พัฒนาการของทฤษฎีการบริหาร(2)


ทฤษฎีการบริหาร

 

พัฒนาการของทฤษฎีการบริหาร  (2)

          การบริหารองค์การ  :  การปฏิบัติงานขององค์การที่มุ่งไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย  ช่วยกำหนดวัตถุประสงค์  เป้าหมายของงานบุคลากร  กลไกการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม  องค์การต้องมีกิจกรรมการดำเนินงานและเป้าหมายเป็นหลัก  แตกต่างกันไปตามลักษณะขององค์การในส่วนปลีกย่อย

          ทฤษฎีการบริหาร  :  มีวิวัฒนาการเป็นขั้นตอนต่าง ๆ  ระหว่างศตวรรษที่  ๒๐

          การบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์  (Scientific Management)  :  ยุคต้นสุดในปี  1911  ของเฟรดเดอริค  ดับบริว  เทเลอร์  (Frederic W. Taylor)  บิดาแห่งการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์  (นำวิธีการ/ทำวิธีการบริหารให้เป็นวิทยาศาสตร์)  สรุปว่า

          ๑.  ความเป็นเลิศของการบริหารอยู่ที่การรู้อย่างแน่นอนว่าเราต้องการให้คนทำอะไร  ดูแลว่าเขาได้ทำงานอย่างดีที่สุด  ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด

          ๒.  ไม่ควรนำแผนการบริหารในระยะยาวซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจทั้งนายจ้าง – ลูกจ้าง  มาใช้

          ๓.  คนงานต้องการค่าจ้างสูง  นายจ้างต้องการค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ  :  แรกเริ่มสนใจการวิเคราะห์วิธีการทำงาน – อัตราการทำงาน  เขียนหนังสือการบริหารโรงงาน  (Shop - Management)  กล่าวถึง  วิธีการจัดองค์การ  การกระตุ้นให้คนทำงาน  ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ  หนังสือหลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์  (Principle of Scientific Management)  เพื่อต้องการชี้ว่าประเทศชาติประสบความเสียหายทางเศรษฐกิจเนื่องจากการบริหารไม่มีประสิทธิภาพ  แก้ไขโดยจัดระบบการบริหาร  สร้างการบริหาร/การจัดการให้เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น

          หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์

          ๑.  หลักเรื่องเวลา  (Time Study Principle)  ผลผลิตของการทำงานใช้เวลาเป็นเครื่องตัดสิน  มีเกณฑ์มาตรฐานเวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ละอย่าง/ประเภท

          ๒.  หลักการกำหนดหน่วยค่าจ้า  (Price Rate Principle)  ค่าจ้างเหมาะสมกับผลงานโดยยึดหลักเรื่องเวลา  ทำงานเหมาะกับความสามารถของตน

          ๓.  หลักการแยกงานวางแผนออกจากงานปฏิบัติ  (Separation of Performance Principle)  ฝ่ายบริหารทำงานวางแผน  ประสานงาน  วางแนวทางการทำงานบนพื้นฐานหลักการของเวลา  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการผลิต  การปฏิบัติงานสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์มีระบบ  วิธีการเหมาะสม

          ๔.  หลักการทำงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  (Scientific Methods of Work Principle)  ฝ่ายบริหารรับผิดชอบกำหนดวิธีการทำงานที่เหมาะสม – ดีที่สุดมาใช้  ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติให้มีความรู้ความสามารถอย่างเหมาะสมในการทำงานตามเทคนิคนั้น ๆ  เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด

          ๕.  หลักการควบคุมงานโดยฝ่ายบริหาร  (Managerial Control Principle)  ฝึกอบรมการบริหารให้ฝ่ายบริหารบนหลักการวิทยาศาสตร์  ประยุกต์ใช้จัดการ  ควบคุมฝ่ายปฏิบัติให้เกิดประโยชน์

          ๖.  หลักการจัดระเบียบการปฏิบัติงาน  (Functional Management Principle)  ควรนำหลักบริหารแบบทหารมาใช้  จัดองค์การให้เหมาะสม  เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  ประสานสัมพันธ์กันระหว่างแผนกต่าง ๆ  ในหน่วยงาน  ยึดความเคร่งครัดในระเบียบวินัย  ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน  และกล่าวถึง

                   (๑)  การทำงานในหน้าที่หลักแต่ละวัน  (A Large Daily Task)  ระบุการทำงานประจำอย่างชัดเจน  มีใบสั่งงาน  ใช้เวลาปฏิบัติงานเต็มที่  งานประสบความสำเร็จ

                   (๒)  การทำงานที่มีสภาวะมาตรฐาน  (Standard Conditions)  เช่น  มีเครื่องมือเครื่องใช้ปฏิบัติงาน

                   (๓)  การได้รับค่าจ้างสูงเมื่อทำงานสำเร็จ  (High Pay for High Success)

                   (๔)  การทำงานที่บกพร่องและก่อให้เกิดการสูญเสีย  :  ผู้ปฏิบัติชดใช้  ไม่ได้รับค่าตอบแทน  (Loss in Case of Failure)

                   (๕)  ความเชี่ยวชาญในองค์การขนาดใหญ่  (Expertise in Large Organization)  ที่มีความสลับซับซ้อน

          บอบบิท  (Bobbit)  :  นักการศึกษาควรประยุกต์วิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้กำหนดมาตรฐานผลผลิตทางการศึกษา  เทคนิค/วิธีการเฉพาะในการสร้างผลผลิต  (วิธีสอน)  คุณสมบัติผู้ผลิต  (ครู)  การฝึกอบรมผู้ทำฝึกอบรมผู้ทำการผลิต  (พัฒนาครู)  แจ้งรายละเอียดความรับผิดชอบงานที่ต้องทำ  (กำหนดหน้าที่)  เกณฑ์มาตรฐานของงานที่ทำให้ได้  (คุณภาพ)  วิธีคัดคนทำงาน  (บรรจุแต่งตั้ง)  วัสดุอุปกรณ์ทำงาน  (เทคโนโลยีการสอน)

          จุดอ่อนหลักการทำงานเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์

          ๑.  มองคนงานเป็นเครื่องจักร  พยายามทำลายให้ทำงานให้ได้ผลผลิตมากที่สุด

          ๒.  ไม่มองการบริหารในแง่พฤติกรรมศาสตร์  ไม่สนใจตัวคนงาน

          ๓.  ปฏิเสธความร่วมมือในการทำงานระหว่างฝ่ายบริหาร – ฝ่ายคนงาน  คนงานต้องการแรงจูงใจ  ทำงานได้ดีถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายบริหาร

          เวลาและการและการเคลื่อนไหวของเทเลอร์  อธิบายวิธีการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน  :  มือสองข้างเริ่ม – หยุดเคลื่อนไหวพร้อมกัน  แขนสองข้างเคลื่อนไหวพร้อมกัน  มือเคลื่อนไหวนิ่มนวลต่อเนื่องไม่ว่าทิศทางใด  เครื่องมือปฏิบัติงาน  วัสดุอุปกรณ์  สิ่งของเครื่องใช้อยู่ใกล้ตัวหยิบฉวยได้สะดวกรวดเร็ว – จัดรวมไว้ด้วยกันเป็นระบบสะดวกนำมาใช้

          หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์  :  ถูกวิจารณ์ว่าไม่ให้ความสำคัญต่อตัวแปรทางจิตวิทยา  สังคมวิทยา  แรงจูงใจ  ความพึงพอใจในงาน – บรรยากาศขององค์การ  :  มองคนเป็นเครื่องจักร  (Man as Machine)  ทำงานให้ได้ผลผลิตสูง  การแก้ไขความเครียดของงานไม่เกี่ยวกับงาน – องค์การ  :  ได้รับยกย่องว่างานทั้งหลายสามารถจะปฏิบัติให้ลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการบริหารที่มีระบบระเบียบ  สมเหตุสมผลตามหลักการเชิงวิทยาศาสตร์

          หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ของเฮนรี่  ฟาโยล  (Henri Fayol)  :  สนใจตัวผู้บริหาร  หน้าที่งานที่ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติโดยมีหลักที่ยึดถืออยู่เป็นประจำ  มุ่งชี้ให้เห็นหน้าที่สำคัญของนักบริหาร  และหลักบริหาร  :  มีเป้าหมายตรงกับเทเลอร์ในการกำหนดวิธีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

          ลักษณะสำคัญ  :  ผู้บริหารควรรู้จักคนงานของตนเป็นอย่างดี  ต้องกำจัดความไร้สมรรถภาพให้หมดไป  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การกับคนงาน  เป็นตัวอย่างที่ดี  สรุปผลงานองค์การเป็นระยะ ๆ  และใช้แผนภูมิแสดง  จัดประชุมหัวหน้างานระดับผู้ช่วย  ให้เข้าใจตรงกัน  ก่อให้เกิดความสามัคคี  พลังความคิดริเริ่ม  ความจงรักภักดีของคนงานต่อองค์การ

          หลักการบริหารของฟาโยล  มี  ๑๔  ประการ

          ๑.  การแบ่งงานกันทำ  (Division of Work)  ตามแต่ละฝ่ายงาน  ส่งเสริมความสามารถ  มั่นใจ  ถูกต้องแมนยำ  ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น

          ๒.  อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ  (Authority and Responsibility)  อย่างเพียงพอให้ปฏิบัติงานได้ด้วยดี

          ๓.  ความมีระเบียบวินัย  (Discipline)  มีการออกกฎ  ระเบียบให้เคารพเชื่อฟัง

          ๔.  ความมีเอกภาพในการบังคับบัญชา  (Unity of Command)  จากผู้บริหารเพียงคนเดียว

          ๕.  เอกภาพในการอำนวยการ  (Unity of Direction)  ในกลุ่มงานควรมีหัวหน้าในการดำเนินการเพียงคนเดียวภายใต้แผนงาน  เป้าหมายที่กำหนดไว้

          ๖.  ประโยชน์ส่วนบุคคล  (คนใดคนหนึ่ง/’)  ถือว่าเป็นรองจากประโยชน์ส่วนตัว  (Subordination of Individual Interests to General Interests)  ผู้บริหารทำเป็นตัวอย่างให้คำปรึกษาแนะนำร่วมมือกับผู้ปฏิบัติงานทุกคนอย่างทั่วถึง

          ๗.  การให้ผลประโยชน์ตอบแทน  (Remuneration)  เช่น  เงินเดือน  ค่าจ้าง  ถือหลักความยุติธรรม  คำนึงถึงค่าครองชีพ  สภาวะเศรษฐกิจ  ความต้องการแรงงาน  สถานภาพผู้ร่วมงาน  (ความพอใจทั้งนายจ้าง/ลูกจ้าง)

          ๘.  การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง  (Centralization)  มอบอำนาจให้ใครสามารถควบคุม  บังคับบัญชา/สั่งการได้  เหมาะสมตามสถานการณ์ว่าควรจะกระจายอำนาจ  (Decentralization)  หรือรวมอำนาจ  ขึ้นกับลักษณะองค์การ  บุคลิกภาพส่วนตัว  คุณค่าทางจริยธรรมของผู้บริหาร  ความซื่อตรงผู้ร่วมงาน 

          ๙.  สายการบังคับบัญชา  (Chain of Common or Scalar Chain)  ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างผู้บังคับบัญชา – ผู้ใต้บังคับบัญชา  มีช่วงลดหลั่นเหมาะสม

          ๑๐.  คำสั่ง  (Order)  สั่งการเป็นคำสั่ง / กฎระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อทราบ  ปฏิบัติตาม

          ๑๑.  ความเสมอภาค  (Equity)  หลักความยุติธรรมที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน  ทั้งมีเมตตากรุณา  จงรักภักดีโดยเสมอภาค

          ๑๒.  ความมั่นคงในหน้าที่การงาน  (Stability of Tenurs of Personnel)  ดำรงอยู่  ใช้เวลาเรียนรู้ทำงานให้ได้ดี

          ๑๓.  ความคิดริเริ่ม  (Initiative)  ส่งเสริมการแสดงความคิด  ร่วมวางแผน  ร่วมปฏิบัติ  ได้เป็นผู้มีประสบการณ์  พอใจผู้ร่วมงานทุกฝ่าย  :  เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้บริหารทางธุรกิจ

          ๑๔.  ความสามัคคี  (Esprit de Corps) 

          ส่วนสำคัญขั้นพื้นฐาน  (The Elements of Management)  :  ๕  ประการ

          ๑.  การวางแผน  (To Plan)  ศึกษาวิเคราะห์อนาคต  วางแผนปฏิบัติงานล่วงหน้า

          ๒.  การจัดหน่วยงาน  (To Organize)  ด้านคน  วัสดุสิ่งของ  เพื่อปฏิบัติการตามแผน

          ๓.  การบังคับบัญชา  (To Command)  ควบคุมบังคับบัญชาให้ปฏิบัติตามหน้าที่

          ๔.  การประสานงาน  (To Coordinate)  ประสานกิจกรรมต่าง ๆ  ให้ดำเนินตามเป้าหมาย

          ๕.  การควบคุม  (To Control)  ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามระเบียบ  ข้อบังคับ  กฎเกณฑ์

          นำหลักฟาโยลมาใช้ในการบริหารธุรกิจ – บริหารทั่วไป  :  ช่วยให้มีการจัดระบบระเบียบเชิงการจัดการ  ปรับจากเห็นคนเป็นเครื่องจักร  เป็นใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ให้ช่วยคิด  ช่วยวางแผน  ช่วยทำ

          หลัก  POSDCORB  ของลูเธอ  กูลิค  และ  ลินแดล  เออร์วิค  (Luther Gulick and Lyndall Urwick)  ได้แก่  Planning  (การวางแผน)  Organizing  (การจัดองค์การ)  Staffing  (การจัดคนเข้าทำงาน)  Directing  (การสั่งการ)  Co – ordinating  (ความร่วมมือ)  Reporting  (การรายงาน)  Budgeting  (งบประมาณ)  :  นำหลักฟาโยลมาเพิ่มเติม

          การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา

          บอบบิท  (Bobbit)  :  ในปี  1913  เขียนบทความ  The Supervision of City Schools  ประยุกต์หลักทั่วไปของปัญหาโรงเรียนในเมือง  ให้คำแนะนำการประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ 

          ๑.  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ตั้งมาตรฐานที่ต้องการเกี่ยวกับผลผลิตของโรงเรียน

          ๒.  วิธีการผลิตตั้งอยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์

          ๓.  กำหนดคุณสมบัติผู้ผลิต  (ครู)  ฝึกอบรมอย่างเหมาะสมตามแนวทางวิทยาศาสตร์

          ๔.  ชี้แจงมาตรฐานที่กำหนด  วิธีการว่าจ้าง  การใช้เครื่องมือต่าง ๆ  ให้ผู้ผลิต  (ครู)

          ๕.  เตรียมบุคลากรทางการศึกษาให้มีมาตรฐานก่อนปฏิบัติงาน

          คับเบอร์เลย์  (Cubberley)  :  ยึดแนวบริหารของเทเลอร์  :  หลัก  ๓  ประการ  ของผู้ตรวจการศึกษา

          ๑.  การจัดองค์การ  :  ดำเนินงานในโรงเรียน  วางนโยบายให้โรงเรียนปฏิบัติ

          ๒.  การบริหาร  (Execution)  ในสิ่งที่โรงเรียนดำเนินการ

          ๓.  การนิเทศ  (Supervision)  การดำเนินงานในโรงเรียน  ความรู้ทางวิชาชีพ  ความหยั่งเห็น  ต้องปรากฏในรูปงานประจำวันของครู – นักเรียน  :  คุณสมบัติผู้ตรวจการศึกษา  (หนังสือ  Public School Administration)  :  แจ่มใส  รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา  ซื่อสัตย์  ไม่ดูถูกคนอื่น  มีวินัยในตัวเอง  เป็นมากกว่าครูของครู  มีสำนึกที่ดี  ทำงานสำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยใช้คนอื่นทำ  มีเวลาสังเกต  ศึกษา  คิดวางแผน  ให้คำแนะนำ  แนะแนวทาง  เป็นผู้นำ

คำสำคัญ (Tags): #การบริหาร#ทฤษฎี
หมายเลขบันทึก: 451690เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2011 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมมาก ๆ ครับ ขออนุญาตนำไปทำเป็นรายงานส่งอาจารย์นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท