31 ก.ค. 2554 : สัมมนาระหว่างฝึกประการณ์วิชาชีพครู


"มั่นคง มั่นใจ ก้าวไกลสู่สังคม"

เช้าวันอาทิตย์นี้ ดิฉันไม่ได้นอนหลับสบายอยู่ที่หออย่างที่ควรจะเป็น แต่วันนี้ดิฉันจะไปเข้าร่วมงานสัมมนาระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ณ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู เชียงใหม่

ดิฉันและกลุ่มเพื่อนไปถึงสหกรณ์ฯ ประมาณ 07.45 น.

ระหว่างทางแวะซื้ออาหารที่ 7-11 เผื่อน้อง ๆ (ดูจากรูปแล้ว คงหิวกันน่าดู)

เวลาประมาณ 08.20 น. กว่าประตูสหกรณ์จะยอมเปิดให้พวกเราเข้าไปข้างใน

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การเข้าแถวลงทะเบียน (ยืนยันการมาเยือนแหล่งเงินกู้)

หลังจากลงทะเบียนกันเรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างก็จับจองที่นั่ง เตรียมฟังการสัมมนา

ระหว่างรอก็เก็บบรรยากาศไปเรื่อย ๆ

คติของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เชียงใหม่ "มั่นคง มั่นใจ ก้าวไกลสู่สังคม"

เวลาผ่านล่วงเลยไปหลายนาที ก็ยังไม่เห็นทีท่าว่างานจะเริ่ม

 

และในการสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์จรูญ วงค์คำ ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงใหม่และประธานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มาเป็นวิทยากร

โดยเนื้อหาที่ท่านได้บรรยาย ดิฉันสามารถจับใจความได้ดังนี้

  1. ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เชียงใหม่
  2. การเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครู การออมเงิน การซื้อหุ้น ดอกเบี้ยที่จะได้รับ และการกู้เงินของสหกรณ์ฯ
  3. การส่งงานของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยสิ่งที่ต้องส่ง ได้แก่ โครงการ แฟ้มสะสมผลงาน แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมิน
  4. การปฏิบัติตนให้เป็นครูที่ดี
  5. การเตรียมตัวสู่การเป็นอาเซียน ในปี 2558

 

เรื่องพวกนี้จะมาพูดเล่น ๆ กันไม่ได้

 

จากนั้น อาจารย์จุฑารัตน์ เปลวทอง และ อาจารย์ธนะดี สุริยะจันทร์หอม รับหน้าที่ในการบรรยายเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

มีการจัดกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยให้นักศึกษาแต่ละหมู่เรียนออกมาเล่าถึงประสบการณ์และปัญหาที่ได้พบจากการออกไปฝึกประสบการณ์สอน ตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

  1. ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับตัวนักศึกษา
  2. ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับผู้บริหาร
  3. ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับครูพี่เลี้ยง
  4. ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับอาจารย์นิเทศ

กลุ่มนี้จะเป็นประเภทฝึกสอนในสถานที่ที่ตนเองทำงานอยู่แล้ว ปัญหาที่พบจะเป็นปัญหาทั่วไป แก้ไขตามอาการ

 

(ว่าที่)คุณครูท่านนี้ เล่าถึงการแก้ปัญหาเรื่องที่เด็กไม่สนใจฟังครู

โดยใช้วิธีการไซโคเด็ก ("ไซโค" น่าจะมาจากคำว่า "psycho" หรือ "psychological doing" การทำอะไรก็ตามที่มีผลทางจิตใจ)

 

สำหรับกลุ่มของนักศึกษา สควค. เราได้โฆษกประจำรุ่นขึ้นไปพูดแลกเปลี่ยนประสบการณ์

และก็เป็นที่ประทับใจทุกท่านจริง ๆ เนื่องจากกลุ่มของ สควค. เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มีปัญหา 108 ประการ อาทิเช่น

  - ปัญหากับเพื่อนต่างสถาบัน การแบ่งชนชั้น และเกี่ยงงานกันทำ

  - ครูพี่เลี้ยงมีเวลาว่างไม่ตรงกับนักศึกษา ทำให้ไม่ค่อยได้คุยปรึกษากัน ซึ่งบางเรื่องเราก็ต้องการพี่เลี้ยงจริง ๆ

  - อาจารย์นิเทศบางท่าน เมื่อมานิเทศนักศึกษาและพบข้อบกพร่อง แทนที่จะมาให้กำลังใจนักศึกษากลับต่อว่าด้วยวาจาที่รุนแรง

สรุปการเข้าสัมมนาในวันนี้ ดิฉันได้รับความรู้และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ที่สอนต่างสถาบัน สามารถนำสิ่งที่ได้รับฟังไปประยุกต์ใช้กับการสอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 452206เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2011 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บันทึกนี้เขียนได้ดีมากครับ มองเห็นภาพและรายละเอียดที่เกิดขึ้นดี

มีข้อแนะนำนิดนึงครับ

คำอธิบายภาพโดยส่วนใหญ่จะเขียนไว้ "ใต้ภาพ" มากกว่า "บนภาพ" ครับ

อ้าว สงสัยอีก ...

มันเป็นหลักของ Psycho นั่นไง เขียนมาแล้วนี่ ;)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Ongkuleemarn

น้อมรับคำแนะนำค่ะ

(" ▔□▔)/ ... (อย่าไซโคหนูเยอะสิคะ)

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท