5 วิธีป้องกันหนี้ท่วมหัว [EN]


สำนักข่าว USA Today ตีพิมพ์เรื่อง '5 tips to staying under your own debt ceiling' = "5 เคล็ดลับ (ทิปส์) รักษาหนี้ไม่เกินเพดาน" = "5 วิธีป้องกัน หนี้เกินตัว / หนี้ท่วมหัว", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 
ช่วงนี้รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังประสบปัญหา 'debt ceiling' หรือหนี้สินชนเพดานที่กฎหมายกำหนด คือ $14.3 trillion = 14.3 ล้านล้านดอลลาร์ฯ = 429 ล้านล้านบาท
.
ผลคือ เสี่ยงต่อการชำระหนี้ไม่ทันกำหนด (default) หรือต้องขอต่อรองรัฐสภา เพื่อเพิ่มเพดานหนี้ และ/หรือ ตัดลดงบประมาณ ภายในวันที่ 2 สิงหาคม 2554
  • [ default ] > [ ดี - เฟ่า' - t ] > http://www.thefreedictionary.com/default > noun, verb = (การ)ชำระหนี้ไม่ทันกำหนด; ค่าตั้งต้น (สำหรับคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึงค่าที่ตั้งมาจากโรงงาน)
อาจารย์เดฟ คาร์เพนเทอร์ จากสำนักข่าว AP แนะนำวิธีป้องกันนี้ท่วมหัวไว้ 5 ข้อได้แก่
.
(1).  เฝ้าระวังหนี้รวม
.
มูลนิธิที่ปรึกษาเครดิตแห่งชาติสหรัฐฯ แนะนำว่า ค่าใช้จ่ายเรื่องบ้าน รวมทั้งการจำนอง (เอาบ้าน ที่ดิน ฯลฯ ไปค้ำหนี้ไว้) รวมไม่ควรเกิน 30%, และหนี้สินอื่นๆ เช่น บัตรเครดิต ผ่อนรถ ฯลฯ ไม่ควรเกิน 20% = ไม่เกิน 50% ของรายได้รวม
.
และถ้าจะให้ปลอดภัยจริงๆ แล้ว... ยอดหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือบุคคล ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้รวม
.
ปัญหาที่พบบ่อย คือ คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะมีบ้าน ที่ดิน หรือรถใหญ่ (แพง) เกินตัว (คิดจากรายได้รวมหลังหักภาษี), ถ้าเราเลือกบ้าน-ที่ดิน-รถเล็กลงหน่อย จะทำให้ชีวิตเบาไปแยะเลย
.
และอย่าชะล่าใจ (โดยเฉพาะคนที่ใจดี มีน้ำใจ หรืออ่อนโลก)... อย่าไปเซ็นต์ชื่อค้ำประกันเงินกู้คนอื่น หรือถ้าค้ำฯ จะต้องเผื่อเงินสำรองไว้จ่ายแทนคนกู้ด้วยเสมอ
.
(2). ทำความเข้าใจเรื่องผลของหนี้ต่อชีวิต
.
โลกใบนี้ไม่มีของฟรีที่แท้จริง ดังมีคำกล่าวว่า "ของถูกมักจะ(มีราคา)แพง และของฟรีมักจะแพงที่สุด"
.
ธรรมดาของโลกข้อหนึ่ง คือ "คนเป็นหนี้มักจะจ่ายแพงกว่าเสมอ" เพราะนี่เป็นธรรมเนียมธุรกิจ เช่น คนที่มีหนี้อยู่แล้วจะไปกู้เพิ่ม มักจะถือว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนใหญ่ต้องคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ฯลฯ
.
นายจ้างสหรัฐฯ 60% ตรวจสอบเครดิตก่อนรับเข้าทำงาน, ทางที่ดี คือ อย่ามีหนี้เกินตัว และจ่ายหนี้ตรงเวลา เพื่อป้องกันคะแนนเครดิตหดหาย
.
(3). ระวังเงินกู้ที่ได้มาง่ายๆ
.
ระวังเงินกู้ที่ได้มาค่อนข้างง่าย เช่น เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา นำบ้าน-ที่ดินไปจำนอง ฯลฯ, ข้อมูลสหรัฐฯ พบว่า นักศึกษาที่กู้เงินเรียนมีแนวโน้มจะต้องผ่อนนานขึ้น เนื่องจากคนจบปริญญาที่นั่นมีโอกาสตกงาน 9.2% แถมคนที่ได้งานยังได้เงินเดือนน้อยกว่าที่คาดหวังด้วย
.
อันตรายอย่างหนึ่งของการนำบ้าน-ที่ดินไปจำนอง คือ ของแบบนี้ราคาตกได้ โดยเฉพาะยุคที่เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ (เช่น สหรัฐฯ ฯลฯ)
.
(4). อย่าผ่อนบัตรเครดิต
.
เงินผ่อนมักจะทำให้คนเสี่ยงต่อการใช้จ่ายเกินตัว (ถึงไม่มีหนี้ก็จะทำให้เงินออม-ลงทุนลดลง)
.
หนี้บัตรเครดิตไม่ได้คิดดอกเบี้ยถูกแบบเงินฝากออมทรัพย์ (ประมาณ 1%), ทว่า... ตกประมาณ 14.42% ในสหรัฐฯ (20% ในไทย)
.
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ของที่อาจจะผ่อนนานได้ คือ บ้านกับรถ, หนี้สินอื่นๆ ไม่ควรเป็นหนี้สินระยะยาว เนื่องจากยิ่งยาว ดอกเบี้ยยิ่งบาน คือ เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้ว, ไม่ควรใช้เวลาผ่อนเกิน 12-18 เดือน
.
กล่าวกันว่า ความสำเร็จอย่างหนึ่งของประเทศที่พูดภาษาเยอรมัน (สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย ฯลฯ หรือกลุ่มยุโรปกลาง) คือ ขยัน ใฝ่รู้ ซื่อสัตย์ และประหยัด จนมีคำกล่าวว่า ชาวสวิตฯ ไม่นิยมซื้อเงินผ่อน, อยากได้อะไรก็ออมจนมีครบ แล้วจึงซื้อ 
.
(5). ใส่ใจกับค่าธรรมเนียม และตัวอักษรตัวเล็กๆ
.
กล่าวกันว่า ถ้าจะไปแบงค์ (ธนาคาร) หรือสมัครบัตรเครดิตให้พกแว่นขยายไปด้วย จะได้อ่านเรื่องค่าธรรมเนียม-ค่าใช้จ่ายสารพัดที่นิยมพิมพ์ด้วยตัวอักษรเล็กจิ๋ว และยาวเป็นหน้าๆ ได้หมด
.
ธรรมชาติของเงินอย่างหนึ่ง คือ "มีแรงดึงดูด" ซึ่งกฎที่ท่านเซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบทฤษฎีแรงดึงดูดโลกไม่ได้กล่าวไว้ คือ "เงินเล็ก (คนที่มีเงินน้อย) ย่อมถูกเงินใหญ่ (คนที่มีเงินมาก) ดึงดูดไปเสมอ"
.
การรักษาสุขภาพการเงินข้อแรก คือ ไม่สร้างหนี้เกินตัว, ข้อสอง คือ ใช้หนี้ให้เร็วที่สุด, ข้อสาม คือ ต้องออมและลงทุนให้เป็น
.
คนไทยจำนวนมากมีอาการ "เครียด-เศร้า-เหงา-เซง" จากโรคทรัพย์จาง-หนี้บาน, ในจำนวนนี้หลายๆ คนป่วยเป็นโรคตื่นตกใจง่าย (panic disorder) หลังถูกทวงหนี้
.
ผู้เขียนมีประสบการณ์เห็นคนใจดี มีน้ำใจท่านหนึ่งไปค้ำประกันเงินกู้คนอื่น แล้วคนกู้หนีหนี้ (พบหลายท่าน แต่ขอยกตัวอย่างเพียง 1 ราย)
.
ผลคือ เครียดจนป่วยเรื้อรัง เป็นโรคตื่นตกใจง่าย และอีกปีเศษก็เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองแตก (มักจะมีความดันเลือดสูงทันทีเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ)
.
คนโลภและคนลวงมักจะมองเห็นคนใจบุญเป็น "นา" ให้ไถเสมอ, ท่านที่ใจบุญสุนทานจึงต้องระวังคนที่ชมเชยท่านเป็นประจำเสมอ เพราะคำหวานนั้นอาจกลายเป็นอามิส (บาลี = เหยื่อ) ได้เช่นกัน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ] 

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 17 กรกฎาคม 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 449605เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณมากคะคุณหมอที่แนะนำสิ่งดีๆให้มาตลอดจะนำไปใช้ค่ะ

Really interesting ka, I would like to add "Never be in debt from mobile phone" - such technology is rapidly out of date , and its'price start decreasing since you walk out of the shop.

ขอบคุณครับ "ความเป็นเจ้าหนี้ เป็นลาภอย่างหนื่ง"

อามิส (บาลี = เหยื่อ'ล่อ' --bait--) [ให้เป็น เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย --victim-- same Thai words can have different meanings ;-) ]

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้แล้วจะนำไปใช้ในชีวิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท