จันทมณี
นางสาว จันทมณี ขวัญ แก้วมณี

“นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน”


 

บทความ  “นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน”
                 ความล้มเหลวของการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา อัลเบิร์ต อาร์โนลด์ "อัล" กอร์ จูเนียร์ (Albert Arnold "Al" Gore Jr.)¹ นอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเกิดจากการกระทำมนุษย์ ทำลายชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้างปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล การที่มนุษย์ยังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าซึ่งไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา อันหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาพ ความสามารถที่จะรองรับการอุปโภค บริโภค และการใช้ประโยชน์จากโลก และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภค และใช้ประโยชน์หมดลง อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกจะต้องจบสิ้นเพราะมนุษย์จะไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้อี­กต่อไปหากมนุษยชาติบนโลกได้มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้ เรียนรู้ค่านิยมมีพฤติกรรมและรูปแบบของชีวิตที่ตนพึงพอใจเพื่อ อนาคตที่ยั่งยืนและเพื่อสร้างสังคมที่ดีงามการพัฒนาทางการศึกษา ที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบ

              “การพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน” หมายถึง “การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคน     เน้นความสามารถในการพึ่งตนเอง เป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและธรรมชาติ ยั่งยืน ถ้าหากมนุษย์ทุกคนในโลกได้มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้เรียนรู้ค่านิยมมีพฤติกรรม และรูปแบบของชีวิตที่พึงพอใจ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและสร้าง สังคม ที่ดีงาม จึงพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืนตามวิธีการของ Le .Methodดังนี้

Le .Method นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน 
             1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเองโดย 
·   โรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้เตรียมความพร้อมทุกด้าน

·    ทุกหน่วยงานในสังคมมีบทบาทในการจัดการศึกษาเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนสามารถศึ­กษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง                

·   การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน ในลักษณะของการบูรณาการ สอดคล้องกับวิถีชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ 
·   หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตจะต้องครอบคลุมบทบาทของมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย 
·    การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยจะต้องเกื้อกูลกัน ทุกคนมีโอกาสศึกษา หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 
           2. ความเสมอภาค (equality) ความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน     คือการให้สิทธิและโอกาสในการรับการศึกษาแก่ทุกกลุ่มคนในสังคม โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายสถานะบุคคลทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ความสมานฉันท์  หรือการร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปัญหา  เสมอภาคโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ไม่ดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน รวมทั้งไม่เอารัดเอาเปรียบกัน  จึงต้องมีขอบเขตในการที่จะไม่ก้าวล้ำ  ไม่ละเมิดต่อผู้อื่น  มีโอกาสที่จะใช้เสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน  

สรุป

       คนคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในโลก  คนเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งของโลก แต่คนจะมีคุณค่ายิ่ง หากรู้จักประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษา เพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืนคือการที่ทุกคน มีโอกาส ได้รับการศึกษา ที่มีคุณภาพ และเรียนรู้ค่านิยม วิถีปฏิบัติ และ แนวการดำรงชีวิต ที่จำเป็น ต่ออนาคตที่ยั่งยืน และ การเปลี่ยน แปลงทางสังคมที่ดี การศึกษาคือทางออกสำหรับทุกๆด้านที่มีปัญหา ทุกปัญหาแก้ได้ด้วยการศึกษา การปลูกฝังด้านต่างๆ ก็อยู่ที่การศึกษาเพราะการศึกษา เป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการเรียนรู้และพัฒนาที่ยั่งยืน

 

นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน..”. [ออนไลน์].  

         เข้าถึงได้จาก: http://kiatsudajoy.igetweb.com/index.php?mo=3&art=453218

  

 

หมายเลขบันทึก: 449224เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท