ชีวิตอินเทอร์น : หนทางของความสำเร็จ


เติบโตจากข้อดีของตนด้วยตนเอง

          วันนี้ (๑๗ ส.ค. ๔๙) มาขอลาอาจารย์กลับไปที่โรงเรียนครึ่งวัน เนื่องจากทางโรงเรียนจะมีการประชุมเรื่องการจัดทำหนังสือแนะนำโรงเรียนเล่มใหม่ ตอนที่ไปลาอาจารย์ดิฉันได้เรียนปรึกษาเรื่องแนวทางการนำความรู้ความคิดที่ได้จากการเข้ามาศึกษาที่สำนัก สคส.ไปพลิกแพลงใช้ต่อที่โรงเรียนด้วย

           ดิฉันนำเสนอว่าอยากจะเข้าไปช่วยให้ทุกคนได้ตระหนักว่า หากเราต้องการการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร  องค์กรต้อง change the way we work*  และ ทุกคนต้อง change the way we work ourselves* ก่อน ซึ่งทั้ง ๒ ประเด็นนี้ เป็นวิธีที่ปิ๊ง! จากการได้เข้าไปฟังวิธี"ทำ KM แบบไม่ยึดติดกับ KM" เพื่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของบริษัทนิสสัน ประเทศญี่ปุ่น ที่จะมาเล่าสู่กันฟังในตอนหน้า

           อาจารย์วิจารณ์เสริมว่า นอกจากนั้นแล้ว ยังจะต้อง change the way we think  และ change the way we interact ด้วย ซึ่งกรณีนี้น่าจะต้องใช้ AI เข้ามาช่วย แต่ยุทธศาสตร์ลึกๆ คือต้องรู้ และเข้าใจในสภาพแวดล้อมจริงของหน่วยงาน  ต้องเอาความรู้เชิงบริบทเข้ามาใช้  ต้องมองให้ลึก และหาอยู่เรื่อยๆว่า พอมีการขับเคลื่อนอย่างนี้แล้วเกิดอะไรขึ้นกับผู้คนที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เกิดอะไรขึ้นกับหน่วยงาน อะไรคือประเด็นที่ทำแล้วคนเกิดความสุข เกิดความชื่นบาน เกิดความรู้สึกยินดีที่ได้ทำ  เมื่อพบแล้วว่าคืออะไรก็ให้เดินจากจุดนั้นต่อไป

           นอกจากจะต้องหาให้พบว่าคนมีใจกับอะไร มีจริตกับเรื่องใดแล้ว  ยังต้องตรวจสอบว่ามีอะไรที่จะทำให้เกิดการแข็งขืน ซึ่งสิ่งที่อันตรายที่สุดของการทำ change management ก็คือ การที่คนรู้สึกว่าเขาถูกหยาม ถูกลดคุณค่าลงไป

           สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องของ ownership ดังนั้นจึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางให้ทุกคนรู้สึกว่า เขาได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นเจ้าของงานที่เขาทำ  ต้องหาวิธีการทำให้งานทุกงานที่เกิดขึ้นกลายเป็นงานของเขา  คนที่เข้าไปจัดการให้งานเดินไปได้เป็นเพียงผู้ facilitate ให้เกิดความเป็นไปได้ทั้งปวงขึ้นมาเท่านั้น  แต่ต้องให้ทุกคนเป็นเจ้าของในการสร้าง"เรื่องราวของความสำเร็จ"ขึ้นในงานของตน และต้องเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับงานทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับหน่วยงาน และความสำเร็จเหล่านั้นก็จะค่อยๆก่อตัวขึ้นเป็นระดับองค์กร

           เคล็ดลับความสำเร็จที่อาจารย์บอกไว้ก็คือ เมื่อทุกคนได้เป็นเจ้าของงาน ต้องให้สิทธิ์เขาในการสร้างสรรค์ผลงานให้เต็มที่  และตัวเขาก็จะต้องพยายาม และใส่ใจกับทุกรายละเอียดของงานให้เต็มที่เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  เมื่อได้ทุ่มเทเต็มที่แล้วก็มักจะประสบความสำเร็จ แล้วความภาคภูมิใจในตัวเอง และความรักในงานก็จะเกิดตามมาเอง  แต่เขาก็ต้องรู้ด้วยว่า เขาคนเดียวทำอะไรไม่สำเร็จ  เพราะฉะนั้นทุกคนต้องมีภาพใหญ่ขององค์กรอยู่ในใจ และมีเป้าหมายใหญ่ที่ต้องการบรรลุร่วมกัน  ตรงนี้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารสูงสุด ที่ต้องเข้ามาช่วยทำให้ทุกคนเกิด Shared Vision หรือ Common Goal ร่วมกัน ด้วยวิธีการต่างๆ

           การเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้นนี้ ควรทำให้ทุกคนได้เห็นประโยชน์โดยเร็ว  ภายใน ๓ เดือนทุกคนจะต้องรู้สึก และรับรู้ว่ามีอะไรดีๆเกิดขึ้นกับเขา  ในขณะที่เขากำลังตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆ แต่ถ้า ๓ เดือนผ่านไปแล้วยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น คนก็จะเบื่อ แต่ถ้าเราทำให้เขาได้ตื่นเต้นต่อไป นั่นหมายถึงว่าเรื่องที่ทำอยู่ต้องเป็นประโยชน์กับตัวเขา และงานของเขาด้วย

           ส่วนงานประมวลและพัฒนาความรู้ ต้องช่วยสร้างกระบวนการ ให้ทุกคนได้มามีปฏิสัมพันธ์ และ ลปรร. ซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ

            ในวิถีชีวิตปกติก็ต้องมีการยกย่องชมเชย ต้องช่วยกันทำให้ความสำเร็จของทุกคนปรากฏ ซึ่งคำชมที่ดีนั้นต้องเป็นคำชมที่มีคำอธิบาย มีเหตุการณ์แวดล้อมประกอบด้วย ไม่ใช่การชมลอยๆ  คนที่ได้รับคำชมจะได้รู้ว่าที่เขาทำอะไรได้ดี และดีอย่างไร  ต้องเป็นคำชมที่มี dialogue  มีหลายระนาบ ทำให้เห็นมุมมองหลายแบบ หลายมิติ 

           เรื่องคำชมนี้ก็สามารถบอกได้ว่าคนที่ชมนั้น เป็นคนที่มีโลกทัศน์อย่างไร มองสภาพต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นภาพ static หรือ มองเป็นสภาพ dynamic  ถ้าเป็นอย่างหลัง ในคำชมนั้นต้องมีการเสนอแนะว่ายังเพิ่มเติมคุณภาพอะไรได้อีก และต้องมีการชี้ให้เห็นความท้าทายใหม่ๆ ที่ทำให้เห็น posibility ใหม่ๆด้วย

           ก่อนจบการสนทนาในเช้าวันนี้ ดิฉันจึงได้อาสาเอาตัวเองเป็นปรากฏการณ์ ให้อาจารย์เขียน " letter of appreciation "  เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการสร้างคำชมที่กระตุ้นให้ผู้รับต้องคิดต่อ คิดตาม และสามารถสร้างสรรค์หนทางในการเติบโตจากข้อดีของตนด้วยตนเอง ในโอกาสที่จะพ้นจากตำแหน่ง KM Intern ในอีกไม่เกิน ๒ สัปดาห์ข้างหน้านี้
 
 

หมายเลขบันทึก: 45163เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เป็นแนวคิดที่ positive ดีครับ
  • คนไทยไม่ค่อยชมไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร นอกจากนี้ยังไม่ชอบให้กำลังใจด้วย คงต้องเปลี่ยนวิธีการคิดให้เด็กๆนะครับ
  • แวะมาให้กำลังใจครับ
  • จะรออ่าน letter of appreciation ของท่านอาจารณ์ครับ

พึ่งเปิดแฟ้มเจอ..วิเศษมาก ขอเป็นกำลังใจให้และจะติดตามผลงานครูใหม่ใหม่ ถึงแม้ว่าตนเองจะไม่เป็นครู แต่ก็ทำงานด้านการบริหารองค์กรธุรกิจเครือข่ายหลังหลังจากลาออกจากราชการ ข้อเขียนนับว่าเป็นประโยชน์มากในทางปฏิบัติ ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย

ขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท