ข้อสังเกต เกี่ยวกับการเตรียมตัวและประโยชน์ของการอ่านคดีพิพาทในกกฎหมายระหว่างประเทศ


นักกฎหมายจำเป็นต้องรู้ทั้งทฤษฎี และแนวปฏิบัติ

การอ่านคดีพิพาทในกฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีคุณค่ามาก เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ศึกษากฎหมายเห็นภาพการบังคับใช้กฎหมายตามความเป็นจริงมากขึ้น ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับอ่านคดีพิพาทในทางระหว่างประเทศมานำเสนอดังนี้

...............................................................................................................

ก่อนอ่านคดีพิพาทในทางระหว่างประเทศมีสิ่งที่นักกฎหมายควรเตรียมตัวดังนี้

๑. ผู้ศึกษากฎหมายจะต้องเข้าใจลักษณะของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือที่เรียกว่าโลก ว่า การพิจารณาพิจารณาคดีของศาลนั้น มีลักษณะคล้ายการตัดสินคดีของศาลในระบบ Common law  ซึ่งผู้พิพากษาแต่ละท่านต้องเขียนคำตัดสินและให้เหตุผลในประเด็นพิพาทเพราะเหตุผลในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนี้เองมีฐานะเป็นทั้งตัวอย่างการใช้กฎหมาย และเป็นที่มาลำดับรองของกฎหมายระหว่างประเทศ  (ในสังคมระหว่างประเทศไม่มีศูนย์กลางอำนาจในการออกกฎหมาย ทำให้กฎหมายระหว่างประเทศยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งต่างจากกฎหมายภายในประเทศ ที่กฎหมายภายในนนั้นมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยเฉพาะในกฎหมายแพ่ง) หรือหากนักกฎหมายไทยจะเปรียบเทียบระบบการทำคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็อาจเทียบได้กับ ศาลรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายไทย ที่มีการทำคำพิพากษาแยกของผู้พิพากษาแต่ละนาย และคำพิพากษากลาง

๒. ต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคดี และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสังคมโลกในช่วงนั้นๆ  เช่น การอ่านคดี North sea continental shelf 1969  นั้น ผู้ศึกษาควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ยังไม่มีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล 1982 ทำให้หลักกฎหมายบางอย่างที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่นการแบ่งอาณาเขตทางทะเล ด้วย หลัก Equidistance หรือ ที่เรียกว่าเส้นมัธยะ นั้นยังไม่ถูกยอมรับว่าเป็นจารีต  และถึงแม้ปัจจุบันกฎตามอนุสัญญากฎหมายทะเลก็ไม่ได้ใช้หลัก Equidistanceในการแบ่งพื้นที่ไหล่ทวีป แต่กลับใช้หลัก Equitable ในการแบ่ง ซึ่งการที่จะทราบข้อมูลในส่วนนี้ได้ ผู้ศึกษาอาจจะต้องยอมใช้เวลาในการอ่านหนังสือในเรื่องหลักกฎหมายทะเลประกอบ

ยิ่งกว่านั้นการที่ผู้ศึกษาจะเข้าใจไหล่ทวีปได้นั้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการแบ่งอาณาเขตทางทะเล ที่อาจจะไม่จำเป็นต้องลึกซึ้งมาก (สำหรับตัวผู้เขียนนั้น ความรู็เกี่ยวกับการแบ่งอาณาเขตทางทะเล ได้ศึกษามาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ในรายวิชา ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจโลก/ สังคมศึกษาแล้ว ผู้เขียนไม่ทราบว่านิสิตนักศึกษาสมัยนี้ยังได้มีการเรียนอยู่หรือไม่ โดยส่วนตัวผู้เขียนเห็นว่าคนที่จะเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศได้ดีนั้น ควรที่จะสนใจศึกษา วิชาสังคมศึกษา และข่าวสารรอบตัว โดยเฉพาะข่าวต่างประเทศ)  ในส่วนของหลัก กฎหมายต่างๆ ซึ่งเป็นของใหม่สำหรับผู้เริ่มศึกษานั้น ผู้เขียนแนะนำว่า หากผู้ศึกษาไม่เข้าใจสามารถคุยสอบถามกับอาจารย์ผู้สอนได้ เพื่อให้ท่านชี้แนะได้ หรือ อาจจะใช้การค้นหาข้อมูลผ่านwebsite google ก็ได้ แต่อาจจะลำบากเล็กน้อยหากผู้ศึกษาไม่มีความรู็พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ พอสมควร

๓ ต้องทราบว่าคดีที่กำลังศึกษานั้นผู้ศึกษากำลังมุ่งที่จะศึกษาในประเด็นใด เช่น  ในการจำแนกประเภทของจารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้น อาจจำแนกได้ 2 แบบ คือ จารีตประเพณีที่มีลักษณะสากล ผูกพันรัฐทุกรัฐ และจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่มีลักษณะท้องถิ่นผูกพันเฉพาะรัฐบางรัฐ ซึ่งเห็นได้จากคำพิพากษาในคดี Right of Passage over Indian Territory  และคดี Asylum Case  ซึ่ง ที่จริงแล้วในทั้งสองคดีนั้น มีประเด็นกฎหมายอื่นๆอีกมาก และหากผู้ศึกษา ต้องการอ่านคดีเพื่อศึกษาประเด็นเฉพาะบางประเด็น การสามารถเลือกอ่านในส่วนประเด็นนั้น รวมทั้งเหตุผลในประเด็นที่ศาลให้ด้วย

 

๔ การอ่านคดีเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถที่จะนำองค์ความรู้และหลักกฎหมายมีใช้ได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีวิธีการเพื่อช่วยจำ นั่นคือ การสรุปย่อคดี ทั้งนี้ เราอาจจะทำเป็นตารางสรุปคดี (กดเพื่อDownload)ง่ายๆ ดังนี้

 

 

(ยังไม่จบ)

หมายเลขบันทึก: 449213เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท