เรื่องไม่ยากแต่ก็งง....กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย


ใคร ๆ ก็ช่วยอธิบายกันต่อได้นะคะ

นี่ล่ะค่ะคือสิ่งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกของการเขียน Blog นี้
"เก็บมาฝาก....จากสนามจันทร์"
หวังไว้ว่าจะเก็บความรู้ต่าง ๆ ที่ได้เข้า Class เรียนระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร มาถ่ายโอนความรู้ไว้ ณ ที่แ่ห่งนี้
แต่พอเอาเข้าจริง ๆ เวลาที่มีอยู่วันละ 24 ชั่วโมง
ก็แทบจะไม่พอแล้ว.........
(อยากให้โลกหมุนช้าลงเป็น 48 ชั่วโมงต่อรอบ)

จนเมื่อถึงเวลาที่จะต้องสอบวัดคุณสมบัติ QE
จึงได้มีโอกาสเจาะสมอง ตักความรู้แบบเก็บเล็กประสมน้อย
มาปัดฝุ่นและเรียงร้อยเป็นเรื่องราวอย่างที่ต้องการจะเขียนตามความตั้งใจ

เริ่มที่เรื่อง.....

การออกแบบการวิจัย
ที่มีการกำหนด​กลุ่มทดลอง (Experimental Group)
และกลุ่มควบคุม (Control Group)
ให้ผลที่แตกต่างจากการวิจัยที่ม​ีกลุ่มทดลองเพียง "กลุ่มเดียว"
ในแง่ความตรงภายในของงานวิจัย
แล​ะสะท้อนเรื่องความตรงภายใน ส่วนไหน อยางไร

การออกแบบการวิจัยมีเป้าหมาย คือ

  1. ให้ได้คำตอบต่อปัญหาการวิจัยที่ถูกต้อง เที่ยงตรง
    หรือตอบคำถามได้ตรงตามคำถามการวิจัย
    หรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  2. เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรในการวิจัย
    แบบของการวิจัยที่เหมาะสม คือการทำให้ความแปรปรวน
    เกิดอย่างมีระบบ  

หลักการออกแบบการวิจัย ตามหลักการ  The Max Min Con Principle

  1. ทำให้ความแปรปรวนจากตัวแปรหลักหรือตัวแปรทดลองมีค่ามากที่สุด
    คือการทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามเป็นผลมากจากความแตกต่าง
    ของตัวแปรอิสระ (Maxminization of System Variance
    หรือ Maxminization of Experimental Variance)
  2. การทำให้ความแปรปรวนจากความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำที่สุด
    (Minimization of Error Variance) ซึ่งความคลาดเคลื่อน
    จะเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ ความคลาดเคลื่อนอย่างสุ่ม (Random Error)
    และความคลาดเคลื่อนจากเครื่องมือวัด (Measurement Error)
  3. การควบคุมความแปรปรวนจากตัวแปรแทรกซ้อน 
    (Control Extraneous Variance) คือการควบคุมตัวแปรภายนอก
    ที่ผู้วิจัยไม่ต้องการศึกษา ไม่ให้ส่งผลต่อตัวแปรตาม
    และพยายามทำให้ตัวแปรตามเกิดจากการกระทำของตัวแปรอิสระเท่านั้น

อ้างอิง : มาเรียม นิลพันธุ์. (2551). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 3.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

 สัญญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบวิจัย

หมายเลขบันทึก: 452120เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2011 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity) หมายถึง คุณลักษณะที่สรุปว่าความแตกต่างหรือผลที่ได้รับจากการทดลอง หรือผลของตัวแปรตามเกิดจากการกระทำของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรจัดกระทำ (Treatment) ที่ผู้วิจัยนำมาศีกษาเท่านั้นไม่เกี่ยวกับตัวแปรแทรกซ้อน

ความเที่ยงตรงภายนอก (External Validity) หมายถึง คุณลักษณะที่สามารถนำผลวิจัยมาเป็นตัวแทนในการสรุปอ้างอิง (Generalizability) คือสามารถนำผลการวิจัยที่ศึกษากับกลุ่มตวอย่างไปสรุปอ้างอิง (Generalization) ไปสู่ประชากรได้

ดังนั้น หากผู้วิจัยออกแบบการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จะทำให้ผลการวิจัยมีความเที่ยงตรง

แบบการวิจัย (Research Designs) หรือแบบแผนการทดลอง (Experimental Designs) แบ่งเป็น 3 ประเภท (Campbell and Stanley, 1963:6)

1.Pre Experimental Design การวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental Grroup) กลุ่มเดียวไม่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง (Non Randomization and Non Control Group)

2.Tru Experimental Design กลุ่มตัวอย่างมีทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมซึ่งได้มาโดยการสุ่ม เป็นการออกแบบการวิจัยที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน

3.Quasi Experimental Design เป็นการวิจัยที่ไม่มีการสุ่มแต่มีกลุ่มควบคุม

มาเรียม นิลพันธุ์. (2551). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 3.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Pre Experimental Design

  1. The One - Shot Case Study    แบบการวิจัย   X  T2
    สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่บงเบนมาตรฐาน (S.D.)
  2. The One -Group Pretest - Posttest Design    แบบการวิจัย T1  X  T2
    สถิติที่ใช้  t - Test
  3. The Static - Group Comparison (Campbell and Stanley. 1963,12)
    แบบการวิจัย    X _ _ O1
    แบบการวิจัย             O2

สามารถคลิกดูสัญญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบวิจัย ด้านบน

True Experimental Designs

  1. The Pretest - Posttest Control Group Design Control for Internal Validility
    R O1 X O2
    R O3 O4    หรือ
    RE TE1 X TE2 (มาเรียม นิลพันธุ์, 2551)
    RC TC1 X TC2       สถิติที่ใช้   ANOVA, t-Test
                                             ANOVA, Q-Statistic
  2. The Solomon Four - Group Design
    R O1 X O2
    R O3 X O4
    R X O5
    R X O6         สถิติที่ใช้ ANOVA, Q-Statistic เพื่อเปรียบเทียบทีละคู่ ฯลฯ
  3. The Posttest - Only Control Design (มาเรียม นิลพันธุ์, 2551)
    R X O1
    R X O2         สถิติที่ใช้ ANOVA หรือ t-Test

Quasi - Experimental Design

Non - Randomized Control - Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้

  • ANOVA หรือ t-Test
  • Non - Parametric Test

Non Randomized Control - Group Posttest Only Design   สถิติที่ใช้   t-Test

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท