การสอนภาษาอังกฤษด้วยการบูรณาการเนื้อหาท้องถิ่น


การสอนภาษาอังกฤษด้วยการบูรณาการเนื้อหาท้องถิ่น

—วิธีการสอนที่เหมาะสมกับการสอนภาษาอังกฤษด้วยการบูรณาการเนื้อหาท้องถิ่น   

                วิธีการสอนที่เหมาะสมกับการสอนภาษาอังกฤษด้วยการบูรณาการเนื้อหาท้องถิ่น เป็นวิธีสอนที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาความรู้เดิมหรือประสบการณ์ของผู้เรียนมาใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับบทเรียนเนื้อหาท้องถิ่นที่ถือว่าเป็นความรู้เดิมของผู้เรียน พอสรุปได้ดังนี้

กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความรู้เดิม 

สิ่งแรกที่ผู้สอนต้องคำนึงเป็นอันดับแรกก่อนการเรียนการสอนคือ ความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องนั้นมีมากน้อยเพียงใด ถูกต้องและสอดคล้องกับสิ่งที่เรียนหรือไม่  ผู้สอนควรกำหนดแผนการสอนก่อนทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น แผนการสอนก่อนการอ่าน (Pre-reading Plan) ซึ่งมีกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการนำความรู้เดิมออกมาใช้ในการอ่าน  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้  (สาวิตรี  ประเสริฐกุล, 2529) 

ผู้สอนอาจจะนำเสนอวัฒนธรรมที่สำคัญรูปแบบของแผนภูมิ เช่น สอนเรื่องการนัดหมาย  ผู้สอนอาจนำเสนอเรื่องการตรงต่อเวลา โดยเริ่มจากให้ผู้เรียนอภิปรายเรื่องการตรงต่อเวลา เช่น มีการตั้งคำถามว่า “คนอเมริกันกับคนไทย มีความแตกต่างกันในเรื่องการตรงต่อเวลาหรือไม่” แล้วให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความแตกต่างและนำเสนอในรูปแผนภูมิ ดังนี้

แผนภูมิที่ 1  การเปรียบเทียบวัฒนธรรมการใช้เวลา

                              วัฒนธรรมการใช้เวลา

                             (Culture Use of Time)

                                             ↓

                                  การตรงต่อเวลา

                          (Patterns of Punctuality)

                                            ι                     

                       ———————————————

                      ↓                                         ↓

            วัฒนธรรมท้องถิ่น             วัฒนธรรมเจ้าของภาษา   

             (Home Culture)               (Target Culture)    

          —————ι——————           —————ι—————

         ↓                              ↓           ↓                            ↓ 

 เป็นทางการ          ไม่เป็นทางการ    เป็นทางการ   ไม่เป็นทางการ

(Formal)                (Informal)      (Formal)       (Informal)

 

แผนภูมิ  1  เป็นการเปรียบเทียบการตรงต่อเวลาระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้เรียนว่า   มีการรักษาเวลามากน้อยเพียงใดกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาทั้งในแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อให้ผู้เรียนได้ดึงประสบการณ์เดิมของตนออกมาใช้ในการเปรียบเทียบในเรื่องเกี่ยวกับเวลาและการนัดหมาย เป็นต้น

นอกจากนี้ หากผู้สอนสอนเรื่องการบอกทิศทาง (Direction) ครูผู้สอนอาจจะฉายภาพยนตร์ หรือบันทึกรายการโทรทัศน์ที่แพร่ภาพในประเทศที่เป็นเจ้าของภาษานั้นๆ หรือเชิญเจ้าของภาษามาสนทนากับผู้เรียนโดยตรง   หากในบทเรียนนั้นมีเรื่องเกี่ยวกับสถานที่สวยงาม ผู้สอนอาจจะนำสมุดภาพสีสวยสดจากสถานที่จริงมาให้ผู้เรียนดู หรือถ้าเป็นบทเรียนเรื่องอาหาร (Food)  ผู้สอนอาจจะฉายภาพเลื่อนเรื่องมารยาทในการรับประทานอาหารของชาวอเมริกัน แล้วให้ผู้เรียนสนทนาถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของคนไทยกับคนอเมริกันตามที่ได้เห็นจากภาพเลื่อน  ผู้สอนต้องตระหนักอยู่เสมอว่าสิ่งที่นำมาเสนอให้ผู้เรียนนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ภาพเลื่อน หรือของจริง จะต้องทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์เสมอ 

การสอนดังกล่าวเป็นการพัฒนาความรู้เดิมของผู้เรียน โดยการเปรียบเทียบความรู้ที่มีอยู่กับความรู้ที่กำลังเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจและสร้างเสริมความรู้เดิมให้มากยิ่งขึ้น

สาวิตรี ประเสริฐกุล. (2529). วิธีสอนอ่านโดยใช้หลักของความรู้เดิม. ภาษาปริทัศน์. 7(1), 40-48. 

หมายเลขบันทึก: 452231เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2011 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เคยสอนโดยใช้ Blackground knowledge เหมือนกันก็ได้ผลนะ นร.เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

แล้วก็สามารถสร้างความหมายของบทอ่านได้ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท