การจัดการคุณภาพ


ช่วยแสดงความคิดน่ะค่ะ

การจัดการคุณภาพ (Quality Management)

         จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
         2.4.1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ
การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)
         2.4.2 การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000
         2.4.3 การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)
วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

การจัดการคุณภาพ คือ การจัดการองค์กรและกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือ ข้อกำหนด โดยมีต้นทุนต่ำ และ ตอบสนองความต้องการ ความพอใจของผู้บริโภค 

กิจกรรมการจัดการคุณภาพ

ประกอบไปด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้

  1. จัดองค์กร และบุคลากร และ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มีความพร้อม เพื่อให้กิจกรรมจัดการคุณภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. กำหนดวิธีตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีความแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้ เพื่อให้การควบคุมคุณภาพอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด
  3. ดำเนินการควบคุมคุณภาพ ปัจจัยการผลิต การดำเนินการผลิต และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายให้อยู่ในระดับที่กำหนด
  4. วางแผนด้านงบประมาณ และแผนงานควบคุมคุณภาพ
  5. ร่วมในการพัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์คุณสมบัติและคุณลักกษณะของสินค้า ดำเนินการป้องกันการผลิตสินค้าด้วยคุณภาพ
  6. สร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมการทำงานที่ดี
  7. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านคุณภาพทั้งขององค์กรเอง และ หน่วยงานนอก เพื่อเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
  8. ดำเนินการแก้ไขเมื่อสภาพการผลิตที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมไปถึง ปัจจัยการผลิตต่างๆ
  9. รายงานผลด้านคุณภาพให้องค์กร และผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ

 

จากการจัดการคุณภาพข้างต้นนี้ สามารถจัดเข้าได้ 5 หมู่ด้วยกันคือ

  1. การวางแผน ได้แก่ กิจกรรมเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ การวางแผนงานและประมาณเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพ
  2. การจัดองค์กร ได้แก่ กิจกรรมการจัดองค์กรด้านคุณภาพ ซึ่งจะรวมไปกิจกรรมด้านการออกแบบควบคุมคุณภาพในขั้นตอนต่างๆ ด้วย
  3. การจัดบุคลากร ได้แก่ กิจกรรมการจัดตารางและภาระงานแก่พนักงาน รวมไปถึง การจัดฝึกอบรม และจูงใจการทำงานแก่พนักงาน
  4. การสั่งการ ได้แก่ การจัดซื้อ การดำเนินงานการผลิต การตรวจสอบ และประเมินผลงานคุณภาพ
  5. การควบคุม ได้แก่ การควบคุมคุณภาพในระหว่างการผลิตโดยใช้แผนภูมิควบคุมรวมทั้งการควบคุมต้นทุนคุณภาพ และการรายงานผลงานด้านคุณภาพให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

 

ระบบควบคุมคุณภาพ

ในธุรกิจอาหารแนวคิดการจัดการคุณภาพที่นิยมใช้ในแต่ละองค์กรประกอบด้วย

  1. TQM (Total Quality Management) เป็นระบบการจัดการคุณภาพของการบริหารงานภายในองค์กร โดยปลูกฝังให้พนักงานร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมภายในองค์กร โดยมีองค์ประกอบสำคัญสำคัญ 3 ด้านได้แก่ ระบบเอกสาร, ระบบควบคุมกระบวนการผลิตด้วยวิธีเชิงสถิติ และการทำงานเป็นทีมภายในองค์กร
  2. GMP (Good Manufacturing Practise) เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดีซึ่งปัจจุบันนี้ในโรงงานที่ส่งออกอาหารต้องผ่านตัวนี้เป็นพื้นฐาน ซึ่งกล่าวไปถึงความปลอดภัยของอาหาร โดยควบคุมปัจจัยภายนอกต่างของการผลิต
  3. SSOP (Sanitation Standard Operationg Procedude) เป็นส่วนของการจัดการระบบสุขอนามัยที่ได้มาตรฐานตามสากล ซึ่งมักจะทำระบบพร้อมกับ GMP
  4. ISO 9000 เป็นระบบการรับรองคุณภาพภายในองค์กร โดยเมื่อก่อนนี้จะมี เวอร์ชัน 9001, 9002, 9003 และ 9004 โดยมีตัวแม่คือ ISO 8402 แต่ในปัจจุบันนี้มีการรวบให้เหลือเพียง ISO 9002:2000 ส่วน ISO เวอร์ชันอื่นๆ เช่น ISO 14000, 17000 ล้วนเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับองค์กร
  5. HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นระบบการประกันคุณภาพอาหารที่มีได้รับการยอมรับสูง ซึ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยมีการวิเคราะห์ และกำหนดจุดวิกฤตของกระบวนการโดยละเอียด

 

 

หมายเลขบันทึก: 450095เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท