วิกฤติการณ์ท้องถิ่นไทย


นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

วิกฤติการณ์ท้องถิ่นไทย

เป็นที่ประจักษ์ว่า ปรากฏการณ์และวิกฤติบริบทความเป็นวิถีดั้งเดิมของท้องถิ่น ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต วิถีดั้งเดิมนั้นเป็นต้นกำเนิดและแหล่งผลิตปัจจัยสี่ แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ แต่สภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรือเป็นวิกฤติเนื่องมาจาก 1) พื้นที่การเกษตรถูกปรับเปลี่ยนเพื่อการใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ มากขึ้น 2) การเลี้ยงปศุสัตว์ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อเศรษฐกิจ 3) ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่สมดุล ทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติอันเป็นต้นกำเนิดปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีพ 4) ระบบทุนนิยม การรับกระแสบริโภคนิยม นโยบายรัฐ กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ
          มิติความยั่งยืนแบบวิถีดั้งเดิมของท้องถิ่นจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งภาคการเกษตรโดย 1) การดำเนินวิถีตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economic) เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 2) การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชนให้พึ่งตนเองได้ ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ขยายแนวคิดและผลในวงกว้างขึ้น

หมายเลขบันทึก: 450990เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท