ศาสตร์หรือศิลป์ในการบริหารจัดการยุคใหม่


บทความแนวหน้าฉบับวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2554

ติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ลิกข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

 

ศาสตร์หรือศิลป์ในการบริหารจัดการยุคใหม่ (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)

 
บทความครั้งที่แล้ว เรื่อง 2 สิงหาคม-คนทั้งโลก ต้องเฝ้ามอง เตือนสติคนไทยให้มองภาพใหญ่ เศรษฐกิจ Macro โลกจะกระทบเราอย่างไร?

ก่อน 2 สิงหาคม ผมดูรายการ Fox news ของสหรัฐตลอดเวลาได้ความรู้มากในการถกเถียงในสภาของสหรัฐ

คนไทยต้องฝึกภาษาอังกฤษจะได้ดูข่าวต่างประเทศที่น่าสนใจ

Fox news และ Aljazeera ของอาหรับเป็นช่องเคเบิลที่ ผมดูตลอด ช่วงแรกๆ ผมชอบ CNN และ BBC แต่เรียนถามตรงๆ ว่า ใครยังดู CNN และ BBC ก็ลองเปลี่ยนไปดู Fox news

ยุคใหม่ใครมีแหล่งข้อมูลที่ดี มีการวิเคราะห์ สรุปเป็นก็จะได้เปรียบ ความรู้ต้องสด และข้ามศาสตร์

มามองเรื่อง การบริหารจัดการ วิเคราะห์ระดับย่อย Micro

คนไทยจะวิเคราะห์ภาพใหญ่ Macro น้อย มักจะวิเคราะห์ระดับย่อย โดยเฉพาะเรื่องบริหารคน

ผมเป็นผู้หนึ่งที่สอนให้ลูกศิษย์มี Macro / Micro Synergy มองภาพใหญ่/เล็ก ให้สมดุลกันเพื่อสร้างความสำเร็จ

เรื่อง เพดานเงินกู้สหรัฐเป็นระดับภาพใหญ่รอดไปได้แค่ 3-4 เดือน ถึงเพดานเงินกู้ผ่านแต่อนาคตเศรษฐกิจสหรัฐก็ยังมีปัญหา เช่น

เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น

การจ้างงานไม่เพิ่ม (ว่างงาน 9.2%)

หนี้ยังบานเบอะ

ทำตัวเป็นตำรวจโลก แก้ปัญหาความมั่นคง เลยใช้จ่ายค่าทหารมากเกินความสามารถ

ไม่เคยศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน

มีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสหรัฐหลายแห่ง ผมและเพื่อนก็ไปเรียนกันมา

ผมเรียนแค่ฝึกวิธีการคิดและไม่ประมาท ผมชอบการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงสามารถอยู่ในโลกนี้ได้

ถ้าบ้าตำราตะวันตกแบบนักวิชาการไทยบางคน ไม่เคยปะทะ ความจริง ไม่ดูบริบทคนไทยก็คงไม่รอด คือ ยังสอนอยู่แต่ตำราเดิม มีความรู้โบราณปริญญาเต็มเมือง แต่ปัญญาน้อยลง

ผมจึงเป็นผู้หนึ่งที่ใช้ทฤษฎี 2 Rs คือ ความจริง (Reality)

กับจุดสำคัญ (Relevance) และเป็นเจ้าของความคิดเรื่องความรู้

ข้ามศาสตร์

ความรู้ที่สด แบบผัก

เมื่อวันเสาร์ที่แล้วที่ผมได้รับเกียรติจากนิด้า (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) และกระทรวงพาณิชย์ ไปบรรยายให้ผู้บริหารระดับต้น (Young Execution) ของสมาคมธุรกิจโลจิสติกส์

หัวข้อท้าท้ายดีคือ การบริหารยุคใหม่ต้องใช้ศาสตร์หรือศิลป์ คำตอบก็คือ ไม่ถูก คือ ต้องสมดุลกันระหว่างศาสตร์และศิลป์ทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่พอ

ศาสตร์คือสิ่งที่วัดได้ มีตัวเลขชัดเจน มีข้อมูล 1+1 = 2 มีระบบความคิดที่เป็นเหตุและผลชัดเจนส่วนมากได้มาจากการเรียน ทางวิทยาศาสตร์ เช่น เคมี, คณิตศาสตร์, ชีวะ, ฟิสิกส์ เป็นต้น ซึ่งเด็กไทยเก่งๆ ก็จะเรียนสาขาดังกล่าว

ส่วนศิลป์ เป็นสิ่งที่วัดไม่ได้และอาจจะถูกมองว่า คนเรียนศิลป์ไม่เก่งคำนวณ ไม่เก่งทางด้านศาสตร์

ในต่างประเทศ คนเก่งไม่ได้เรียนหมอหรือวิศวะเหมือน คนไทย เขาอาจจะเรียนวรรณกรรมอังกฤษ แต่คิดเป็นระบบ คิดเป็น แล้วใช้ศิลป์ช่วยในการทำงานของเขา ก็อาจจะประสบความสำเร็จมากกว่ารู้ เฉพาะศาสตร์เท่านั้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ไอน์สไตน์ ที่บอกว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ หรือ สตีฟ จอบส์ เก่งเรื่อง Ipad ไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์มา เรียนแต่ประวัติศาสตร์ไม่จบ แต่ทำงานสำเร็จ ผมเลยสรุปให้ลูกศิษย์ดูว่า ควรจะเข้าใจแยกแยะและใช้ทั้งสอง อย่าง เรื่องศาสตร์และศิลป์คู่กัน

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นตัวอย่าง



1.ความพอประมาณ เดินทางสายกลาง เป็นศิลป์

2.ความมีเหตุผล คิดเป็นระบบ เป็นศาสตร์

3.มีภูมิคุ้มกัน บริหารความเสี่ยง เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และมีเงื่อนไข 2 ด้านคือ มีความรู้ คือศาสตร์และจริยธรรม คุณธรรม คือ ศิลป์ต้องคู่กันไป

พระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ความสมดุลทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อความสำเร็จมีศาสตร์อย่างเดียวก็ไม่พอ หรือศิลป์อย่างเดียวก็ไม่พอ

มีทฤษฎี 8Ks, 5Ks ของผม

ทฤษฎี 8Ks

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทฤษฎี 5Ks

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

จะเห็นได้ว่า วิธีการคิดของผมก็ผสมกันระหว่างศาสตร์และศิลป์

ทุนมนุษย์ วัดทางเศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์การลงทุน เช่น มีศึกษามากรายได้สูงกว่า แต่คุณภาพอาจจะไม่เท่ากันจึงต้อง ใช้ศิลป์เข้ามาช่วย

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้เกียรติเชิญผมบรรยาย หัวข้อศาสตร์และศิลป์ในการบริหารธุรกิจโลจิสติกส์" ณ โรงแรมวินเซอร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2254

ภาพบรรยากาศ พิธีปิดโครงการ พัฒนานักบริหาร หลักสูตร ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (OFFAF Leader Camp 2011) โดยมี นายพิริยะ เอกวานิช รองผู้อำนวยการ สกย. และ นายชัยวัฒน์ ฉันติกุล รองผู้อำนวยการ สกย. ร่วมในพิธีปิด เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 ที่ผ่าน ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพฯ

ทุนทางปัญญา เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ อยู่ที่วิธีการเรียนต้องคิดวิเคราะห์ ต้องมีสมองข้างซ้ายเป็นศาสตร์ แต่คิดเป็น สร้างสรรค์เป็นศิลป์ใช้สมองข้างขวา

ทุนแห่งความสุข เป็นศิลปะเพราะเงินมาก อาจจะไม่มีความสุขก็ได้ ต้องมี Passion (ชื่นชอบ) ในการทำงาน

ทุนทางจริยธรรม เป็นศิลป์ เพราะจับต้องไม่ได้

ทุนทาง IT เป็นศาสตร์ เพราะวัดได้

ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ ศิลป์

ทุนทางความรู้ เป็นศาสตร์

ทุนทางอารมณ์ เป็นศิลป์แน่นอน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ก็ทำงานไม่สำเร็จ

อยากให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า ความสมดุลระหว่างศาสตร์และศิลป์เป็นจุดสำคัญในการบริหารเพื่อความสำเร็จของทุกองค์กร

มีข้อสังเกต 2-3 ข้อ แยกแยะให้ดีว่าอะไรคือศาสตร์และอะไรคือศิลป์ (ถ้าแยกได้) บางเรื่องค่อนข้างจะแยกไม่ออก ต้องระวังให้ดี คือ ถ้าเข้าใจและใช้ทั้งสองให้สมดุล ไม่ใช่แค่ 50/ 50 อยู่ที่สถานการณ์

ตัวอย่าง

บิล ฮาเนกี้ (Bill Heineke) ทำอะไรต้องศึกษาให้ ท่องแท้ คือ ทำการบ้าน หาข้อมูล ดูลูกค้า ดูต้นทุนเปรียบเทียบก่อนจะทำใช้ศาสตร์เสมอ

คุณธนินท์ เจียรวนนท์ จาก CP เน้นการบริหารแบบ ศาสตร์และศิลป์

เชิญคนเก่งมาและจ่ายเงินคุ้ม (ศาสตร์)

แต่ใช้ศิลป์ดูคนให้ครบ เช่น ดูโหงวเฮ้ง ดูบุคลิกแต่ละคน หวังว่า ท่านผู้อ่านคงสำรวจตัวเองว่า ขาดอะไร อย่างวิศวะที่ผมฝึกที่ กฟผ. มีศาสตร์มากยังขาดศิลป์บ้าง ขาดวัฒนธรรมในการเรียนรู้ ความใฝ่รู้ ชอบ Command-Control ทำงานวิศวะเก่ง บางคนที่เรียนกับผมหันมาสนใจเรื่องศิลป์มากขึ้นก็จะประสบความสำเร็จในฐานะผู้บริหารของ กฟผ.

บางคนเรียนนิเทศศาสตร์ มีศิลป์เยอะ เช่น อาชีพนักข่าว แต่ไม่เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ไม่เป็น ก็ควรเพิ่มศาสตร์เข้าไป

สรุปคือ ค้นหาจุดแข็งของตัวเองและมีช่องว่าง เติมให้เต็ม

เรียนรู้ตลอดชีวิตครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181
คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 452708เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท