ตลิ่งสูงซุงหนัก


วรรณกรรมอำพราง (เล่าเรื่องหนังสือดีมีคติสอนใจ)

         หนังสือเรื่องตลิ่งสูงซุงหนัก โดย นิคม  รายยวา  รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์ ประจำปี ๒๕๓๑)

          “คำงาย” = ชายคนซื่อ  ผู้ไม่ยอมให้อะไรมายิ่งใหญ่กว่าความผูกพันระหว่างคนกับช้าง  ผู้ที่ได้เรียนรู้     สัจธรรมของความเจริญ  สัจธรรมของความเป็นมนุษย์ด้วยความเจ็บปวดของตนเองและความตาย

          “มะจัน” = หญิงสาวผู้ทิ้งความหรูหรามาสู่บ้านไร่ริมธาร  ผู้งดงามด้วยความคิดคำนึงและภรรยาที่ดีของสามี

          “มนุษย์” =  ผู้ชอบรังแก  ชอบล้างผลาญชีวิต  เห็นประโยชน์ของตนมากกว่าสิ่งอื่น ใด ชอบซาสิ่งไม่มีชีวิตมากกว่าสิ่งมีชีวิต

          “พลายสุด”  =  ชื่อเต็มว่า “พลายสุดสง่า”  แต่เนื่องจากถูก“มนุษย์”ขโมยตัดงาทั้งสองข้างไปความสง่าได้สูญหายไปพร้อมกับใบเลื่อยใบนั้น  จึงทำให้ไม่มีใครเรียกว่า “สุดสง่า” ทั้งที่เมื่อก่อนนั้นมันสง่างามยิ่งนัก  มีงาขาวเด่น  มันอวบอ้วนและยาวงอน  ชื่อของพลายสุดจึงกลายมาเป็น “พลายกุด” ตามที่ถูกเรียกขาน

          เรื่องนี้เป็นการกล่าวถึงความผูกพันระหว่างคนคนหนึ่งกับช้างตัวหนึ่ง  เขาและมันเติบโตมาพร้อมกัน  บ่อยครั้งที่ทั้งสองคุยกัน  ช้างเจ็บก็เหมือนคนเจ็บ

          นำเสนอถึงมนุษย์ใจทรามผู้ฉีดยาสลบแล้วใช้เลื่อยไฟฟ้าตัดงาช้างลึกจนบาดเข้าไปถึงเนื้อ แผลอักเสบ  ทรมานและสูญเสียความสง่างาม  สูญเสียความร่าเริง

          มนุษย์ที่ชอบยิงสัตว์แล้วนำมาสตัฟฟ์ เขาถือว่าการฆ่าสัตว์ต่างๆเป็นเรื่องธรรมดา การมีสัตว์สตัฟฟ์แปลกๆแสดงถึงศักยภาพของตนเอง

          มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน  จะให้ช้างลากซุงให้ได้  ทั้งตี  ทั้งแทง  โดยไม่คำนึงเลยว่า  ขณะนั้นช้างอยู่ในสภาพใด  ผลประโยชน์เท่านั้นที่มนุษย์รับรู้

          สรุปสุดท้ายคนบนหลังช้าง  ซุงที่ช้างลากกลิ้งตกจากตลิ่ง  คนถูกซุงทับจมดินตายคาที่  ช้างและซุงพันกันด้วยโซ่  ทำให้ตีลังกาม้วนลงไปคู่กันหลายตลบ  ช้างตายโดยที่มันไม่มีความผิด  มันพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะลากซุงท่อนใหญ่ท่อนนั้น...

          “ไม่มีช้างตัวไหนยอมใครจริงๆ หรอกถ้าไม่มีตะขอ”

          “รูปปั้นไม่มีทางเหมือนคนได้เลย  เพราะมันเป็นซากไม่มีชีวิต  แต่คนเหมือนรูปปั้นเพราะบางทีคนคล้ายซาก ไม่มีจิต  ไม่มีใจ”

         “ฉันเคยเดินทางไกล ได้พบเห็นอะไรหลายอย่าง  แต่ของใกล้ที่มีความดีกับฉันมากที่สุด  กลับมองไม่เห็น  เหมือนไม่รู้จักมันเลย”

          “บางทีคนเราก็ทำอะไรได้มากกว่าที่คิด  และเป็นอะไรได้มากกว่าที่เห็น”

          “คนที่ไม่รู้ยังพอเข้าใจกันได้  แต่คนที่ไม่รู้แล้วไม่รู้ว่าตัวไม่รู้นั้นพูดกันยาก”

          “ทุกคนมีช้างของตัวเอง  ของใครของมันต่างคนต่างแกะ  ทำแทนกันไม่ได้”

          “สัตว์พวกนี้เคยมีชีวิตมาแล้วทั้งนั้น  มีเลือด เนื้อ จิตใจ มันถูกยิงตายแล้วคนก็จะทำซากมันให้คล้ายมีชีวิต  ควักไส้พุงมันออกปลิดหัวใจมันทิ้งแล้วมองหาชีวิตจากซากของมัน”

          “พอลืมตาขึ้นตอนเช้า  จะพบกับเวลาจำนวนมากมายกองอยู่กลางแสงแดด”

          “ฉันมัวรักษาซากที่ไม่มีชีวิต  ไม่เคยคิดรักษาชีวิตที่อยู่ในซากเลย”

          “แกก็ลากซุง  ทุกคนกำลังลากซุงอยู่ทั้งนั้น  แต่เป็นซุงที่มองไม่เห็น”

หมายเลขบันทึก: 451914เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2011 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • หนังสือนี้เคยอ่านค่ะ
  • เป็นหนังสือที่ครูมอบหมายให้นักเรียนรวมทั้งลูกสาว (ปราณสลิล) อ่านนอกเวลา แม่เห็นวางอยู่เลยหยิบมาอ่านรวดเดียวจบ จำเรื่องไม่ได้แล้วค่ะ รู้แต่ว่าอ่านเพลินดี
  • ขอบคุณค่ะที่ทบทวนความทรงจำ 

เคยอ่านเช่นกัน เรื่องสั้น ยุคก่อนอ่านง่ายแทรกด้วยข้อคิดดีๆ

ขอบคุณที่ทำให้นึกถึงวรณกรรมดีๆ

อ่านไปนานหลายปีจำรายละเอียดไม่ค่อยจะได้

แต่สรุปแบบรวบยอดได้ว่า ซุงที่ทุกคนลากไป คือ กิเลส ใหญ่ 3 ตัวนั่นเองครับ

รู้แต่ว่าชอบสำนวนเล่มนี้ครับผม

ไม่รู้ว่าคนเขียนหายไปไหน ไม่เห็นรายชื่อหนังสือของเขาอีกเลย

ในระยะหลัง

...ทุกคนๆ....เป็นทาส..ตัวเอง....(เลิกไม่ได้..ทาส..ชนิดนี้)...อิอิ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท