การบำรุงสายตาสำหรับคนเข้าสู่วัยทองเพราะทั้งสายตาสั้นและสายตายาว


สุขภาพของคนวันทองนี้จะมีผลกระทบกับสุขภาพของสายตาเพราะอยู่ในระหว่างสายตาสั้น และ กล้ำกึ่งสายตายาว ดังนั้น เพื่อให้คนวัยทองได้มีสายตาไว้ใช้งานอย่างยาวนาน จึงควรทราบสาเหตุที่มา หาวิธีการบำรุงหรือฟื้นฟูสายตา และ การถนอมรักษาสายตา

การบำรุงสายตาสำหรับคนเข้าสู่วัยทองเพราะทั้งสายตาสั้นและสายตายาว

                คนที่เข้าสู่วัยทองก็คือผู้ที่มีอายุย่างเข้าสู่วัยกลางคน ซึ่งสุขภาพของคนวันทองนี้จะมีผลกระทบกับสุขภาพของสายตาเพราะอยู่ในระหว่างสายตาสั้น และ กล้ำกึ่งสายตายาว ดังนั้น เพื่อให้คนวัยทองได้มีสายตาไว้ใช้งานอย่างยาวนาน จึงควรทราบสาเหตุที่มา หาวิธีการบำรุงหรือฟื้นฟูสายตา และ การถนอมรักษาสายตา โดยมีรายละเอียดดังนี้

สาเหตุของสายตาสั้นและสายตายาว

- คนสายตาสั้น เกิดจากลูกตามีขนาดความยาวเกินกว่าขนาดโฟกัสของเลนส์แก้วตาและ กระจกตา ภาพจากวัตถุในระยะไกลจะตกก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้เห็นภาพพร่ามัว สาเหตุของการสายตาสั้น เกิดจากสาเหตุต่างๆ คือ (http://www.lovelylens.com/content-ความรู้เกี่ยวกับสายตา(RefractiveStatusOfTheEye)-4-1582-25518-1.html)

1. เกิดจากลูกตามีขนาดใหญ่หรือยาวเกินไป ( Elongated Eyeball )

2. มีกระจกตาที่โค้งมากผิดปกติ ( Shape of the Cornea too steep)

3. เกิดจากพันธุกรรม ( Heredity )

4. ขาดหรือได้รับวิตามิน เอ น้อยเกินไป ( Vitamin A Deficiency ) ลักษณะการโฟกัสแสงของสายตาสั้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดสายตาสั้น เช่น ใช้สายตาในที่แสงสว่างไม่เพียงพอติดต่อกันนาน ๆ ( Improper use of vision ) , เด็กที่คลอดก่อนกำหนด (Premature) , คนไข้ที่เป็นต้อกระจกในระยะเริ่มแรก ( Acquired Myopia ) , ผลข้างเคียงของโรคบางชนิด

- คนสายตายาว คือ คนที่มีระบบการหักเหอ่อนเกินไป แสงที่มาจากวัตถุ หรือภาพที่เกิดขึ้นจากวัตถุที่เรามองจะตกไปอยู่หลังจอตา ถ้าวัตถุที่เราดูนั้น ยิ่งอยู่ใกล้ตาเรามากเท่าใด ภาพที่จะเกิดขึ้นก็จะยิ่งตกลงหลังจอตาไกลมากออกไปอีกเท่านั้น จะทำให้มองสิ่งที่อยู่ใกล้ไม่ชัด โดยสาเหตุของการสายตายาวลักษณะ “Presbyopia” เกิดจากสาเหตุต่างๆ คือ

  1. สายตายาวแบบสูงวัย เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อตาที่ยึดเลนส์นัยน์ตาเริ่มเสื่อมจากที่เคยยืดหยุ่นดีๆ เริ่มเสื่อมลง ความยืดหยุ่นก็น้อย การปรับโฟกัสในตาของเราให้ได้ระยะชัดจึงยากขึ้น โดยเฉพาะการมองในระยะใกล้ๆ ประมาณ 1 ฟุต
  2. ท่าทางในการอ่านหนังสือของคนสายตายาวแบบนี้มักถือห่างออกไปไกลๆ เมื่อใช้สายตากับการมองสิ่งใกล้ๆ นานๆ จะรู้สึกว่าดวงตาเมื่อยล้า นอกจากนี้ยังรู้สึกว่า อ่านหนังสือตอนเช้าสบายตากว่าช่วงตอนเย็น
  3. ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเกิดขึ้นกับคนในวัย 38-40 ปี เกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าใช้สายตามากน้อยแค่ไหน

 

อาหารบำรุงสายตา อาหารเสริมบำรุงสายตา

(http://www.healthmee.com/ForumId-61-ViewForum.aspx)

 

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่ในการมองเห็นโดยการส่งสัญญาณภาพไปยังสมองเพื่อแปรภาพที่มองเห็น ดวงตาทำให้คนเราดำเนินชีวิตประจำวันได้สะดวก มองเห็นสีสันความสวยงามของโลกและบ่งบอกถึงความรู้สึกที่ส่งผ่านออกมาทางสายตา ด้วยความที่ดวงตาเป็นอวัยวะที่บอบบาง จึงต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับสายตาที่อาจทำให้สายตาเสียระบบการมองเห็น ทำงานไม่เต็มที่หรืออาจทำให้สูญเสียดวงตา ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องบำรุงรักษาดวงตาให้อยู่คู่กับเราตราบนานเท่านาน

โภชนาการและการบำบัดแบบธรรมชาติ

-  กินอาหารเพื่อสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ ครบทั้ง 3 มื้อ อย่างสมดุลเพื่อบำรุงสุขภาพดวงตา

-  เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ปลา และอาหารที่ไขมันต่ำ ช่วยบำรุงรักษาดวงตาให้คงอยู่นาน

-  วิตามินเอ เป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อดวงตา ช่วยบำรุงสายตาและการมองเห็นทั้งในที่สว่างและที่มืด แหล่งอาหารที่พบได้แก่ แครอต น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ ผักใบเขียว ผักผลไม้ที่มีสีเหลือง ไข่ นม เนย

-  กินผักใบเขียว และผลไม้ที่รสอมเปรี้ยว เช่น ส้ม มะเขือเทศ มะนาว สับปะรด คะน้า บร็อกโคลี กระหล่ำปลี ซึ่งล้วนอุดมด้วยวิตามินซี ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา

-  อาหารที่อุดมด้วยซัลเฟอร์ (Sulfur) เช่น ไข่ กระเทียม หน่อไม้-ฝรั่ง ช่วยบำรุงสายตา และรักษาสายตาให้เป็นปกติ

-  กรดไขมันโอเมก้า -3 และ 6 ช่วยป้องกันตาแห้ง พบในน้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันปลา เป็นต้น

-  พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกาย เป็นประจำ

วิตามินเสริม

-  กินวิตามินเอวันละ 4,000 – 5,000 ไอยู ช่วยรักษาสายตา ทำให้ตาเปล่งประกาย ป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตา

-  วิตามินบี 2 ควรกิน  100 – 300  มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยบำรุงสายตา และลดความเหนื่อยล้าจากการใช้สายตามาก

-  วิตามินซี ควรกิน 500  มิลลิกรัมต่อวัน วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันกันสันดาปของเซลล์ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก ตาบอดเฉียบพลัน

•    หมายเหตุ การกินวิตามินเสริมควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจมีผลข้างเคียง

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ลดการกินอาหารที่มีความหวาน น้ำตาลทรายขาว
  • ไม่ควรกินอาหารเผ็ดร้อนจัด อาจทำให้สายตาสั้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัวสูง ไขมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว
  • จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนให้น้อยลง

 

การดูแล และ การถนอมสายตา

วิธีดูแลใส่ใจสุขภาพดวงตา 7 ประการ (http://www.halalthailand.com/healthy/subindex.php?page=content&category=&subcategory=2&id=128)

      1. ครอบดวงตา ด้วยการโค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉย ๆ ระวังอย่าให้อุ้งมือกดทับดวงตา นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เช่น วันพักผ่อนสุดสัปดาห์ตามป่าเขาหรือชายทะเลอยู่ในท่านี้สักประมาณ 10 นาที

      2. ต่อจากท่าที่ 1 ยังคงครอบดวงตาอยู่แล้ว สร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ชัดเจน เช่น มองเห็นดอกเบญจมาศสีเหลืองสวย เห็นกลีบดอกแต่ละกลีบละเอียดชัดเจน สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริง ๆ ของเราได้เป็นอย่างดี

      3. กวาดสายตา มองแบบไม่ต้องจ้อง เพราะคนที่สายตาสั้นมักจะจ้องและเขม้นตา กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย

      4. กะพริบตา ฝึกนิสัยให้กะพริบตา 1-2 ครั้ง ทุก 10 วินาที ช่วยให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำเหลืองหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ยิ่งจำเป็น

      5. โฟกัสภาพที่ใกล้และไกล เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด ตั้งนิ้วชี้มือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ขณะเดียวกันตั้งนิ้วชี้มือขวา ให้ห่างจากใบหน้า สัก 3 นิ้ว โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา ทำบ่อย ๆ เมื่อโอกาสอำนวย

      6. หลังตื่นนอนทุกเช้าให้ใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่นสัก 20 ครั้ง สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดีขึ้น การวักน้ำเย็นช่วยให้กล้ามเนื้อดวงตาและหนังตากระชับไม่หย่อนยาน ก่อนเข้านอนให้กวักน้ำชโลมดวงตาอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้ชโลมด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วตามด้วยน้ำอุ่น จะทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตาได้ผ่อนคลายก่อนเข้านอน

      7. แกว่งตัว ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ แกว่งตัวไปมาจากซ้ายไปขวา ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา สายตามองไปไกลๆ แต่ไม่ต้องจ้อง ปล่อยให้จุดที่เรามอง แกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พัก และมีการปรับตัวดีขึ้น ทำบ่อย ๆ เมื่อมีโอกาส เปิดเพลงคลอไปด้วยก็ได้

 

เคล็ดลับวิธีการถนอมรักษาสายตา

(http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=786&sub_id=65&ref_main_id=15)

  1. บำรุงสายตาด้วยการกินอาหารที่มีวิตามินเอเป็นประจำ เช่น ในตับ ไข่แดง นม เนย ปูทะเล น้ำมันสกัดจากตับปลา ผักใบเขียวจัด ผักผลไม้สีส้ม และสีเหลือง เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง ผักตำลึง ผักโขม ผักคะน้า บร็อกโคลี่ แครอต ใบยอ ใบโหระพา ใบบัวบก ชะอม กระถิน พริกขี้หนู มะละกอ มะม่วงสุก
  2. พักสายตาหลังจากคร่ำเคร่งกับการใช้สายตาเป็นเวลานาน ควรพักด้วยการทอดสายตามองไปที่ไกลๆ สักระยะ
  3. ควรสวมแว่นกันแดดป้องกันรังสียูวี และแสงเข้าตา
  4. เวลาเมื่อยล้า หรือรู้สึกปวดตา ใช้ปลายนิ้วคลึงวนรอบคิ้ว และรอบดวงตา ไม่คลึงกดตรงเปลือกตา
  5. เลือกหนังสือที่พิมพ์จากกระดาษสะท้อนแสงน้อย เพื่อการถนอมดวงตา และไม่อ่านหนังสือขณะนั่งรถ เพราะว่าต้องมาปรับระยะโฟกัสอยู่ตลอดเวลาที่รถเคลื่อนไป
  6. นั่งดูโทรทัศน์ห่างจากจอ 4-5 เท่าของความกว้างโทรทัศน์
  7. สวมแว่นว่ายน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันคลอรีนในสระว่ายน้ำ
  8. การทำงานที่ต้องใช้สายตา ควรอยู่ในจุดที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อสายตาจะได้ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
  9. ตรวจวัดสายตาปีละครั้ง เพื่อดูว่าสายตาเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างแล้ว หากสายตาเปลี่ยนจะได้เปลี่ยนเลนส์แว่นตาที่เหมาะสมกับสายตาต่อไป

 

สิ่งที่ควรทำเป็นนิสัยสำหรับคนสายตาสั้น

             นิตยสารด้านสุขภาพของอเมริกานำเสนอวิธีช่วยบำบัดอาการสายตาสั้นให้ดีขึ้น  โดนยืนยันว่าหากคุณได้ลองนำไปปฏิบัติทุกๆวัน เป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 อาทิตย์ จะรู้สึกเลยว่าสายตาของคุณดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด...และนี่ก็คือหัวข้อแรกที่ว่าด้วยเรื่องการปรับเปลี่ยนนิสัย  เพื่อจะช่วยให้สายตาของคุณดีขึ้น (http://www.formumandme.com/article.php?a=1065)

1. สวมแว่นสายตาเมื่อจำเป็นเท่านั้น  พยายามอย่าสวมแว่นเมื่อไหร่ก็ได้  เพราจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อตา และระบบประสาทรอบดวงตาของคุณรู้สึกผ่อนคลาย

2. วิธีอ่านหนังสืออย่างถูกต้อง  คือต้องถอดแว่นออกทุกครั้ง  แล้วพยายามอ่านหนังสือโดยที่ให้ตาทั้งสองข้างอยู่ห่างจากหนังสือมากที่สุด  แต่ต้องเป็นระยะที่สามารถอ่านหนังสือได้อย่างชัดเจน  หากทำจนเป็นนิสัยแล้ว  จะรู้สึกว่าคุณจะค่อยๆสามารถอ่านหนังสือได้ห่างมากขึ้นไปเรื่อยๆ (สำหรับคนที่สายตาสั้นไม่เท่ากัน  ระยะห่างที่ชัดเจนของตาแต่ละข้างนั้นค่อนข้างจะต่างกัน ดังนั้นเวลาอ่านหนังสือให้ใช้มือข้างใดก็ได้ปิดตาไว้ข้างหนึ่งแล้วค่อยๆอ่านด้วยตาทีละข้างสลับกันไป  แต่ถ้าสายตาต่างกันเพียงนิดเดียว  อ่านพร้อมกันทั้งสองข้างเลยก็ได้)

3. กะพริบตาให้บ่อยประมาณ 1 ครั้ง ต่อ 10 วินาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อตารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

 

.... การถนอมสายตาไม่ให้สั้นอย่างถาวร และ สายตายาวที่ยาวนาน ก็ควรรู้จักวิธีการบำรุงรักษาและดูแลอย่างถูกวิธีนอกจากสุขภาพร่างกายของคนวัยทองครับ สู้ๆ ....

 

 

หมายเลขบันทึก: 449255เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในเรื่องอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง นั้น น้ำมันมะพร้าว มีประโยชน์นะครับ น่าจะไม่ต้องหลีกเลี่ยง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท