20 ก.ค. 54......วันที่รอคอย


อาจารย์มานิเทศน์แล้ว

วันนี้มีสอนนักเรียนชั้น ม.1/7 สอนเรื่องการจำแนกประเภทของสารโดยใช้ขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์ มีสอนสองชั่วโมง และที่สำคัญวันนี้อาจารย์เข้ามานิเทศน์ด้วย ความรู้สึกมันตื่นเต้น มันกลัวสุด ๆ กลัวพูดผิด กลัวสอนผิด กลัวเด็กไม่ฟัง โอ้!

ภาพการทดลองของนักเรียนเรื่องการจำแนกสารโดยใช้ขนาดอนุภาคเป็นเกณฑ์ โดยใช้กระดาษเซลโลเฟนและกระดาษกรอง พบว่า น้ำผสมสีสามารถผ่านรูพรุนของกระดาษเซลโลเฟนและกระดาษกรองได้ ส่วนน้ำนมผ่านกระดาษกรองได้แต่ไม่ผ่านกระดาษเซลโลเฟน และน้ำแป้งไม่สามารถผ่านได้ทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน แสดงว่าน้ำผสมสีเป็นสารละลาย น้ำนมเป็นคอลลอยด์ และน้ำแป้งเป็นสารแขวนลอย

วันนี้โดนอาจารย์นิเทศน์คอมเม้นท์ว่า เวลาสอนดูเหมือนสอนใจดีเกินไปนักเรียนด้านหลังห้องไม่ตั้งใจฟัง ให้เปลี่ยนสรรพนามที่ใช้เรียกนักเรียนจาก ลูก เป็น นักเรียนแทน ในขณะที่ทำการทดลองเมื่อมีการถามนักเรียนถึงผลที่เกิดขึ้นแล้ว ควรอธิบายต่อได้เลยว่ามันเกิดแบบนั้นเป็นเพราะอะไร ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้อธิบายแค่ตอนสรุปผลการทดลองเท่านั้น แผนไม่ต้องใส่รายละเอียดมาก เพราะมีอยุ่ในใบงาน ใบความรู้อยู่แล้วการแต่งกายดีแล้วเหมาะสมเรียนบร้อยดี เวลาสอนเสียงดังฟังชัด คราวต่อไปขอให้ลองปรับปรุงตามที่อาจารย์ด้แนะนำดู

หมายเลขบันทึก: 451661เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2011 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบ Comment ๑ ข้อ คือ เมื่อผลเกิดขึ้นแล้ว ให้อธิบายทันทีเลย

แบบนี้เด็กจะเกิดความเข้าใจทันที ไม่ต้องเรียบเรียงใหม่เวลาสรุปผลไงครับ ;)...

สวัสดีคะ อ.องคุลิมาล

ขอบคุณคะที่ให้กำลังใจ

สู้ ๆ คะ (บอกตัวเอง)

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท