สะท้อนการจัดการคุณภาพจาก " เนยแข็ง"


มีคนเอาเนยแข็งไปเสมอ คุณล่ะ กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือเปล่า

 

สะท้อนการจัดการคุณภาพจาก"เนยแข็ง"

 

 

       หลังจากที่ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเคยผ่านสายตามาเป็นสิบปีแล้ว  แต่ไม่เคย

ดื่มด่ำ หรือซาบซึ้ง กระจ่างแจ้งเท่าตอนนี้  หรือจะเป็นเพราะอายุมากขึ้น ความคิดดีๆ

ถึงได้ผุดขึ้นมามากมาย  เข้าใจอะไรๆ หลายอย่างขึ้น หนังสือเล่มนั้นคือ  " ใครเอาเนย

แข็งของฉันไป " " Who Moves My Cheese ."  ซึ่งให้สาระทั้งในแง่การจัดการองค์กร

และการจัดการกับชีวิตตัวเอง  อ่านแล้วรู้ว่าเราควรจะทำอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีกลิ่น

ไอของคำสอนที่จรรโลงใจยิ่งนัก  จึงอยากแบ่งปันค่ะ 

 

           จากเรื่องดังกล่าวนี้ เราจะสามารถวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ตัวละครต่างๆ ได้แสดงให้

เห็น พร้อมทั้งแง่คิดต่างๆ ที่แฝงไว้ โดยใช้หลักการบริหารจัดการของการบริหารการ

เปลี่ยนแปลง ดังนี้ค่ะ 

เมื่อพวกหนูสนิฟฟ์และสเคอร์รี่ ที่มีสมองธรรมดาเหมือนหนูทั่วไปและไม่ได้เก่งเท่ากับ

พวกมนุษย์จิ๋ว แต่ก็มีสัญชาตญานที่ยอดเยี่ยมนั้นได้รับรู้ว่าเนยแข็งในสถานี น.นั้นเริ่ม

ลดลงไปเรื่อยๆ ก็ทำใจได้ว่าสักวันเนยแข็งก็จะต้องหมดลงไป พวกมันจึงมี

การเตรียมพร้อมอยู่เสมอโดยเอารองเท้าจ๊อกกิ้งแขวนไว้ที่คอ เพราะเมื่อถึงวันที่เนย

แข็งหมดไปจริงๆ พวกมันก็จะได้ออกวิ่งเพื่อหาเนยแข็งชิ้นใหม่ต่อไปได้โดยเร็ว เปรียบ

เหมือนกับ การจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

 (Organizational Change   Management) 

ซึ่งการจัดการองค์กรในสภาพปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ทั้ง

ภายในและภายนอกองค์การ ซึ่งการจัดการการเปลี่ยนแปลงองค์การ หากสามารถมีการ

วางแผนล่วงหน้าจะทำให้ลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการ

เปลี่ยนแปลง

อย่างเช่นในกรณีของโรงงานไทยสินฯ ที่รับจ้างผลิตสินค้า ให้กับแบรนต่างๆ

ของต่างประเทศ ซึ่งไม่เคยเตรียมความพร้อมสำหรับวันหนึ่งหากสินค้าที่ผลิตมีต้นทุนที่

สูงขึ้นกว่าประเทศอื่น ก็จะไม่มี order จากต่างประเทศก็จะทำให้โรงงานต้องปิดตัวลง

ดังนั้นหากโรงงานได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้ ก็อาจจะผลิตสินค้าที่

เป็นแบรนของตัวเองและออกขายเพื่อทำตลาด แทนที่จะผลิตตาม order จากต่าง

ประเทศเพียงอย่างเดียว ก็จะสามารถฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปได้


ในส่วนของมนุษย์จิ๋วสองคน คือ เฮมและฮอว์ ซึ่งมีสมองที่ชาญฉลาดกว่าพวกหนู แต่

มักใช้ความเชื่อและอารมณ์ของตนมาบดบังความจริงที่เกิดขึ้น ดังนั้นพวกเขาจึงไม่เคย

รับรู้มาก่อนแม้แต่น้อยว่าเนยแข็งในสถานนี น.นั้นเริ่มลดลงเรื่อยๆ จนหมด

กลับคิดว่ามีคนมาขโมยเนยแข็งของพวกเขาไป และไม่ยอมที่จะเริ่มต้นออกเดินทาง

เพื่อหาเนยแข็งชิ้นใหม่จนในที่สุดพวกเขาก็ต้องพบกับความหิวโหย

แต่ฮอว์ก็เริ่มตระหนักได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการที่เนยแข็งหายไปก็คือ พวกเขา

พยายามสร้างภาพเพื่อหลอกตัวเองอยู่เสมอว่าเนยแข็งนั้นไม่มีวันหมดไปอย่างแน่นอน

จึงไม่คิดเตรียมตัวพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ฮอว์ได้ปฏิบัติ

เพื่อแก้ไขปัญหาและปรับตัว คือการ นำหลักของกระบวนการเปลี่ยนแปลง 7 ขึ้น

มาประยุกต์ใช้ ดังนี้


1. เข้าใจถึงสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนแปลง คือ ต้องหาคำตอบให้ได้ว่า “ทำไมเราถึง

ต้องเปลี่ยนแปลง?” ฮอว์ได้ตระหนักและเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงและ

เกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าฮอว์ไม่เริ่มเปลี่ยนแปลง ฮอว์ก็จะอดตายได้ในที่สุด จนและมีปัญหา

ด้านการเงินอย่างนี้ตลอดไป

2. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ว่า “จะทำการเปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร?” ฮอว์ได้

กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนของการออกเดินทาง คือ เป้าหมายในการพบเนยแข็งชิ้นใหม่

และเอาชนะความกลัวที่มีอยู่ในใจของตน จากคำสบประมาทของเฮมที่ว่า

คงหาเนยแข็งที่ดีกว่าเก่าไม่ได้อย่างแน่นอน  เพื่อพบความสำเร็จ เพื่อมีรายได้มากขึ้น

เพื่อครอบครัวสุขสบาย

3.
สร้างและกำหนดทางเลือก คือ “การคิดหาวิธีหรือหนทางไปสู่เป้าหมาย” ฮอว์

เลือกที่จะเชื่อและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการออกตามหาเนยแข็งชิ้นใหม่ในเขา

วงกต ดีกว่าทนรอเนยแข็งชิ้นเดิมที่ไม่มีวันหวนกลับมา ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะได้สิ่ง

ใหม่ๆแน่นอน  ต้องไม่ทำตัวแบบเดิมๆ กล้าที่จะออกไปเริ่มต้น คิดฝันถึงสิ่งที่ดีกว่าเดิม

4. วางแผน ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่? ต้องมีการวางแผนโดย

วิเคราะห์ผลดี ผลเสีย และผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ฮอว์ได้วิเคราะห์ถึง

ผลดีที่จะเกิดขึ้นในการออกตามหาเนยแข็งชิ้นใหม่ ซึ่งแม้จะไม่รู้ว่าผลลัพธ์ของการ

ออกตามหาจะเป็นเช่นไร อาจจะต้องเหนื่อย และพบอุปสรรคมากมาย แต่ก็ยังดีกว่านั่ง

รออยู่เฉยๆ โดยที่ไม่ทำอะไรเลย เหมือนเช่น เฮม เพราะไม่ว่าทุกการกระทำจะเป็น

อย่างไร ต้องเจออุปสรรคแน่นอน

5. ปฏิบัติการตามแผน เพื่อไม่ให้เป้าหมายเบี่ยงเบน โดยติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

สื่อสารความคืบหน้า และปรับเปลี่ยนเป้าหมายและแผนตามสภาพความเป็นจริง เมื่อ

ฮอว์ได้กลับไปค้นหาเนยแข็งใหม่ในเขาวงกต ซึ่งมีความวกวนและซับซ้อนก็พยายาม

จดจำทางที่เคยไปแล้วไม่พบเนยแข็ง และไม่กลับไปยังทางเดิมเหล่านั้น เพื่อให้เจอกับ

เนยแข็งชิ้นใหม่อย่างรวดเร็ว

6. เสริมแรงให้กับความเปลี่ยนแปลง แม้การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็ยังไม่

สามารถสรุปได้ว่าจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง จึงต้องเสริมแรงให้กับสิ่ง

ใหม่ๆ เพื่อความคุ้นเคยและเคยชิน ในระหว่างที่ฮอว์กำลังหาเนยแข็งชิ้นใหม่ ก็เกิด

ความท้อแท้ขึ้นหลายครั้ง แต่สุดท้ายฮอว์ก็เปลี่ยนความท้อแท้นั้น เป็นความสนุกที่จะ

ได้พบเนยแข็งชิ้นใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นเพื่อสร้างให้

เกิดความสำเร็จในความเปลี่ยนแปลงนั้นสนุกกับการเปลี่ยนแปลง  สนุกกับการออกไป

ทำงาน  สนุกกับการเจอปัญหา มันคือครูของเรา  


7.

ประเมินผล คือการนำสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงมาเปรียบเทียบกับแผนปฏิบัติการ และ

นำไปปรับปรุงเพื่อเปลี่ยนแปลง เมื่อฮอว์ได้เจอเนยแข็งในสถานี ม.แล้ว ได้เจอกับหนู

ทั้งสองตัวที่มาถึงก่อนหน้านั้นแล้ว จึงคิดได้ว่าหากตนออกเดินทางมาก่อนก็จะได้เจอ

เนยแข็งชิ้นใหม่อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาฮอว์จึงตรวจจำนวนเนยแข็ง และออก

หาเนยแข็งในสถานีอื่น ๆ อยู่เสมอเพื่อความไม่ประมาทอีกต่อไป

 มององค์กร สม่ำเสมอ ยอมรับความจริงของการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  สร้างโอกาส

ใหม่ๆเสมอ


สิ่งที่ฮอว์ได้ทำตอนหลังแม้จะช้า แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลยเหมือนเช่น เฮม ที่ไม่

ยอมรับ และเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังสุภาษิตที่ว่า “ตั้ง

ต้นสายดีกว่าไม่ตั้งต้นเลย” แต่จะว่าไปสิ่งที่ฮอว์ได้นำมาใช้แก้ปัญหา

นั้น ก็ได้นำหลักธรรมทางพุทธศาสนาของเราเข้ามาใช้ ในเรื่องของการพยายามหา

สาเหตุของปัญหา และแก้ปัญหานั้นให้หมดไป

เหมือนเช่นการดับทุกข์ ก็อยากให้เพื่อนๆ และท่านผู้อ่านลองใช้วิธีเหล่านี้ดู อาจทำให้

ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่หมดไปก็เป็นได้ค่ะ

และจำไว้ว่า

 อย่ากลัวกับการเปลี่ยนแปลงเพราะความเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำไปสู่

สิ่งที่ดีขึ้นเสมอค่ะ

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้
มีคนคอยเอาเนยแข็งไปเสมอ

คาดหมายความเปลี่ยนแปลง
เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อเนยแข็งหายไป

เฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลง
จงดมเนยแข็งอยู่เสมอจะได้รู้ว่าเมื่อมันเริ่มเก่า

ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงให้รวดเร็ว
ละเนยแแข็งเก่าเร็วเท่าใด ก็จะพบเนยแข็งใหม่เร็วเท่านั้น

จงปลี่ยนแปลง
ออกตามหาเนยแข็ง

มีความสุขกับการเปลี่ยนแปลง
ดื่มด่ำกับการผจญภัยและมีความสุขกับรสชาติของเนยแข็งใหม่

พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และ สนุกกับการเปลี่ยนแปลงครั้งแล้ว

ครั้งเล่า
 

มีคนคอยเอาเนยแข็งไปให้เสมอ .... คุณล่ะ 

กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือเปล่า

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 451972เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2011 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 03:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะคุณรัตน์นรี 

         ยินดีต้อนรับเนยแข็งก้อนใหม่ค่ะ  แม้จะมีรสชาติแตกต่างกันไป  อร่อยบ้างไม่อร่อยบ้าง  แต่เราก็ต้องกินเพื่อความอยู่รอดของชีวิต  ใช่ไหมคะ  ขอบคุณค่ะสำหรับเรื่องดีๆนี้

ขอบคุณค่ะ ครูปู ยินดีที่ได้รู้จักนคะ

เนยแข็งก้อนนี้ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ

เพราะยังใหม่มากสำหรับวงการนี้

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ :D

สบายดีนะครับ พบชิว ออ หรือใครบ้าง ขอให้มีความสุขกับการทำงานและการเรียนนะครับ...

  • วิชานี้อาจารย์อะไรสอนครับ
  • เอารุ่นน้องปริญญาโทที่สุราษฯมาฝาก
  • http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/451711

เราเจอเพื่อนๆ พี่ มศว.มากมายในเฟสบุ๊คจ้า

แป๋ม ปู แจ๊ด หนึ่ง นก นก นก ยุ้ย เล็ก พี่แอน

พี่สร พี่จอย ...... ว่างก้อไปเจอกันบ้างนะ กลุม SWU

สบายดีค่ะ สนุกกะการเรียน

บริบทการจัดการคุณภาพ ดร.ประกอบ สนุกมาก

ขอบคุณสำหรับน้องฝากจ้า

อย่ากลัวกับการเปลี่ยนแปลงเพราะความเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำไปสู่

สิ่งที่ดีขึ้นเสมอค่ะ

หลายคนกังขา เพราะกลัวว่าเปลี่ยนแล้วแย่ลง เพราะลืมว่า แม้ผลยังไม่สำเร็จ เราก็ได้ "เรียนรู้" หนึ่งทางที่ไม่สำเร็จ แต่สักวันเราจะเจอทางที่สำเร็จ..จริงคะ แต่ต้องการ commitment

 

ขอบคุณค่ะคุณหมอ

สนุกกับการเปลี่ยนแปลงมันดีจริงๆเลยค่ะ

รู้สึกว่ามีชีวิตชีวา สดใสซาบซ่าจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท