“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : องค์ต้นแบบของการทำงานเพื่อประชาชน”


เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : องค์ต้นแบบของการทำงานเพื่อประชาชน”
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
วันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2546 เวลา 10.45 – 12.15 น.

===================================

การทำงานแบบตามรอยพระยุคลบาทให้ยึดพระราชดำรัส “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
1. ธรรมของพระเจ้าอยู่หัวคือ good governance คือ ทศพิธราชธรรม
  • ทาน คือ การให้ ต้องให้โดยไม่หวังประโยชน์
  • ศีล คือ การประพฤติตัวดี ยึดศีล 5 เป็นหลัก
  • ปริจาคคะ คือ การบริจาค ให้ของเล็กเพื่อให้ได้ของใหญ่ “our lost is our gain”
  • อาชชวะ คือ ความซื่อตรง ไม่โกงกิน
  • มัททวะ คือ ความอ่อนโยน
  • ตปะ คือ ความเพียร
  • อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ
  • อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียน
  • ขันติ คือ ความอดทน
  • อวิโรธนะ คือ การปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง


2. หลักการทำงาน
2.1 ต้องมีการวางเป้าหมายในการทำงาน
พระเจ้าอยู่หัวทรงวางเป้าหมายของพระองค์ไว้คือ “เพื่อประโยชน์สุขของ
มหาชนชาวสยาม”
“ชาวสยาม” หมายถึง ทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินสยาม ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติหรือ
ใครก็ตาม และประโยชน์ใดๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน
2.2 จะทำอะไรขอให้ใช้หลัก “รู้รักสามัคคี”
    (1) รู้ หมายถึง รู้สถานการณ์ เศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลของแต่ละพื้นที่อย่าง
ละเอียด รู้ต้นตอของปัญหาที่แท้จริง รู้วิชาการบริหาร รู้แล้วต้องตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ รู้แล้วอย่ารู้คนเดียว ต้องรู้เป็นทีม ต้องให้ทุกคนรู้เท่าเทียมกัน
(วิชาการบริหารในเชิงพุทธ หมายถึง 1. บริเวณ ต้องสะอาดเรียบร้อย
2. บริภัณฑ์ มีเครื่องมือ 3. บริการ บริการต่อประชาชน 4. บริกรรม มีการอบรมแลกเปลี่ยนติดตามประเมินผล)

    (2) รัก หมายถึง ความรัก ที่เมื่อรู้แล้วจะต้องมีความรัก ซึ่งเป็นพลังที่จะทำให้
เกิดการปฏิบัติ
    (3) สามัคคี หมายถึง ต้องมีการปฏิบัติ ต้องร่วมมือกันทำ อย่าทำคนเดียว
ในการทำงาน ขอให้ทะลายกำแพงของทางราชการ ต้องเอา mission มาวาง
แบ่งกำลังคนตาม mission แม่ทัพต้องเคลื่อนคน จัดทัพตลอดเวลา อย่ายึดโครงสร้างซึ่งแข็งตัว
2.3 ให้ยึดหลักความพอเพียง ความพอดี สิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวพยายามผลักดันคือ “ความพอดี” การทำอะไรที่เกินพอ ส่วนที่
เกินจะไร้ประโยชน์ จึงต้องมีความพอเพียง ความพอดีในการใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพที่
ตนเองมีอยู่ ไม่ลอกเลียนแบบใคร ทุกอย่างเป็นทุนที่สามารถนำมาใช้ได้
2.4 ใช้วิทยาการจัดการ คือ คิด ทดลองทำ และติดตามผล
2.5 มีคุณธรรม จริยธรรม
2.6 การพัฒนา “เศรษฐกิจ” ต้องควบคู่ไปกับ “สังคม” การพัฒนาสังคมเป็oนามธรรม ซึ่งวัดได้ยาก ต้องใช้เวลาทำงานอย่างต่อเนื่องและจับให้ติด
2.7 ต้องรู้เขา รู้เรา และนำไปสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติในพื้นที่ โดยยึดหลัก
(1) ให้ยึด “ภูมิสังคม”
- ภูมิ คือ ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมในพื้นที่
- สังคม คือ คน ความนึกคิด ซึ่งแตกต่างกันตามวัฒนธรรม ค่านิยม
สภาพแวดล้อม
(2) การปรึกษาหารือ ผู้ว่าฯ CEO ต้องปรึกษาหารือกับทุกองค์กร จะทำงาน
คนเดียวไม่ได้


3. ความร่าเริง รื่นเริง คึกคักและคึกครื้น เป็นปัจจัยให้ทำงานประสบความสำเร็จ และให้มีความสุขในการทำงาน


....................................................................

หมายเลขบันทึก: 452115เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2011 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท