ลักษณะการเสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าดูดช็อตของเด็กๆที่พบบ่อยๆ


การเสียชีวิตของเด็กๆในลักษณะต่างๆจากการถูกกระแสไฟฟ้าช็อตดู มีอยู่ 5 ลักษณะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ

  ลักษณะการเสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าดูดช็อตของเด็กๆที่พบบ่อยๆ

          การเสียชีวิตของเด็กๆจากการถูกกระแสไฟฟ้าช็อตดู สามารถพบเจอได้จากสื่อต่างๆอยู่เป็นเป็นประจำ สาเหตุที่เกิดจากไฟฟ้าช็อตดูเด็กๆจนทำให้เสียชีวิตนั้นพบได้ในหลายๆลักษณะ แต่มีองค์ประกอบทั่วไปร่วมกันอยู่สองส่วนที่สำคัญ อย่างที่ 1 ถ้ามองไปที่พฤติกรรมของเด็กๆ หรือ ของผู้ดูแล คงพอบอกได้ว่าเกิดจากความประมาณ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งของเด็กๆ ของ ผู้ดูแล หรือ ความเพ้อเรอผู้ดูแล อย่างที่ 2 เป็นเรื่องของสถาพแวดล้อมและอุปกรณ์ ที่เสียงต่อการถูกกระแสไฟฟ้าช็อดดูจนเด็กๆต้องเสียชีวิต 

         จากประสบการณ์ที่ได้รับรู้ถึงการเสียชีวิตของเด็กๆในลักษณะต่างๆจากการถูกกระแสไฟฟ้าช็อตดู มีอยู่ 5 ลักษณะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ที่ผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ ผู้ดูแลเด็ก ควรนำไปป้องกันไปสอนบอกนำไปเตือน ลูกๆให้ระมัดระวัง การถูกไฟฟ้าช็อตดู เพราะ ความประมาณ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพียงระยะเวลาสั่นๆ อาจทำให้เด็กๆต้องเสียชีวิต อาจทำให้ผู้ปกครองต้องเสียใจไปจนตลอดชีวิต

1.       ลักษณะที่ 1 เป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ ตั้งแต่ 1-2 ขวบขึ้นไปจน 4-5 ขวบ เป็นลักษณะการเสียชีวิตจากการถูกกระแสไฟฟ้าช็อตดู จากสาเหตุที่เด็กๆ เอาลวด เอาเหล็กขนาดเล็กๆ เช่น เข็ม คลิปเหน็บกระดาษ ไม้แขวนเสื้อ เศษลวด ปากกาและอื่นๆ คือ เอาวัตถุที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าได้ ไปแหย่รูปลั๊กไฟ แหย่รูเสียบไฟต่างๆ ทำให้เด็กถูกไฟฟ้าช็อตดูดเสียชิวิต หรือถ้าน้อยหน่อย ก็เป็นแผลตามผิวหนัง  เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กๆที่พบได้เป็นระยะ

2.       ลักษณะที่ 2 เกิดขึ้นกับเด็กโตขึ้นมาหน่อย เป็นกรณีของเด็กๆ ที่ไปเดินเล่นบนกำแพง บนรั้ว ที่มีการเดินสายไฟไปตามกำแพง จะเกิดไฟฟ้าช็อตดูดได้ง่ายตอนสายไฟเปียกน้ำในช่วงฝนตกหรือหลังฝนตก แล้วบนกำแพงมีน้ำขังอยู่ สายไฟบนกำแพงมีการเปียกน้ำ หรือ มีรอยรั่ว  เมื่อเด็กชวนกันไปปีนไปเดินเล่นบนกับแพง จึงสามารถทำให้ถูกไฟฟ้าช็อตดูดจนทำให้เสียชีวิตได้

3.       ลักษณะที่ 3 เป็นกรณีที่เด็กๆถูกกระแสไฟฟ้าช็อตเสียชีวิตจากการทำงาน เกิดขึ้นได้กับเด็กโตหน่อย ที่สามารถทำงานได้แล้ว หรือ เด็กเล็กๆที่ตามพ่อแม่ไปทำงาน สาเหตุเกิดจาก ในการทำงานต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้า เช่นเครื่องเชื่อม เครื่องตัดเหล็ก สว่านเจาะไฟฟ้า หรือเครื่องไฟฟ้าอื่นที่ใช้ในการทำงาน และมีลักษณะต้องใช้สายไฟที่มีความยาวที่เสียบปลั๊กไฟฟ้าในจุดหนึ่ง แต่รากสายไฟลาดไปกับพื้นไปทำงานอีกจุกหนึ่ง ซึ่งจากความยาวของสายไฟที่ยาวอาจทำให้มีรอยรั่ว หรือ ไปพาดผ่านแอ่งน้ำที่ขังอยู่กับพื้น หรือทำงานขณะฝนตก ทำให้เมื่อเด็กๆที่ไปทำงานขาดความระมัดระวัง หรือลูกๆที่ตามพ่อแม่ไปทำงานไปนั่งจับสายไฟเล่นจึงสามารถทำให้ถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิตได้

4.       ลักษณะที่ 4เกิดจากการป้องส่วนบุคคลในการป้องกันทรัพย์สิน เช่น เจ้าของโรงงาน เจ้าของกิจการต่างๆ ได้เดินสายไฟฟ้าไว้ป้องกันโรงงาน ป้องกันการลักขโมย หรือ เกษตรกร ที่เดินสายไฟฟ้าไว้รอบที่สวนที่นา เพื่อป้องกันทรัพย์สิน ป้องกันการลักขโมย  แต่ขณะเดียวกันได้มีเด็กๆที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้แอบไปเที่ยวเล่นในจุดนั้นหรือตั้งใจจะไปขโมยของแต่ไม่ได้คิดรู้ว่ามันมีอันตรายถึงชีวิต เมื่อไปถูกสายไฟฟ้าที่เจ้าของทรัพย์สินได้เดินสายป้องกันไว้ ทำให้ถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิต

5.       ลักษณะที่ 5 เกิดจากการที่เด็กๆได้ไปหาปลาหรือตามพ่อแม่ผู้ปกครองไป ด้วยวิธีการช็อตไฟฟ้า แล้วตัวเด็กเองพาดไปถูกกระแสไฟฟ้าที่ตั้งใจไปช็อนปลา หรือ ผู้ปกครองพาดนำไฟฟ้าไปถูกลูก หรือ เพื่อน พาดนำไฟฟ้าไปถูกเพื่อนด้วยกัน จากลักษณะที่กล่าวมานำมาซึ่งการถูกไฟฟ้าช็อตทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา

       จากทั้ง 5 ลักษณะเป็นสาเหตุที่พบได้เป็นประจำในกรณีของเด็กๆที่เสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าช็อต ซึ่ง ถ้าดุว่าเด็กๆอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะเป็นธรรมดาที่มีความไม่รู้ มีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นไปตามปกติของเด็กๆ การปกป้องดูแลคงกล่าวได้ว่าเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่ต้องค่อยดูแลระมัดระวังเอาใจใส่ ตักเตือนเด็กๆถึงความไม่ปลอดภัยจากการถูกไฟฟ้าช็อตดู และควรตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ปลอดภัย สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยที่สามารถทำให้เด็กๆมีความเสียงในการต้องถูกไฟฟ้าช็อตดูจนเสียชีวิต

 

คำคมสอนชีวิต จาก http://www.fungdham.com/proverb.html

“ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก” “กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้” “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา“กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง“ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้

 

กลาง ธรรมชาติ

    4 ส.ค. 54

 

 

       

หมายเลขบันทึก: 452331เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2011 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท