การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาตร์ : ทิศทางและแนวโน้ม


The Protection of Geographical Indications under the WTO’s Agreement

                  แนวคิดในการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เริ่มมีมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากข้อเรียกร้องของกลุ่มประชาคมยุโรปที่เห็นว่าการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นเรื่องทางรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์นั่นคือเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองทางการค้า จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดความพยายามที่จะให้มีกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ขึ้น อันเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาในการเจรจารอบอุรุกวัย ของภาคี GATT ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นองค์การการค้าโลก (WTO)

                  แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นและพัฒนาจนเป็นข้อตกลงหลายฝ่ายภายใต้ WTO ได้ เพราะการผลักดันจากกลุ่มผลประโยชน์ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะผู้ประกอบการทำธุรกิจค้าขายไวน์ และสุรา ที่ผลักดันตัวแทนของตนเองในการเจรจาทางการค้าในเวทีเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย ให้การรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indication) เป็นกฎกติกาทางการค้าแบบหลายฝ่ายในข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา หรือ TRIPs ของ WTO ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (WTO) ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ยังได้มีการผลักดันให้มีการเจรจาปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้มีการปรับปรุงความตกลง TRIPS ให้มีการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indications) ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เพื่อกำหนดมาตรการเยียวยา (Remedy)

                    ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างไม่ถูกต้องและบิดเบือน เช่น การใช้คำว่า ข้าวไทย หรือ Jasmine Rice หรือไหมไทยกับสินค้าที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทย เป็นต้น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง

rice2

                   ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อมโยง (Links) ระหว่างปัจจัยสำคัญสองประการ คือ ธรรมชาติและมนุษย์ กล่าวคือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว คุณลักษณะพิเศษนี้ อาจหมายถึง คุณภาพ ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะอื่นๆที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ

                   เป็นเหตุให้เกิดผลกระทบที่เกิดขึ้นในการค้าระหว่างประเทศ กล่าวคือ จะมีการปกป้องคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสินค้ามากขึ้น หากแต่ประเทศใดมีสินค้าที่เป็นจีไอมากก็ได้ประโยชน์มาก ประเทศใดมีน้อยก็ได้ประโยชน์น้อย กลุ่มประเทศหนึ่งที่จะต้องเสียประโยชน์อย่างมากเพราะสินค้าหลายอย่างที่เคยใช้ชื่อเลียนแบบของผู้อื่นไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เช่น สหรัฐอเมริกาทั้งที่อาจมีความสามารถที่จะผลิตสินค้าได้อย่างมีคุณภาพใกล้เคียงกันหรือดีกว่า เนื่องจากเป็นชนชาติเดียวกันที่ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่และได้นำเอาวิธีการทำสินค้าไปผลิตเพื่อขายทั่วไปเช่นกัน อีกทั้งยังมีชื่อเมือง ในทางปฏิบัติจึงอาจทำให้เกิดความขัดแย้งและการฟ้องร้องในประเด็นนี้มากขึ้น อีกทั้งไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคุ้มครอง ต่อมาหากกลุ่มผู้ผลิตลดคุณภาพสินค้าลง จะเกิดผลเสียแก่ผู้บริโภคโดยตรงด้วย

   จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดต่อไปว่า....

ระหว่างการคุ้มครองผู้ผลิต กับผู้บริโภค

อย่างไหนที่จะเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงก่อน

ด้วยเหตุที่ทุกคนก็ต้องการให้ตนได้รับความคุ้มครอง

หมายเลขบันทึก: 45203เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้รับการคุ้มครองแล้วนะค่ะ 

   ปัจจุบันทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ดำเนินการรับจดแจ้งไว้ค่ะ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับกรม 

      และทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยแล้วนะค่ะ สำรวจข้อมูลได้ที่ www.dip.org ค่ะ

  • ขอบคุณที่เข้ามาแนะนำค่ะ สมเป็นเจ้าถิ่นแห่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาจริง ๆ ...
  • กำลังคิดว่าจะปรับปรุงงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นพอดีค่ะ...เดี๋ยวจะเข้าไปดูตามที่แนะนำเพิ่มเติมมานะจ้ะ
  • แวะมาเก็บเกี่ยวความรู้
  • ได้กลับไปเยอะเลยค่ะ

  • ขอบใจที่แวะมาจ้ะ
  • แล้วจะไปเยี่ยมชมความรู้นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท