พันธุ์ถูกที่ วิธีถูกต้อง เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง


มันสำปะหลัง สีคิ้วโมเดล

เปิดตัวสีคิ้วโมเดลในงานวันเกษตรแห่งชาติที่ ม.สุรนารี กรมวิชาการเกษตรร่วมงานและนำกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีแนวใหม่มานำเสนอ โดยเรียกกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีแนวใหม่ซึ่งใช้ได้ผลในมันสำปะหลังที่ศวพ. นครราชสีมานี้ว่า สีคิ้วโมเดล ซึ่งนำทุนทางสังคมที่มีอยู่เดิมโดยเฉพาะการรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมทางเกษตร การสนับสนุนของผู้ประกอบการ มาเสริมสร้างศักยภาพให้แข็มแข็งขึ้น ด้วยความรู้ทางวิชาการ การเรียนรู้ร่วมกันผ่านการทำแปลงเรียนรู้ การทดลองและทดสอบด้วยตนอง ปัจจุบันมีเกษตรกรในเครือข่ายเรียนรู้ร่วมกันกว่า 200 ราย ในเรื่องที่เป็นปัญหาเฉพาะท้องที่นั้น ๆ เช่น การจัดการดินดาน การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การใช้พันธุ์ที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่ การให้น้ำ การอารักขาพืช เป็นต้น 

ในงานยังมีส่วนที่สนับสนุนกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสีคิ้วโมเดลด้วย เช่น ระบบสารสนเทศมันสำปะหลัง การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การพบปะพูดคุยกับเกษตรกรที่ร่วมงานในสีคิ้วโมเดล  งานนี้มีถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2554

อาศัยความสูงมาเป็นประโยชน์

บรรยากาศการจัดนิทรรศการ ก่อนจะออกมาสวยงาม

วันแรก ๆ ของการจัดงานกลุ่มนี้มาจากขุขันธุ์ ศรีสะเกษอยากได้พันธุ์ดีๆ ไปปลูก

ส่วนหนึ่งของโต๊ะพูดคุย ต่างก็เป็นเกษตรกรที่ร่วมงานกับศวพ.นครราชสีมา ยินดีผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกร หรือผู้สนใจที่มาร่วมงาน นอกจากโต๊ะเกษตรกรแล้วยังมีโต๊ะคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ตลอดงาน  จัดมุมสบายๆ ให้นั่งพักผ่อนพูดคุยบรรยากาศแบบกันเอง

คนเก่งของเราใส่ชุดดำ สาว 2 คนมาขอคำแนะนำปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี

 

หมายเลขบันทึก: 452093เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2011 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ผมสนใจ ครับ มีรายระเอียดมากกว่านี้มั้ย ครับ ผมอยู่ปทุมธานี ครับ

เดาไม่ถูกว่าสนใจอะไร คนปทุมคงไม่ปลูกมันสำปะหลังเนื่องจากพื้นที่เหมาะที่จะทำอย่างอื่นมากกว่า ถ้าสนใจงานเกษตรแห่งชาติก็เข้าไปที่ http://web.sut.ac.th/sutnew/kaset54/web/ ก่อนศึกษาว่ามีอะไรที่ตรงกับที่สนใจหรือเปล่าก่อน เนื่องจากอยู่ไกล แต่ถ้าเป็นเรื่องสีคิ้วโมเดล ก็แวะไปพูดคุยกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนคราชสีมา (ศวพ.นคราชสีมา)ได้ตลอดเพราะเขาเปิดหน่วยงานเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ทุกวัน

สีคิ้วโมเดล เป็นกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่ทำให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วขึ้น โดยความร่วมมือของเกษตรกร นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมทำให้สามารถสร้างเครืข่ายการเรียนรู้เรื่องระบบการผลิตมันสำปะหลังได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

I have one question krab, are there contracts between farmers and processors of cassava in thailand krab.

Not only that, but closely support by Nakornatsrima OARC. I invite one, whom responsed this model to share.

การลือกพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่เป็นการลดต้นทุนการผลิตไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลรักษาเพิ่มขึ้นเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะกับแต่ละพันธุ์ ชึ้งเป็นการเพิ่มต้นทุน

กระบวนการสีคิ้วโมเดล เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบการผลิตมันสำปะหลัง ไม่ใช่เกษตรกรทำแล้วผู้ประกอบการไม่ได้เห็นดีด้วย ดังนั้นกระบวนการนี้เกษตรกรทำแล้ว หน่วยวิชาการให้ข้อมูลสนับสนุน ฝ่ายปกครองรณรงค์ ฝ่ายส่งเสริมขยายผล ผู้ประกอบการให้การสนับสนุน และส่งเสริม เป็นการช่วยกันผลักดัน โดยการลงมือ ลงแรง ลงสมอง การพัฒนา ต่อยอด ขยายผลก็จะมีความต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่ใส่ไปไม่ได้ยัดเยียด ให้เกษตรกรตัดสินใจว่าปัจจัยไหนที่จะช่วยเพิ่มผลผลิต ในแปลงของตนเอง เพื่อนที่เห็นก็เอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ตนเองต่อไป

พันธุ์ดี เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำมาซึ่งผลผลิตสูง แต่ถ้าได้พันธุ์ดี แต่ขาดการจัดการ (ปุ๋ย วัชพืช น้ำ โรค และแมลง) ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลี้ยงลูกแต่ขาดการดูแล เพราะฉะนั้นได้พันธุ์ดี ก็ต้องดูแลรักษา ก็จะได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพ

ทำอย่างไรกระบวนการดีๆแบบสีคิ้วโมเดล จะเกิดขื้นได้ที่อุบล

now i am studying about how to decrease the cost of cassava production by contract farming krab, but i dont really know that there are any contracts between farmers and firms, i think contract farming can solve this problem, how do you think about this krab?

เริ่มจาก คูณลองใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร เพราะเรื่องที่คุณต้องการศึกษาต้องใช้ภาษาไทย

2 เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแหล่งข้อมูลซึ่งก็มีหลายที่สามารถเลือกได้ ขอให้ข้อมุลเพิ่มเติม ในวันที่ 11สิงหาคม 2554 จะมีการเรียนรู้เรื่องการระเบิดดินดานที่ ศวพ.นครราชสีมา อ สิคิ้ว จ,นครราชสีมา ช่วงเช้าหากมีเวลามาร่วมงานกัน หากมาที่นี้แล้วจะได้มีทำความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนหน่วยงานให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทุกวัน และยังมีเครือข่ายเกษตรกรที่สามารถแลกเปลี่ยนรู้กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ในเรื่องที่เขาสนใจหรือเป้นปัญหาในพื้นที่นั้น ๆ ทำให้เกิดเครือข่ายต่าง ๆ ด้วยงบประมาณไม่มากจากภาพเอกชน รัฐ กลุ่มเกษตรกร โคราชตัวอย่างท่ี่ดีหลายอย่างในเรื่องมันสำปะหลัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท