ก่อสร้าง


ก่อสร้างชีวิต

   ก่อสร้าง เป็นงานอย่างหนึ่งที่คนเรามักจะรังเกียจไม่อยากทำแต่ก็เป็นงานหนึ่งที่สมาชิกที่เข้ามาฟื้นฟูสมรรถภาพต้องได้ทำกันแทบทุกคนเป็นไม่เป็นก็ต้องเป็นอยากไม่อยากก็ต้องทำ เมื่อได้รู้การซ่อมกันไปแล้วสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมให้กับสมาชิกที่เข้ามานั้นคือการสร้างแต่จะสร้างอะไรนั้นก็ค่อยติดตามกันนะ

   งานก่อสร้างนั้นเป็นอย่างหนึ่งซึ่งเมื่อก่อนตอนโยมพ่ออยู่นั้นเราเองก็เรียนหนังสืออยู่ไม่อยากทำเลย สกปรก มอมแมม ลำบากก็ลำบาก อันตรายก็อันตราย แต่โยมพ่อก็บังคับไปทำเสมอ ซึ่งก็หัดไปแบบตามใจพ่อ คือพอทำให้เป็นในแต่ละงานตามแต่สิ่งที่พ่อจะสอน แต่ทุกวันนี้รู้แล้วว่าสิ่งที่พ่อพาทำนั้นมันมีค่ายิ่งใหญ่มาก

  มากกว่าแค่ให้เรานั้นได้ทำงานก่อสร้างเป็น แต่สิ่งที่พ่อนำมาสอนคือการก่อสร้างความคิดและนิสัยในด้านต่างให้เรา อันนี้มองอย่างคนไม่มีความรู้อะไรมากนัก

  คือสิ่งที่ท่านสร้างให้ไม่ว่าจะเป็น ความคิดว่าคนเราต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอในการทำสิ่งใดก็ตามแต่ การรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่างๆที่ได้รับมอบ การวิเคราะห์สิ่งข้างหน้าว่าต้องทำอะไรก่อนและหลังเป็นการวางแผนการทำงาน แทบจะว่าหันมาต้องรู้ว่าจะเอาอะไร รู้จักปกครองคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา อดทนต่อความลำบากมีกินบ้างไม่กินบ้างร้อนบ้างเย็นบ้าง รู้จักป้องกันอันตรายที่จะมีกับตนเองแล้วป้องกันเสียก่อน ทัศนคติต่อการใช้ชีวิตว่าชีวิตเป็นอะไรก็ตามแต่เราต้องรู้จักคุณค่าของตนเองและอื่นๆอีกมากมายเล่าไม่หมดแน่

  ซึ่งเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากในการมาใช้ชีวิตทุกวันนี้ เหมือนดังกันตอนนี้เรามีหน้าที่ดูแลสมาชิกที่เข้ามาฟื้นฟูฯเราก็จะพาเขา "ก่อสร้าง" เหมือนดังที่พ่อพาเราก่อสร้าง แต่การก่อสร้างนั้นมันเป็นประโยชน์และมีคุณค่าหลายด้าน

  อย่างแรกมองอย่างหยาบคือการที่เราได้พาสมาชิกทำงานก่อสร้างพัฒนาอาคารสถานที่บูรณะสิ่งต่างภายในวัดนั้น สมาชิกทำแล้วเขาเองก็ไม่ได้อยู่ใช้ตลอด บุคคลที่ได้อยู่ใช้นั้นคือชาวบ้านและบุคคลทั่วไปที่มาวัด แน่นอนวิธีการนี้แทบจะเป็นแบบการเมืองนิดนึงตามแบบที่พ่อสอนไว้อยากได้เขาต้องให้เขา คือได้ใจชาวบ้านซื้อใจชาวบ้านว่าสมาชิกพวกนี้นั้นก็เป็นคนดีทำความดีได้อดทนต่อความลำบากก็ได้

  เป็นการก่อสร้างฐานในการยอมรับของชาวบ้านให้มีการยอมรับในสมาชิก ให้มีความเห็นอกเห็นใจการและอยู่ร่วมกันอย่างไรการต่อต้าน ทุกอย่างที่ทำไม่ว่าจะก่อสร้างหรือทำความสะอาดบริเวณนั้นเพื่อการสร้างประโยชน์แก่ชุมชนเป็น กุศล ให้สมาชิกได้เห็นว่าสร้างกุศลเป็นบุญแล้วความดีจะย้อนกลับมาหาเรา

   สิ่งต่อมาที่เป็นการสร้างนั้นคือ ความคิดและนิสัย สมาชิกเหล่านี้โดยมากจะไม่รู้จักทำอะไรหรือหาอะไรทำ ทำอะไรก็แทบไม่เป็นสักอย่างการพาทำงานก่อสร้างนั้นได้สร้างนิสัยให้รู้ว่าคนเราถ้าคิดจะทำ อะไรก็ทำได้เพราะเองก็ทำกับเขาเหมือนกัน สร้างนิสัยให้รู้จักใช้เวลาในการทำงาน

  และสร้างความรอบคอบให้เกิดมีสติว่าหากขาดสติในการใช้ชีวิต จะเกิดปัญหากับชีวิตแน่นอนตัวอย่างง่ายที่มักจะยกให้เขาเห็นก็ถ้ามาอยู่วัดนั่งกินๆนอนไม่สร้างประโยชน์จะอยู่กันได้หรือไม่โดนไล่หนีแต่รุ่นแรกกันแล้วหรือ เหมือนกันอยู่ไหนก็เหมือนกันหากเป็นคนขยันกินง่ายอยู่ง่ายที่ไหนก็อยู่ได้

   นี่เป็นเพียงเบื้องต้นที่นำมากล่าวให้รู้เป็นการสร้าง "สัมมาอาชีโว" เป็นการประกอบอาชีพอย่างสุจริตอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ให้เป็นนิสัยในการทำงานกับเขาส่วนความรู้ในงานก่อสร้างเขาเองอาจได้ไปเป็นความรู้เวลาอยู่บ้านอาจทำเองได้ไม่ต้องจ้างใคร

   นอกจากสร้างนิสัยแล้วยังสร้างสติสัมปชัญญะให้กับเขาด้วยหากเขาฟังการเรียนรู้จากเราไม่ดีเขาจะทำงานผิด เราเองก็พยายามจะทำเหมือนโยมพ่อแต่ก็ได้น้อยไม่ถึงครึ่งโยมพ่อเลย การสั่งงานก็เริ่มจากสั่งอย่างเดียว แล้วก่อการมาสั่งอย่างต่อเนื่องสองอย่างสามอย่าง สุดท้ายสั่งแต่เป้าหมายที่ต้องการวิธีการให้ไปคิดเอาเองเช่น

   ต่อหลอดไฟศาลา ทีแรกก็สั่งไปต่อ ปลั๊กทีละจุดที่เสาร์ไหนก็ว่าไป ต่อมาก็เริ่มสั่งว่า ต่อปลั๊กที่เสาร์นี้แล้วเข้าหลอดตรงไหนต่อตามจุดงาน ต่อมาก็เริ่มสั่งทีละหลายๆจุดแบบต่อเนื่อง สุดท้ายเลยบอกความต้องการเลยว่าต้องการให้ศาลามีระบบไฟอย่างไรแล้วให้ไปคิดเองทำเอง แล้วเสนอวัสดุมานี่และครับได้คิดกัน

  ได้สร้างความคิดกันเลยนะครับ ทั้งสติสัมปชัญญะ การวางแผนงาน การวางเป้าหมายงาน และที่สำคัญอีกอย่างความรอบครอบในการทำงานหากเขาประมาทอาจมีอันตรายจากงานต่างๆเราจะคอยเตือนหากทำงานอย่างประมาท ว่าทำอย่างนี้ดีกว่าไหม ถ้าอย่างนี้พลาดผลเป็นอย่างไร อย่าประมาทอาจได้รับอันตราย หรือทำไปแล้วเกิดความไม่เข้าใจงานผิดพลาดก็จะเตือนก่อนเดี๋ยวงานผิดสิ้นเปลื้องทั้งเวลา เงินทอง และความรู้สึก

   การก่อสร้างตรงนี้ยากครับยากจริงๆ ไม่ใช่งานง่ายๆเลยแต่ละคนก็มาแบบไม่ค่อยเต็มใจกันด้วยกว่าจะได้ก็ยากครับแต่ก็พอให้เป็นแง่คิดกับเขาไปละครับ

ก่อสร้างบ้านแสนง่ายแต่สร้างคนแสนลำบาก

บุญชื่น การช่าง

(เลิกกิจการไปนานแล้ว)

หมายเลขบันทึก: 450202เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท