บันทึกการบ้าน จากการฟังรายงานหน้าชั้น


ภาระงาน


ให้เปิดแฟ้มข้อมูล HSB_Midterm.sav เมื่ออยู่ใน SPSS และทำการสำรวจ ตรวจสอบ และวิเคราะห์ เพื่อตอบคำถามต่อไปนี้
1. ในแฟ้มข้อมูลนี้มีตัวแปล (Variables) อะไรบ้าง โดยไม่รวมผลการทดสอบทางจิตวิทยาตัวแปรใดเป็นตัวแปรที่มีค่าแบบต่อเนื่อง (Continuous or Scale) และตัวแปรใดเป็นตัวแปรที่มีค่าแบบจำแนกประเภท (Categorical) สำหรับตัวแปรแบบ Categorical แต่ละตัวมีค่าอะไรบ้าง


2. ใช้ Frequency เพื่อ
ก. แสดงการแจกแจงความถื่ของตัวแปรแบบ Categorical
ข. วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) ของตัวแปรค่าต่อเนื่อง
โดยแสดง Central Tendency (Mean & Median), Dispersion (Range,
Minimum, Maximum, Variance, Standard Deviation, & Standard error),
Distribution (Skewness & Kurtosis), และแสดง Histogram และแนวโค้งปกติ
(Normal Curve) พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าตัวแปรเหล่านี้มีการแจกแจงความถี่ที่มี
ลักษณะใกล้เคียงโค้งปกติหรือไม่


3. ใช้ Cross-Tab เพื่อวิเคราะห์ตารางไขว้สองทาง (Cross-Tabulation) ของตัวแปรคู่ต่อไปนี้ พร้อมทั้งใช้สถิติ Chi-Square วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคู่ดังกล่าว พร้อมทั้งระบุว่าการวิเคราะห์แต่ละคู่ใช้เพื่อทดสอบข้อสมมุติฐานอะไร
ก. เพศ และ โปรแกรมการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
ข. เพศ และ เชื้อชาติ
ค. เพศ และ สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม
ง. เชื้อชาติ และ โปรแกรมการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
จ. สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม และ โปรแกรมการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย


4. ใช้ T-test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย (Means) ต่อไปนี้ พร้อมทั้งระบุ Null Hypothesis สำหรับการวิเคราะห์แต่ละคู่
ก. คะแนนสอบต้นปีกับปลายปีทั้ง 4 วิชา
ข. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและชายในคะแนนทั้ง 4 วิชา ทั้งที่
สอบต้นปี และปลายปี โดยคำนึงถึง Homogeneity of Variance 3


5. ใช้ One-way Analysis of Variance วิเคราะห์ความแตกต่างของค่เฉลี่ยของวิชาทั้ง 4 ทั้งคะแนนสอบต้นปีและปลายปี โดยจำแนกกลุ่มตามตัวแปรต่อไปนี้ โดยคำนึงถึง Homogeneity of Variance และ แสดง Post Hoc Multiple Comparison โดยใช้ สถิติ Bonferroni, Scheffe, หรือ Games-Howell แล้วแต่กรณี
ก. เชื้อชาติ
ข. สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม
ค. โปรแกรมการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย


6. ใช้ Correlation เพื่อวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบวิชาต่าง ๆ โดยเน้น
ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบต้นปีและปลายปี ทั้ง 4 วิชา พร้อมทั้งใช้ Scatter Plot แสดงความไปด้วยกันของคะแนนสอบต้นปีและปลายปีทั้ง 4 คู่

---------------------------------------------------------------------------

แนวการตอบ

1. บอกประเภท และแจกแจงตัวแปรของแต่ละอัน

 

2. ก. แจกแจงความถี่แต่ละอัน

    ข. แจกแจงความถี่ตัวแปรต่อเนี่อง แยก pre-test จาก post-test ของแต่ละวิชา แล้วทำฮีทโทรแกรม (ปรับแต่งฮีทโทรแกรม โดยดับเบิ้ลคลิ๊กที่ฮีทโทรแกรม)

        อธิบายรายละเอียดของข้อมูลในตาราง

        - ค่า mean เวลาดูต้องค่า std error ด้วย เช่น ค่า mean 50 ได้ std error 1.5 แสดงว่า ค่าที่ผ่านจริงๆ คืออยู่ในช่วง 48.5 ถึง 51.5

        - skewness ค่าความเบ้ โดยดูจากหาง ค่าความเบ้ ไม่ควรเล้กกว่า -1 และให่กว่า 1 ยิ่งใกล้ 0 หรือเท่ากับ 0 จะดี (โค้งปกติ) ค่าความเบ้ของกราฟมาก ค่าที่จะต้องการประมาณ จะมีความคลาดเคลี่อนมาก

        ** ค่าความเบ้มากมักพบในกลุ่มตย. ขนาดเล็ก หรือแบบทดสอบไม่ดีพอ**

        - Kutosis ค่าความโด่ ??

 

3. การ Cross-Tab โดยจับคู่ เพื่อทดสอบสมมติฐาน

    * college prep โปรแกรมเรียนต่อมหาวิทยาลัย

    - วิเคราะห์ cross-tab และต้องเอาค่า chi-square ออกมาด้วย (เข้า spss เลือก chi-square และ expected)

    - อธิบายข้อมูล ดูความคลาดเคลื่อน(ค่าซิก) ว่าใหญ่พอหรือไม่ *หาอ่านเพิ่มเติม* หรือดูจากค่าจริง จาก chi-square ต่างจากค่าคาดหวังใน expected หรือไม่ ค่าซิกน้อยกว่า 0.05 แสดงว่ามีนัยสำคัญ ที่ 0.05 หรือมีความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นั่นเอง

   - สรุปข้อสามคือ แตกต่างที่นัยสำคัญ 0.05 (ซิกน้อยกว่า 0.05) คือทั้งสองมีอิทธิพลต่อกัน

  - หรือสรุปว่า ไม่มีนัยสำคัญที่ 0.05 (ซิกมากกว่า 0.05) คือสองอย่างไม่มีอิทธิพลต่อกัน

  - ตัวอย่าง ถ้าได้ค่านัยสำคัญ 0.472 คือไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 452662เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท