การทำบัตรประชาชนของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ


สิ่งที่กรุงเทพมหานครถ้ามีความจริงใจจริง ๆ คือระบบขั้นตอนที่พอแสกนลายนิ้วมือแล้วใช่คุณต้องให้เขาทำบัตรได้ เขาคงไม่ไปตัดนิ้วมือใครมาทำหรอก สายนิ้วมือมันลอกกันไม่ได้ อีกส่วนคือทัศนคติของเจ้าหน้าที่ที่ต้องไม่กดทับคน การมีบัตรก็จะทำให้คนอยากไปทำบัตรและกล้าที่จะทำบัตรมากขึ้น ไม่ใช่ไปแก้ไขในสิ่งที่เขาทำกันอยู่แล้ว เหมือนการวิ่งตามปัญหาอยุ่แบบนี้คุณกรุงเทพมหานคร

การทำบัตรประชาชนของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ 

            เราคนไทยธรรมดาคนหนึ่งที่เดินไปทำบัตรประชาชน มีเอกสารพร้อม แต่งกายสุภาพ ก็มีคนพร้อมทำให้ตามขั้นตอน แต่คุณรู้ไหมคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเขาก็ไม่ต่างจากคุณ เพียงแค่การแต่งกายบางทีไม่ได้สะอาดแบบคุณเขาก็ถูกปฏิเสธตั้งแต่ด่านแรก......

            คนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ หลายคนเข้ามาในพื้นที่จะถามเสมอด้วยคำถามที่ว่า ทำไมเขาไม่มีบัตรประชาชน? เขาเป็นคนไทยหรือเปล่า? ทำไมเขาไม่สนใจไปทำบัตร? สิ่งเหล่านี้เราอิสรชนเคยพยายามหาคำตอบในการลงพื้นที่และได้คำตอบที่ว่า

            ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เกือบ 95 % เป็นคนไทย เคยมีบัตร บัตรหาย อีกเพียง แค่ 5 % เป็นคนไร้สัญชาติหรือเป็นคนที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร์ แต่ไม่มีคนต่างด้าวตามที่ กรุงเทพมหานครอ้าง คนที่ไร้สัญชาติคือ พ่อและแม่ออกมาเร่ร่อนตั้งแต่อายุที่ยังไม่ถึงการทำบัตรประชาชน มาสร้างครอบครัวในถนน มีลูก ลูกก็จะกลายเป็นคนไม่มีบัตรไม่มีเลข ตามลำดับ สิ่งที่อิสรชนทำคือ เมื่อพบกรณีเช่นนี้ในพื้นที่จะพยายามให้ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลเพื่อให้ได้เลข 13 หลัก แล้วค่อยมาสืบค้นหาหลักฐานเพื่อยืนยันสัญชาติกัน

            ส่วนในกรณีคนตกหล่น ก็ต้องตามสืบค้น หาหมอตำแย่ หาญาติ บางกรณีโชคดีได้ทำบัตรและกลับบ้านไปพร้อมกันเพราะเจอญาติได้พูดคุย ทำความเข้าใจ และกลับสู่ครอบครัวได้

            แต่มาถึงในกรณีที่มีบัตร แต่บัตรหายบ้าง ถูกยึดบัตรจากการทำงาน คือ เช่น การไปเป็นยามจะถูกยึดบัตรไว้ ในบางกรณี พอออกจากงานกะทันหัน ก็ไม่ได้ไปเอาบัตร ส่วนใหญ่ก็จะบัตรหาย แต่พอเขาไปทำบัตรด้วยตัวเอง บางคนก็ถูกดูถูกทางสายตา วาจา จากเจ้าหน้าที่รัฐ บางคนพิมพ์ลายนิ้วมือ แล้ว เห็นหน้า หน้าตรง แต่ตามระเบียบของราชการก็ต้องมีบุคคลยืนยันตั้งแต่ ซี5 ขึ้นไป แล้วข้าราชการคนไหนจะกล้ามารับรองให้คนที่แต่งตัวมอมแมม ทั้งที่บางครั้งการอแต่งตัวของเขานั้นคือสะอาดสุดที่เขามี แล้วอีกกรณีคือ คนที่ไปทำบัตรเขาสามารถไปขอหนังสือรับรองได้เองที่กรมการปกครอง

            สิ่งที่อิสรชนพยายามอยากจะสื่อก็คือ การให้ข่าวของกรุงเทพมหานครที่บอกว่าจะของความร่วมมือไปทางกระทรวงมหาดไทยในกรณีที่ขอเอกสารรับรองบุคคลให้กับคนที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กำลังจะบอกว่า คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ทุกวันนี้เขาไปขอได้เองแล้วในการรับรองบุคคล เขาทำหันมากว่า 5 ปี ที่อิสรชนเข้าไปในพื้นที่และฟื้นฟูร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จนคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ณ วันนี้เขารู้ได้เองว่าเวลาเขาจะไปทำบัตรเขาต้องไปขอใบรับรองยืนยีนสถานะบุคคลที่กรมการปกครองก่อน แล้วไปขอทำกับเขต แต่ถ้าถูกปฏิเสธจากเขตมา ณ วันนี้สิ่งที่อิสรชนต่อสู่ให้คนเหล้านี้สำเร็จคือ การรับรองจากข้าราชการ เพราะพอแสกนลายนิ่วมือ ขึ้นชื่อ เขา หน้าเขาแต่เจ้าหน้าที่บางคนก็ยังไม่ยอมทำให้ อิสรชนจึงเหมือนทำ MOU กับเขตพระนครว่า ถ้ามีเอกสารยืนยันจากเขตไปแสดงว่า อิสรชนได้สักถามพูดคุยเป็นการยืนยันให้ เพื่อทำบัตรประชาชน

            สิ่งที่กรุงเทพมหานครถ้ามีความจริงใจจริง ๆ คือระบบขั้นตอนที่พอแสกนลายนิ้วมือแล้วใช่คุณต้องให้เขาทำบัตรได้ เขาคงไม่ไปตัดนิ้วมือใครมาทำหรอก สายนิ้วมือมันลอกกันไม่ได้ อีกส่วนคือทัศนคติของเจ้าหน้าที่ที่ต้องไม่กดทับคน การมีบัตรก็จะทำให้คนอยากไปทำบัตรและกล้าที่จะทำบัตรมากขึ้น ไม่ใช่ไปแก้ไขในสิ่งที่เขาทำกันอยู่แล้ว เหมือนการวิ่งตามปัญหาอยุ่แบบนี้คุณกรุงเทพมหานคร

 

เขียนและเรียบเรียงโดย อัจฉรา สรวารี

 

หมายเลขบันทึก: 449867เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท