วิธีการหรือกลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในองค์กร


ในการพัฒนาองค์การเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีอีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน นั่นก็คือ 1) การละลายพฤติกรรม 2) ระยะกำลังเปลี่ยนแปลง และ 3) การรวมตัวของพฤติกรรมใหม่

                1) การละลายพฤติกรรม (Unfreezing)

                เป้าหมายสำคัญของการละลายพฤติกรรม คือ การกระตุ้นทางใจแก่บุคคลหรือกลุ่มให้มีความพรักพร้อมในเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลง เปรียบเสมือนแกะน้ำแข็งในตู้เย็นที่จับแข็งออกมาละลายให้เป็นน้ำใหม่ พฤติกรรมของมนุษย์ก็เช่น เปิดเผยออกมาว่า เรามีปัญหาอะไร อะไรเป็นจุดอ่อน จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยความเห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเองเป็นสำคัญ การละลายพฤติกรรมของมนุษย์มีข้อสังเกตบางประการ คือ (1) วิเคราะห์ว่าอะไรเป็นอุปสรรคในการทำงานกับบุคคลอื่น (2) ยอมรับพฤติกรรมและเจตคติใหม่อันจะเป็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกัน (3) เปิดเผยความรู้สึกที่มีต่อกัน อันจะเป็นการเพิ่มความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

                โดยสรุป การละลายพฤติกรรมเหล่านี้บางครั้งหมายถึงเป็นการทำลายความเชื่อ ประเพณี ธรรมเนียมเก่าๆ ของบุคคล การทำงานแบบเก่าๆ และพร้อมที่จะยอมรับทางเลือกใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม

                2) ระยะกำลังเปลี่ยนแปลง (Changing or Moving)

                เมื่อบุคคลได้ถูกกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นโดยการเลียนแบบบุคคลอื่น และนับเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายในความรู้สึกและพฤติกรรม

                การเลียนแบบ เกิดขึ้นเมื่อมีแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง จัดให้มีขึ้นภายในสภาพแวดล้อมหากบุคคลใดพยายามเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ได้ โดยพยายามทำตัวเหมือนแม่แบบนั้นก็บรรลุผลได้เช่นกัน

                ส่วนการเปลี่ยนแปลงภายในเกิดขึ้นเมื่อบุคคลถูกจัดให้อยู่ภายในสถานการณ์หนึ่งที่พวกเขาต้องการมีพฤติกรรมใหม่ และต้องการปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จภายใต้สถานการณ์นี้เอง พวกเขาจะเรียนรู้ถึงพฤติกรรมใหม่ๆ มิใช่เพียงแต่เพื่อการอยู่รอดเท่านั้น แต่เพราะว่าต้องการที่จะมีความสำเร็จในระดับสูงในงาน

                3) การรวมตัวใหม่ของพฤติกรรม (Refreezing)

                กระบวนการแสวงหาความต้องการพฤติกรรมใหม่ๆ มาถึงขั้นผสมผสานบุคลิกลักษณะและความรู้สึกเข้าด้วยกัน เรียกว่า “การรวมตัวของพฤติกรรมใหม่” ถ้าหากพฤติกรรมใหม่ได้กลายเป็นสิ่งภายใน ในขณะที่เขาเรียนรู้แล้วก็เท่ากับว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการรวมตัวของพฤติกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง

หมายเลขบันทึก: 452602เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2011 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท