โรงเรียนชาวนาระดับมัธยม(๗)_๒


โรงเรียนชาวนาระดับมัธยม(๗)_๒

       

                

ภาพที่  43  คุณสุข  เชื้อหนองปรง

 ภาพที่  42  บันทึกการเรียนรู้ของลุงสุข  เชื้อหนองปรง    ตัวอย่างการจดบันทึกของลุงสุขเชื้อหนองปรง    นักเรียนชาวนา       โรงเรียนชาวนาบ้านดอน  บันทึกไว้ว่า
 ในวันศุกร์ที่  21  มกราคม  2548  เป็นวันที่เพาะปลูกข้าวพันธุ์อินโดนี-   เซียลงกระถาง  (เป็นข้าวที่มีอายุ  88  วัน)
 ในวันศุกร์ที่  28  มกราคม  2548   ข้าวอายุได้  7  วัน  มีความยาวจากปลายรากถึงยอดต้นข้าว  สูง  9.50  เซนติเมตร  เฉพาะต้นข้าวสูง  6  เซนติเมตร
 ต้นข้าวมีใบ  2  ใบ  ใบแรกยาว  2.50  เซนติเมตร  และใบที่  2  ยาว  4  เซนติเมตร
 ตรวจสอบค่า  pH  วัดดินมีกรดมีด่างอยู่ในดิน  ได้ระดับ  5.0


                                  

                ภาพที่  44  บันทึกการเรียนรู้ของลุงสุข  เชื้อหนองปรง

         บันทึกการทดลองของลุงสุข  เชื้อหนองปรง  ในวันศุกร์ที่  4  กุมภาพันธ์  2548  ได้บันทึกไว้ว่า  ได้ปลูกข้าวพันธุ์อินโดนีเซียไว้ตั้งแต่วันศุกร์ที่  21  มกราคม  2548  วันที่สำรวจ  ข้าวอายุได้  14  วัน  ความสูงของต้นข้าว  23  เซนติเมตร  ความสูงเฉพาะลำต้น  สูง  8  เซนติเมตร
 มีใบทั้งหมด  จำนวน  4  ใบ  ใบที่  1  ยาว  4  เซนติเมตร  ใบที่  2  ยาว  8  เซนติเมตร  ใบที่  3  ยาว  15  เซนติเมตร  และใบที่  4  ยาว  14.50  เซนติเมตร
 ส่วนรากของต้นข้าวมีทั้งหมด  6  ราก  รากที่  1  ยาว  2  เซนติเมตร  รากที่  2  ยาว  2  เซนติเมตร  รากที่  3 – 4  ยาว  3  เซนติเมตร  รากที่  5 – 6  ยาว  4  เซนติเมตร
 วัดความเป็นกรดด่างของดินได้  5.0  (เป็นค่าคงเดิม) 

                           

                ภาพที่  45  บันทึกการเรียนรู้ของน้าอุไร  แอบเพชร

         ตัวอย่างการจดบันทึกของน้าอุไร  แอบเพชร  นักเรียนชาวนาโรงเรียนชาวนาบ้านดอน  บันทึกไว้ว่า
 -  หว่านข้าวในวันศุกร์ที่  21  มกราคม  2548  วันที่สำรวจถือเป็นอาทิตย์แรก  (วันศุกร์ที่  28  มกราคม)
 -  ข้าวอายุ  1  สัปดาห์  มีใบ  2  ใบ  มีราก  5  เส้น
 -  ความสูงของต้นข้าว  6    เซนติเมตร  ในกระถางไม่มีน้ำแช่
 -  ในกระถางมีต้นที่สมบูรณ์และไม่ที่สมบูรณ์  เช่น  มีต้นสูง  ต้นเตี้ย  และมีต้นปานกลาง 
            -  เมื่อสังเกตของเพื่อนนักเรียนก็พบว่ามีความแตกต่างกัน  เช่น  มีใบ  1  ใบ  มีราก  3  เส้น

                       
 
                 ภาพที่  46  บันทึกการเรียนรู้ของน้าอุไร  แอบเพชร

           จากบันทึกของน้าอุไร  แอบเพชร  ในช่วงต่อมาได้บันทึกไว้ว่า
 -  สัปดาห์ที่  2  ในวันศุกร์ที่  4  กุมภาพันธ์  2548 
 -  ข้าวอายุ  2  สัปดาห์  มีใบ  4  ใบ  มีราก  10  เส้น  มีความยาว  4  เซนติเมตร
 -  ความสูงของต้นข้าว  27    เซนติเมตร  ในกระถางมีน้ำแช่สูงระดับ  2  เซนติเมตร
 -  วัดค่า  pH  ได้  6.50 
 -  ต้นอื่นๆ  เริ่มแตกกอแล้ว  ในกระถางมีต้นข้าว  จำนวน  10  ต้น  แต่ละต้นมีความแตกต่างกันมาก  ต้นที่สมบูรณ์ก็แตกกอเป็น  2 – 3  กอแล้ว  บางกอยังต้นเตี้ยอยู่  บางต้นมีแมลงลงก็มี  ต้นเล็กๆ  เมื่อถอนออกมาดู  พบว่ารากไม่สมบูรณ์  รากเป็นสีน้ำตาล  ส่วนต้นที่สมบูรณ์รากก็ข้าว  พร้อมที่จะเจริญเติบโต

           

ภาพที่  47  ข้าวพันธุ์อินโดนีเซีย

 ในกระถางทดลองที่กำลังออกรวง 

 เมื่อระยะเวลาผ่านไป  ประมาณในสัปดาห์ที่  7  ของการปลูกข้าวพันธุ์อินโดนีเซีย  ข้าวในแต่ละกระถางของนักเรียนชาวนาแต่ละคนก็ทยอยออกรวงกันแล้ว

            จนกระทั่งการเรียนรู้กับการทดลองปลูกข้าวในกระถางเพื่อเรียนรู้เรื่องดิน  นักเรียนชาวนาได้เฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของต้นข้าวในทุกๆ  สัปดาห์  ทำให้ได้เห็นพัฒนาการของต้นข้าวในแต่ละช่วงๆ  อย่างที่ไม่เคยสังเกตอย่างจริงจังมาก่อน 
 เงื่อนไขของการปลูกข้าวในกระถางครั้งนี้  เป็นเหตุให้นักเรียนชาวนามานั่งจับเข่าคุยกันว่า  ข้าวพันธุ์เดียวกัน  แต่ปลูกในดินต่างนากัน  อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน  เหตุใดจึงเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน  จะเป็นเพราะดินใช่หรือไม่  



          เหตุปัจจัยมีอยู่หลากหลายอย่าง  ทั้งเรื่องดินก็เป็นส่วนใหญ่  ปัจจัยอื่นอีก  อาทิเช่น  ความอุดมสมบูรณ์ของเมล็ดพันธุ์  การดูแลรักษาต้นข้าว  เพราะบางคนนำปุ๋ยมาใส่  และปุ๋ยที่นำมาใส่ก็มีความแตกต่างกัน  แต่บางคนก็เลือกที่จะไม่ใส่อะไรเลย  นอกเสียจากการรดน้ำเพียงอย่างเดียว  ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ใช้วิธีการต่างๆในการดูแลบำรุงต้นข้าว
 ในขณะนี้  นักเรียนชาวนาได้ข้อมูลเกี่ยวกับดินในนาของตนเองแล้ว  คำถามต่อไปก็คือว่า  จะปรับปรุงบำรุงดินกันอย่างไร  และจะรักษาสภาพดินให้ดีได้อย่างไร  โดยใช้ทางเลือกแบบชีววิธี  เพื่อให้สามารถปลูกข้าวได้ดีอย่างที่คาดหวังกันไว้ตลอดไป

          เห็นพลังของการสังเกต  การวัด/นับ  และการจดบันทึกไหมครับ     นี่คือสิ่งที่ชาวนาได้เรียนรู้ และจะสั่งสมไว้ใช้ได้ตลอดชีวิต    นักเรียนชาวนาจำนวนหนึ่งจะสนุกมากกับการสังเกต การวัด/นับ และจดบันทึก   และจะสร้างเป็นนิสัยช่างสังเกต ช่างบันทึก ไปตลอดชีวิต   โปรดสังเกตว่ากระบวนการนี้จะเรียกว่า “การวิจัยของชาวบ้าน โดยชาวบ้าน” ก็ได้

วิจารณ์ พานิช
๑๗ สค. ๔๘

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4509เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2005 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท