Basic Qualitative Research 18-21 Jun 2006


งานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาด้านความคิด ความรู้สึก การรับรู้ การให้ความหมายและแรงผลักดัน ให้เกิดความคิดและพฤติกรรมของผู้คน

   ฉันมีโอกาสได้ไปอบรม การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทีมผู้ตรวจประเมินให้มีความรู้ ความเข้าในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งมีระยะเวลาการอบรม 4 ครั้ง 1.)Basic Qualitative Research 18-21 Jun 2006  2.)Fieldwork 22-28 Jul. 3.)Data Analysis 7-9 Sept  4.)Finding Dissemination 18-21 Sept  วิทยากร คือ อาจารย์นายแพทย์ทวีศักดิ์  นพเกษร แค่เห็นตารางการอบรมก็รู้สึกสนใจมาก และดีใจที่หัวหน้าอนุญาตให้ไปอบรมครบทุกครั้ง <p>  18-21 Jun 2006  ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม </p><p>  วันที่ 19  Jun มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด 23 คน มาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นบุคคลากรสาธารณสุขที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท บรรยากาศเป็นวิชาการมาก ๆ  เมื่อเริ่มเรียนก็รู้สึกอึดอัด รู้สึกเหมือนไม่รู้อะไรเลย ไม่ค่อยได้เรียนอะไร เหมือนจะเข้าใจแต่ก็ยังมีข้อสงสัยตลอดเวลา อาจารย์ให้อ่านงานวิจัย สอนนิด ๆ หน่อย ๆ แล้วก็เข้ากลุ่มฝึก discuss กันแทบตาย ผลที่ออกมาก็ยังไม่เป็นที่พอใจ  นอกจากนั้น ยังมีนัดเรียนต่อ 19.00-21.00 น. สิ้นสุดวันแรก รู้สึกท้อมาก เฮ้อ แต่ก็ยังดีห้องพักกับห้องจัดอบรมอยู่ที่เดียวกัน ฝนก็ตกพรำ ๆ กำลังจะขึ้นนอนแล้ว แต่เห็น”ชมรมพยาบาลชุมชน” นำหนังสือมาขาย เล่มเล็ก ๆ ขนาดครึ่งหนึ่งของกระดาษ A4 รูปเล่มน่าสนใจ ชื่อ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1 เขียนโดย นพ.ทวีศักดิ์  นพเกษร เล่มละ 250 บาทคิดว่าซื้อไว้หนุนหัวนอนซักเล่มก็ดีเหมือนกัน </p><p>   นอนไม่หลับลองเปิดอ่านเล่น ๆ ปรากฏว่าวางไม่ลง หนังสือเล่มนี้อ่านแล้วเข้าใจลึกซึ้งและรู้ความสำคัญของคำว่า “งานวิจัยเชิงคุณภาพ” ซึ่งศึกษาด้านความคิด ความรู้สึก การรับรู้ การให้ความหมายและแรงผลักดันให้เกิดความคิดและพฤติกรรมของผู้คน และตัวนักวิจัยเองป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวนักวิจัยต้องเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ จึงจะทำให้งานวิจัยนั้นมีคุณภาพได้รับการยอมรับและเป็นที่เชื่อถือได้ นักวิจัยจึงต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห็ การถามเชิงระบบและทักษะเชิงสังคม จิตวิทยาในการพัฒนาตนเอง และการทำความเข้าใจสภาวะผู้อื่น หรือการพัฒนาและเรียนรู้ตนเองเพื่อให้เข้าใจจิตใจของผู้อื่น</p><p>  และอาจารย์ประเวศ วะสี ให้คำนิยมไว้ว่า กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ คือกระบวนการเรียนรู้และทางแห่งการพัฒนาตนเองของบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคม หรือทางแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น</p><p>  ดังนั้นจึงเริ่มเข้าใจที่อาจารย์ทวีศักดิ์ สอนมาทั้งวัน</p><p align="center"></p><p align="left">กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ วิธีการอันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน(Transformation) ตั้งแต่ในตัวท่านเอง ในองค์กร ชุมชน และสังคม หรือทางแห่งการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น</p><p align="center"></p><p align="center"></p><p align="center"></p><p align="center">เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างสมมติฐาน/ทฤษฏี/คำอธิบาย</p><p align="left">ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ</p><ul>

  • เป็นการตั้งคำถาม ทำไม อย่างไร และภายใต้สิ่งแวดล้อม ปัจจัยเงื่อนไขใด สิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น
  • แสวงหาความเข้าในในเรื่องนั้นในระดับลึก
  • มองเห็นความเป็นทั้งหมด(holistic) ของปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์
  • สืบค้น(explore) และค้นพบ (discover)
  • ทำให้เข้าในมุมมองจากภายใน ของกลุ่มที่นักวิจัยต้องการศึกษาทั้งด้านความหมายในการตัดสินใจและการกระทำของเขา
  • ใช้วิธีการปลายเปิด (open-ended) และการตีความ(interpret)
  • ยืดหยุ่นมากกว่ายึดกรอบ
  • ประเด็น วิธีการ เทคนิก ผุดบังเกิดขึ้นระหว่างการเก็บข้อมูล มากกว่าการเตรียมการล่วงหน้า
  • กลุ่มที่ต้องการศึกษาเป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญ (active participant) ในกระบวนการวิจัยมากกว่าเป็นผู้ถูกศึกษา(subject)
  • ผู้วิจัยเป็นเครื่องมือในกระบวนการวิจัย ผู้ร่วมเรียนรู้และร่วมตีความกับกลุ่มเป้าหมาย
  • </ul><p>อ่านทบทวนกลับไปกลับมาหลายรอบ เริ่มเข้าใจ และเกิดความต้องการที่จะเรียนมากขึ้น </p>

    หมายเลขบันทึก: 45193เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)
    อ้อยได้เรียนรู้ แล้วก็สังเคราะห์ นำมันมาใช้ให้ได้จริงๆในการทำงานนะ ให้การวิจัยคุณภาพ ฝังกลมกลืนอยู่ในงานของเรา แล้วตัวอ้อยจะเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่มีคุณภาพ
         ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ให้ถือว่าตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือด้วย น่าสนใจมากครับในประเด็นนี้ ที่จะต้องเตรียมตัวและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ว่านี้ด้วย
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท