มาตรการคว่ำบาตรตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๘๗๔


 

 

มาตรการคว่ำบาตรตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๘๗๔    

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council, UNSC) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นำเอามติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๘๗๔ มาใช้เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ค.ศ.๒๐๐๙  กำหนดให้คว่ำบาตรเกาหลีเหนือทั้งทางด้านการเงิน การทหาร และการค้า  ซึ่งเป็นมาตรการที่เข้มข้นมากกว่ามติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๗๑๘  จีนเป็นพันธมิตรเพียงหนึ่งเดียวของเกาหลีเหนือ ความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เกาหลีเหนือได้รับล้วนมาจากจีน และจากการที่จีนและรัสเซียได้แสดงความเห็นชอบต่อมาตรการปิดล้อมทางด้านการเงินและการค้าต่อเกาหลีเหนือด้วย จึงทำให้มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิผล

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี (Executive Order)  เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ค.ศ.๒๐๑๐  เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินแก่เกาหลีเหนือ และสั่งอายัดทรัพย์สินของชาวเกาหลีเหนือที่อยู่ในสหรัฐฯ จำนวน ๔ ราย และทรัพย์สินของอีก ๘ บริษัท ที่ส่งรายได้จากการทำธุรกิจที่ผิดกฎหมายไปสนับสนุนรัฐบาลเกาหลีเหนือ  นายสจวร์ต เลวีย์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า คำสั่งดังกล่าวนี้ จะช่วยติดตามธุรกิจที่ทำให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเกาหลีเหนือร่ำรวย ในขณะที่ประชาชนชาวเกาหลีเหนือกลับได้รับความเดือดร้อนจากความยากจน  

รายงานล่าสุด เมื่อ ๘ ส.ค.๒๐๑๑  เกาหลีเหนือระบุว่า หากสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์ และทำให้คาบสมุทรเกาหลีเป็นเขตปลอดนิวเคลียร์ ก็ควรยกเลิกแผนการซ้อมรบร่วม-ผสม รหัส Ulchi Freedom Guardian Exercise ระหว่าง ๑๖ - ๒๕ ส.ค.๕๔  เนื่องจากแผนการซ้อมรบดังกล่าวเป็นการเตรียมการเพื่อรุกรานเกาหลีเหนือ และทำสงครามนิวเคลียร์ พร้อมเตือนว่า ประเทศทั้งสองจะไม่ปลอดภัยหากเกิดสงครามนิวเคลียร์ครั้งใหม่ และเกาหลีเหนือพร้อมตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน  ท่าทีของเกาหลีเหนือดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ทุกฝ่าย พยายามรื้อฟื้นการเจรจา ๖ ฝ่าย เพื่อยุติโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ 

 

สรุป 

          ตลอดระยะเวลา ๑๖ ปีมานี้ ความพยายามปลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น ซึ่งการสร้างความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลีให้เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนนั้น ย่อมต้องอาศัยการเจรจา ๖ ฝ่าย เป็นกลไกหลักที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเกาหลีเหนือมาร่วมวงเจรจาด้วย  นโยบายที่สหรัฐฯ ได้นำมาใช้ในการนี้คือ ความอดกลั้นเชิงยุทธวิธี (Strategic Patience)” ซึ่งได้แก่ การรอคอย และ การติดตามผล (Wait and Follow)”  ในขณะที่เกาหลีใต้ใช้ยุทธศาสตร์ การละเลยที่เมตตา (Benign Neglect)”  ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จในการสร้างความมั่นคงให้แก่คาบสมุทรเกาหลี  การทดลองอาวุธนิวเคลียร์จะเกิดขึ้นอีก เป็นครั้งที่ ๓  และการปะทะกันทางทะเลก็จะยังเกิดขึ้นอีก  สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเจรจากับเกาหลีเหนือ เพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ออกจากคาบสมุทรเกาหลี 

 

 

  

ดร.จักษวัชร  ศิริวรรณ      

หมายเลขบันทึก: 449296เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกระบวนการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ - มาตรการ ... อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ หรือ ไม่ส่งผลก็ได้ขึ้นกันรัฐบาลที่จะทำอย่างไร มีวิธีการป้องกันอย่างไร เพื่อไม่ให้ไฟที่กำลังติดที่นอกบ้านไม่ลามเข้ามาในบ้าน เพื่อให้ประเทศชาติของเราอยู่รอดต่อไปได้ แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีแนวคิดหรือวิธีการที่ดี ไฟที่ติดนอกบ้านก็อาจจะลามเข้ามาในบ้านโดยที่เราอาจจะไม่มีเวลาเตรียมตัว หรือเตรียมแต่อาจจะไม่ัทัน ตั้งนั้น ประชาชนภายในประเทศก็ต้องมีการป้องกันตัวเองก่อนโดยการเก็บเงินเอาไว้ที่ตัวมากกว่าที่จะเอาไปลงทุน เพราะช่วงนี้ไม่เหมาะกับการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง

นาย สุธิลักษม์ เธียรธนรุจน์

รหัส 5124310186 รปศ. ปี4

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท