“กรมหม่อนไหม” กรมน้องใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตอนที่ 2


“กรมหม่อนไหม”

วิโรจน์  แก้วเรือง

ตอนที่ 2

การดำเนินงานของกรมหม่อนไหมไทยจะมุ่งเน้น

๑.การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของไหมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกสร้างตราสินค้า (Brand name)ของประเทศไทย ภายใต้เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า ตรานกยูงพระราชทานทั้ง ๔ชนิด ซึ่งจะสร้างความเชื่อถือความภูมิใจ และความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ

๒.อนุรักษ์ภูมิปัญญา มรดกทางวัฒนธรรมของไหมไทย ทั้งด้านชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ประเพณีของชนเผ่าต่างๆ เก็บรวบรวมพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของไทยรวมทั้งการพัฒนาให้เป็นสินค้าคุณภาพสูงของไทย รวมทั้งด้านการศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาด้านการฟอกย้อมด้วยสีธรรมชาติ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานาน เป็นการ ลดการใช้สารเคมี เป็นการช่วยลดปัญหาโลกร้อนอีกด้วย

๓.เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้มีรายได้มากขึ้น ใช้เวลาว่างจากการผลิตพืชอื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกรทั่วไปโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นรายได้หลักของแม่บ้านเกษตรกร ที่ช่วยค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษาและค่าใช้จ่ายในครัวเรือน นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ในกรณีที่พืชหลักประสบปัญหาด้านราคาหรือภัยธรรมชาติ ช่วยให้เกษตรกรไม่ละทิ้งถิ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดี

๔.ทำการวิจัยและพัฒนาหม่อนและไหมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง และปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งทางด้านเภสัชโภชนาภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ) เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง

โครงสร้างกรมหม่อนไหม

         เพื่อให้การดูแลเกษตรกรเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาค กรมหม่อนไหมจึงได้กระจายการบริหารจัดการออกไปเป็นสำนักงานส่วนกลาง ๔ สำนัก เพื่อดำเนินการในด้านการบริหาร กำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ ให้เป็นระบบและถ่ายทอดไปสู่การบริหารในส่วนภูมิภาค สำนักงานเขต ๕ เขต  เขต๑ ภาคเหนือที่จังหวัดแพร่ เขต๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่จังหวัดอุดรธานี เขต๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางที่จังหวัดขอนแก่น เขต ๔ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่จังหวัดนครราชสีมา และเขต ๕ ภาคใต้ที่จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตจะทำหน้าที่เป็นกรมย่อย ควบคุม กำกับ ดูแล การบริหารจัดการลงไปสู่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ที่เป็นเครือข่าย กระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ จำนวน ๒๑ ศูนย์

แผนยุทธศาสตร์กรมหม่อนไหม

           กรมหม่อนไหมได้ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ โดยมีเป้าหมายการดำเนินการให้หม่อนไหมและผลิตภัณฑ์ได้รับการอนุรักษ์ พัฒนาและส่งเสริมจนเป็นที่ยอมรับ สินค้าไหมไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเกิดค่านิยมในการบริโภคสินค้าไหมไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ นที็็ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ดังนี้

วิสัยทัศน์

         “องค์กรนำในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา พัฒนาไหมไทยสู่สากล”

พันธกิจ

         ๑.พัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าหม่อนไหม และผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานระดับสากล

         ๒.พัฒนาระบบการจัดการสินค้าหม่อนไหม และการตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการ

         ๓.ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และคุ้มครองพันธุกรรมหม่อนไหม นวัตกรรม วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาด้านหม่อนไหม ผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม และผลพลอยได้

          ๔.ศึกษาวิจัย ทดลองและพัฒนาเกี่ยวกับพันธุ์เทคโนโลยีการผลิต การอารักขา วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป นวัตกรรม และมาตรฐานเกี่ยวกับหม่อนไหม ผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม และผลพลอยได้

         ๕.ส่งเสริมและสนับสนุน สร้างระบบเครือข่ายและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการผลผลิตหม่อนไหม ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้ บริการข้อมูล และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ด้านหม่อนไหม

ประเด็นยุทธศาสตร์

  ๑.พัฒนาระบบการจัดการสินค้าหม่อนไหมไทยและการตลาด

  ๒.อนุรักษ์และคุ้มครองภูมิปัญญาหม่อนไหมไทย

  ๓.วิจัยและพัฒนาหม่อนไหมไทยครบวงจร

  ๔.เพิ่มผลิตภาพการผลิตหม่อนไหมไทย

         ดังนั้นจึงเชื่อมั่นว่ากรมหม่อนไหม กรมน้องใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสามารถปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดทำหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลเรื่องหม่อนไหมทั้งระบบโดยการครอบคลุมถึงพัฒนาพันธุ์ การอนุรักษ์และคุ้มครองพันธุกรรมหม่อนไหม การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานหม่อนไหม การส่งเสริมสนับสนุน และการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านหม่อนไหม รวมทั้งการส่งเสริมเอกลักษณ์ การสร้างค่านิยมเกี่ยวกับหม่อนไหมให้เป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่คนไทยและชาติไทยสืบต่อไปอย่างยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 451398เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท