จันทมณี
นางสาว จันทมณี ขวัญ แก้วมณี

QC กับการพัฒนาตุณภาพ


QC  กับการพัฒนาคุณภาพ

         กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพเป็นกิจกรรมของพนักงานระดับผู้ปฏิบัติงานที่รวมกลุ่มกันดำเนินงานเพื่อแก้ไขและปรับปรุงงานของตน  ซึ่งองค์กรที่ใช้ระบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์กรต้องพยายามดำเนินการให้กิจกรรมนี้เกิดขึ้น  โดยมีการบันทึกว่ากิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพนี้เริ่มเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นประมาณปี ค.. .. 2503 โดยอิชิกะวะ สำหรับกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพในประเทศไทย  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทยญี่ปุ่น) หรือ ส... มีการเผยแพร่โดยผ่านทางผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่น  ในปี พ.. 2518  โดยมีการ-อบรมพนักงานให้เข้าใจในหลักการของกลุ่มควบคุมคุณภาพขึ้นเป็นครั้งแรกที่บริษัทไทยบริจสโตน จำกัด และเริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.. 2519  และในปี พ.. 2518 เช่นกัน บริษัทไทยฮีโน่อุตสาหกรรม จำกัด ได้นำความรู้เรื่องกลุ่มควบคุมคุณภาพมาอบรมให้พนักงานของบริษัท  จากนั้นก็มีบริษัทต่าง ๆ ได้นำมาเผยแพร่มากขึ้นตามลำดับ  ในเดือนธันวาคม พ.. 2524 ได้มีการจัดมหกรรมแสดงผลงานของกลุ่มควบคุมคุณภาพเป็นครั้งแรก  และตั้งแต่ปี พ.. 2526 เป็นต้นมา  ส... ได้จัดให้มีงานมหกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพขึ้น เพื่อให้มีการเสนอผลงานจากกิจกรรมของกลุ่มควบคุมคุณภาพขององค์กรต่าง ๆ  นอกจากนี้ยังมีการจัดโดยสำนักงานส่งเสริมการควบคุมคุณภาพแห่งประเทศไทยด้วยเช่นกัน  ต่อมาในปี พ.. 2533 ... ได้เปลี่ยนงานมหกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ เป็นงาน “QC Prize”  และในปี พ.. 2535  ได้เพิ่มรางวัล “Junior QC Prize”  สำหรับการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมของกลุ่มควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมไทยมากขึ้น และยังมีการมอบรางวัล “TQC Promoter Award”  และ “QC Facilitator Award”  ในปี พ.. 2533  และ พ.. 2534  โดยลำดับ เพื่อเป็นการ ยกย่องบุคลากรในองค์กรที่มีส่วนในการผลักดันกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพขึ้นในอุตสาหกรรมไทย

            กลุ่มควบคุมคุณภาพประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนทฤษฎีและส่วนของการปฏิบัติ        ในส่วนภาคทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มควบคุมคุณภาพได้แก่ความรู้ในเรื่องของความหมาย หลักการพื้นฐาน  ข้อกำหนด  วัตถุประสงค์ของกลุ่มควบคุมคุณภาพ  ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรมตามเทคนิคกลุ่มควบคุมคุณภาพ  ข้อดีและข้อเสียจากการทำกลุ่มควบคุมคุณภาพ  ส่วนภาคปฏิบัตินั้น ได้แก่ ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มควบคุมคุณภาพ 

1.      องค์กรใดที่ใช้ระบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์กรเป็นเวลานาน  ความมุ่งมั่นของผู้บริหารมีอย่างต่อเนื่อง  มีผู้จัดการและมีหน่วยงานเฉพาะ  รวมทั้งพนักงานทุกระดับมีความรู้และประสบการณ์ในการทำกิจกรรมของระบบบริหารคุณภาพทั้งองค์กร  ทำให้องค์กรมีปัจจัยสนับสนุนสมบูรณ์  การที่องค์กรนำระบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์กรมาใช้  ไม่เพียงแต่ต้องการผลผลิต   ที่เป็นสินค้าและการบริการที่มีคุณภาพ  สามารถขายได้  และมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงขึ้น   อันส่งผลต่อการสร้างผลกำไรให้แก่องค์กรเท่านั้น  การบริหารคุณภาพทั้งองค์กรยังให้ผลประโยชน์อื่น  ซึ่งในภาพรวมก็คือการบริหารคุณภาพทั้งองค์กรจะทำให้ผลการดำเนินงานขององค์กรสูงขึ้น เนื่องจากสินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูงขึ้น  ผลผลิตไม่บกพร่อง  ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย  มีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์    ให้เกิดความหลากหลายและน่าสนใจ  บริการและส่งมอบได้รวดเร็ว  ต้นทุนการผลิตลดลง และพนักงานทุกคนมีส่วนร่วม

อ้างอิง

ยุทธ  ไกยวรรณ์.  การบริหารคุณภาพในงานอุตสาหกรรม.  กรุงเทพฯ : สุวีริยา  สาส์น,  2548.

" QC กับการพัฒนาคุณภาพ.".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://porjet.multiply.com/journal/item/3/3

หมายเลขบันทึก: 451243เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2011 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท