรียนรู้ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

๑.๖   ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาอย่างพอเพียงและทั่วถึง

๑.๗   *ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกด้าน และมุ่งพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียง ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกรักท้องถิ่นและความรับผิดชอบต่อสังคม

๑.๘   *ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการและการสร้างสวัสดิภาพแก่นักศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยและมีความสุข

๑.๙   *พัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษาและบัณฑิตเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

๑.๑๐ *สร้างความสัมพันธ์กับศิษย์เก่า ส่งเสริมและสนับสนุนให้ศิษย์เก่ามีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย

๑.๑๑ ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเน้นกลุ่มอีสานใต้ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

๑.๑๒ *มีการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา

 กลยุทธ์ที่ ๒  พัฒนาอาจารย์ให้สามารถจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองให้พร้อมทันต่อพลวัตรของสังคม โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการในระดับสากล

มาตรการ

๒.๑   *พัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๒.๒   *ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ

๒.๓   *ส่งเสริมให้อาจารย์ปฏิบัติวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ

๒.๔   *จัดระบบและกลไก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการให้อาจารย์มีระดับคุณวุฒิทางการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการในสัดส่วนที่เหมาะสมตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา

๒.๕   *พัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะด้านวิชาการในระดับสากลเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

 กลยุทธ์ที่ ๓  ยกระดับการวิจัยสู่สากลโดยพัฒนาส่งเสริมการทำวิจัยและสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานทั้งภายในภายนอกมหาวิทยาลัย

มาตรการ

๓.๑   ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัย และสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ 

๓.๒   พัฒนาระบบและกลไกบริหารงานวิจัย ให้สามารถดำเนินงานเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

๓.๓   *ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัย และสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่

๓.๔   ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแสวงหาแหล่งทุนวิจัย

๓.๕   สนับสนุน ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัยในระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน การวิจัย แบบบูรณาการ การบริการวิชาการ และพัฒนาสังคม 

 กลยุทธ์ที่ ๔  ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตอีสานใต้และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  

มาตรการ

๔.๑   *พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน

๔.๒   สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม

๔.๓   ถ่ายทอดองค์ความรู้บนพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม  เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น

๔.๔   เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน

 กลยุทธ์ที่ ๕  สืบสาน เผยแผ่ ฟื้นฟู และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยบูรณาการวัฒนธรรม ประเทศในอาเซียน โดยการศึกษาและจัดการความรู้ให้นักศึกษาและบุคลากร ตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

มาตรการ

๕.๑   *พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัย การเรียนการสอน และกิจกรรมนักศึกษา

๕.๒   ศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณี ในระดับสากล  

๕.๓   ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

๕.๔   ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรตระหนักถึงคุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น และมีสุนทรียภาพทางศิลปะ ตลอดจนรู้เท่าทันวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ

 กลยุทธ์ที่ ๖  พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาลใช้ข้อมูลเป็นฐานในการตัดสินใจ โดยพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร และพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

มาตรการ

๖.๑   *พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล 

       ๖.๑.๑   กำหนดวิสัยทัศน์/ กลยุทธ์ในการพัฒนาคณะและถ่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

       ๖.๑.๒   กระจายอำนาจการบริหาร และจัดให้มีระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน

       ๖.๑.๓   การบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

       ๖.๑.๔   ปรับปรุงและจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของกระบวนการที่สร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุน

       ๖.๑.๕   มีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้

๖.๒   ปรับปรุงโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของส่วนงานและหน่วยงานภายในให้เหมาะสม

๖.๓   ปรับปรุงระบบงบประมาณและการเงินให้มีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยปรับปรุงระบบสารสนเทศทางการเงิน และบัญชี ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และสามารถใช้ในการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๖.๔   พัฒนาประสิทธิภาพการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของคณะ

๖.๔.๑   พัฒนาระบบและกลไกการตรวจสอบภายในระดับคณะ

๖.๔.๒   พัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ

๖.๔.๓   พัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร 
ทุกระดับ

๖.๔.๔   กำกับติดตามการดำเนินงานตามกลยุทธ์/แผน

๖.๔.๕   พัฒนาระบบและกลไกการกำกับ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตาม
คำรับรองการปฏิบัติราชการ การประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอก

๖.๔.๖   พัฒนาระบบและกลไกการกำกับ ติดตามประเมินผลที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมทั้งการให้บริการด้านต่างๆ เพื่อให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ

๖.๕   พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

๖.๕.๑ ปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง

๖.๕.๒  มีการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

๖.๖   พัฒนาระบบการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการถ่ายทอดนโยบาย แผนงาน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคณะ

๖.๗   พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้บูรณาการสู่การปฏิบัติงานประจำ

๖.๘   ปรับปรุงกายภาพ ระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของนักศึกษาและบุคลากร

๖.๙   ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดภาวะโลกร้อน

๖.๙.๑   ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

๖.๙.๒   สร้างพื้นที่สีเขียว

๖.๙.๓   สร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

 กลยุทธ์ที่ ๗ พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ โดยให้บุคลากรมีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เพื่อการทำงานได้เต็มตามศักยภาพอย่างมีความสุข โดยพัฒนาระบบสมรรถนะของบุคลากรและผู้บริหารทุกระดับ สร้างเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพให้บุคลากร ส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าของบุคลากร และการจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง

มาตรการ

๗.๑       *พัฒนาระบบและกลไกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม

๗.๒      *พัฒนาสมรรถนะบุคลากร จัดให้มีระบบการถ่ายทอดตัวชี้วัดขององค์กรสู่ระดับบุคคล และระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

๗.๓      *พัฒนาผู้บริหารทุกระดับให้มีสมรรถนะด้านการบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และทันต่อการเปลี่ยนแปลง

๗.๔      *ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความก้าวหน้าตามสายงาน โดยการเพิ่มพูนคุณวุฒิศักยภาพและประสบการณ์

๗.๕      *สร้างเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพเพื่อให้บุคลากรทำงานในองค์กรอย่างมีความสุข

๗.๖       *ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

๗.๗      *ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ และยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคลากรที่เป็นแบบอย่างที่ดี

๗.๘      ปรับปรุงระบบการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

๗.๙        ส่งเสริมและกระตุ้นบุคลากรให้มีความสามัคคี และความภักดีต่อคณะ

 หมายเหตุ            *  หมายถึง   มาตรการบังคับของมหาวิทยาลัย

 

      อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงร่างที่คณะบริหารศาสตร์เราต้องการจะเป็นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อเห็นชอบต่อไป ซึ่งคาดว่าดร.วิโรจน์ มโนพิโมกข์ คณบดี จะได้นำเข้าที่ประชุมผู้บริหารในเร็ววัน

ขอขอบคุณ

หมายเลขบันทึก: 452982เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2011 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท