อรกิตติ์
นางสาว อรกิตติ์ พานิชยานุสนธิ์

การจัดซื้อหรือจัดจ้างของภาครัฐภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา


ในการทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกานั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาพยายามที่จะให้ประเทศไทยตกลงที่จะให้ภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกาสามารถเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐไทยในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างได้โดยเสรี
การจัดซื้อหรือจัดจ้างของภาครัฐภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา การจัดซื้อหรือการจัดจ้างของรัฐ หรือคือ Government Procurement ของประเทศไทยนั้น เป็นการที่ภาครัฐของไทยจะทำการตกลงซื้อจ้างสินค้าหรือบริการจากภาคเอกชน ซึ่งโดยทั่วไปนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างจะให้ความสำคัญกับสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการไทยเป็นหลัก ในการทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกานั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาพยายามที่จะให้ประเทศไทยตกลงที่จะให้ภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกาสามารถเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐไทยในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างได้โดยเสรี การทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา หรือ Thailand-Us Free Trade Agreement: TUSFTA ประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้ประเทศไทยปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก หือ WTO ในเรื่องการตกลงด้านการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ หรือ Government Procurement Agreement (GPA) ซึ่งประเทศไทยต้องเปิดการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม และใช้หลัก National Treatment ให้แก่ภาคธุรกิจของสหรัฐอเมริกา ทำให้การแข่งขันของภาคธุรกิจของไทยกับสหรัฐอเมริกามีความเท่าเทียมกัน ข้อดีของการทำ GPA คือการที่ประเทศไทยจะต้องมีการจัดระบบการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างใหม่ ในการให้ข้อมูลข่าวสาร ให้เป็นธรรม และโปร่งใส นอกจากนั้นการแข่งขันกันมากเพราะการเข้ามาของผู้ประกอบการจากสหรัฐอเมริกา จะทำให้การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนข้อเสียของการทำ GPA คือการที่ภาคธุรกิจของไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะจากที่แข่งขันกันระหว่างภาคธุรกิจหรือผู้ประกอบการในประเทศ ต้องเปลี่ยนเป็นแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศด้วย ซึ่งถ้าไม่มีความพร้อมย่อมเสียเปรียบ และนำไปสู่ปัญหาการขาดทุนและล้มของภาคธุรกิจ และปัญหาขาดดุลของประเทศต่อไป ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากจากข้อตกลง ก็คือ ธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐมากที่สุด ไม่ว่าโครงการขนาดเล็กจนถึงโครงการขนาดใหญ่รวมแล้วรัฐจะต้องมีงบประมาณหลายหมื่นล้านบาทต่อปีสำหรับธุรกิจภาคก่อสร้าง เมื่อมีการเปิดการค้าเสรีแล้ว ย่อมกลายเป็นตลาดใหญ่ตลาดหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ และย่อมมีผลกระทบต่อธุรกิจก่อสร้างภายในประเทศทั้งหมด สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือผู้ประกอบการไทยอาจเสียเปรียบผู้ประกอบการต่างชาติ ตรงที่ความสามารถและเทคโนโลยี ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ประเทศไทยคงต้องถือว่าตามอยู่ ในปัจจุบันนี้ตามข้อมูลของธนาคารโลก หรือ World Bank พบว่าผู้ประกอบการไทยแม้จะสามารถประมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้มากโครงการที่สุด แต่เมื่อคิดเป็นตัวเงิน แล้วเป็นเพียงร้อยละ 40 ของเงินส่วนนี้เท่านั้น ส่วนที่เหลือตกเป็นของผู้ประกอบการไทยที่ร่วมทุนกับต่างชาติ หรือ ผู้ประกอบการต่างชาติ เท่ากับว่าผู้ประกอบการต่างชาตินั้นสามารถ ประมูลได้งานที่เป็นโครงการใหญ่ซึ่งมีงบประมาณสูงได้มากกว่าผู้ประกอบการไทย ซึ่งถ้าข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาทำขึ้น โดยมีข้อตกลงเรื่อง GPA อยู่ด้วย ย่อมส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ประกอบการไทย
หมายเลขบันทึก: 45114เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท