cha
นางสาว มาลินี cha โต๊ะหลี

การถ่ายภาพกลางคืน


แสงคือหัวใจของการถ่ายภาพ ที่ใดไม่มีแสงที่นั่นก็ถ่ายภาพไม่ได้ การถ่ายภาพตอนกลางคืน เราหาแหล่งกำเนิดแสงให้กับภาพได้ยากดังนั้นทางที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพตอนกลางคืน คือพยายามถ่ายในที่ซึ่งมีแสงไฟให้สว่างที่สุดเท่าที่เป็นได้อันนี้เป็นพื้นฐานอันดับแรกของการถ่ายภาพตอนกลางคืน อย่าไปถ่ายในที่มืดๆให้ถ่ายในที่สว่างๆเข้าไว้

การถ่ายภาพกลางคืน

   แสงคือหัวใจของการถ่ายภาพ ที่ใดไม่มีแสงที่นั่นก็ถ่ายภาพไม่ได้ การถ่ายภาพตอนกลางคืน เราหาแหล่งกำเนิดแสงให้กับภาพได้ยากดังนั้นทางที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพตอนกลางคืน คือพยายามถ่ายในที่ซึ่งมีแสงไฟให้สว่างที่สุดเท่าที่เป็นได้อันนี้เป็นพื้นฐานอันดับแรกของการถ่ายภาพตอนกลางคืน อย่าไปถ่ายในที่มืดๆให้ถ่ายในที่สว่างๆเข้าไว้
       ถัดมาก็เป็นเรื่องของการใช้แฟลช ช่วยให้ภาพที่ถ่ายตอนกลางคืนดูดีมากขึ้น แต่ต้องเลือกปรับกล้องให้เหมาะสมด้วย ปัญหาสำหรับการถ่ายภาพตอนกลางคืนที่พบบ่อยที่สุดคือการเปิดแฟลชแบบ Auto และเปิดระหว่างการทำงานของกล้องเป็น Full Auto ด้วย ซึ่งจะทำให้กล้องเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ค่อนข้างสูงเวลาเปิดแฟลช เช่น 1/60 วินาทีซึ่งไม่เพียงพอให้กล้องบันทึกแสงทางด้านหลังเข้าไปในภาพด้วยจึงทำให้ภาพที่บันทึกได้มีแต่ตัวคนหรือสิ่งของที่แฟลชยิงไปถึงเท่านั้น แต่ของทางด้านหลังอยู่ไกลออกไปจะกลายเป็นดำสนิท เพราะว่าความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเกินไปเป็นสาเหตุ
       ทางแก้ก็คือให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่า 1/60 วินาที แต่ต่ำมากก็ จะทำให้ภาพหรือสิ่งของที่เคลื่อนไหวในภาพสั่นเบลอไปด้วยเช่น คนที่ขยับตัว หรือคนที่เดินไปมา ดังนั้นความเร็วชัตเตอร์ที่แนะนำให้ถ่ายภาพตอนกลางคืนคือ 1/30 วินาที แต่ถ้าเสี่ยงไม่ได้ก็ให้ใช้1/15 วินาทีได้ แต่ภาพที่ได้คนและวัตถุต่างๆ ควรอยู่นิ่งๆ ให้มากที่สุด และที่สำคัญต้องใช้ขาตั้งกล้องด้วย ถ้าจะถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆแบบนี้
       การปรับตั้งสามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่แนะนำ คือให้ใช้โหมด หรือเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/30 วินาที (หรือ 1/15ถ้าจำเป็น) จากนั้นให้เปิด
ระบบแฟลชของกล้องไปที่ Flash ON (หรือ Slow Sync ถ้ากล้องคุณมีโหมดดังกล่าวอยู่ด้วย) ใช้ขาตั้งกล้องด้วยถ้าเป็นไปได้ และพยายามเลือกฉาก
หลังที่สว่างๆเข้าไว้ อย่าเลือกฉากที่มืดสนิท
        จากนั้นลองถ่ายภาพดูถ้าได้ภาพอย่างที่ต้องการแล้วก็ Ok แต่ถ้ายังไม่ได้แสงที่ฉากหลังเพียงพออย่างที่ต้องการแสดงว่าฉากหลังมีน้อยเกินไป
ถ้าเราจะลดความเร็วชัตเตอร์ลงอีกก็อาจจะทำไม่ได้แล้ว เพราะถ้าต่ำกว่านี้ภาพคนจะสั่นไหวแน่นอน จึงให้เราปรับที่ค่า ISO เพิ่มขึ้นมาแทน 
เช่น ถ้าปกติเปิดไว้ที่ ISO100 ก็ให้ลองขยับขึ้นมาเป็น ISO200 หรือสูงกว่านั้น ก้จะช่วยเพิ่มแสงให้กับบริเวณฉากหลังในภาพได้แต่การปรับค่า ISO
ขึ้นมาจะเกิดผลเสีย ทำให้ภาพที่ได้มีจุดรบกวน หรือ noise ในภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้วิธีนี้ในขั้นตอนสุดท้ายจริงๆ หลังจากที่ทำตามขั้นตอนแล้ว
ยังไม่ได้ผล ยังมีโหมดการถ่ายภาพในตอนกลางคืนอีกประเภทหนึ่งที่ใช้กันได้ ก็คือ โหมด Night Protrait  ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปคน แต่ฉากหลัง
จะมีแสงรูปดาว บางยี่ห้อจะเป็นรูปดวงจันทร์ เพียงเราเปิดโหมดนี้เท่านั้นกล้องก้จะปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมเอง คือจะใช้ความเร็วชัตเตอร์
ที่ค่อนข้างต่ำในขณะที่จะเปิดแฟลชเพิ่งยิงแสงไปที่วัตถุหลัก(ในที่นี้น่าจะเป็นบุคคลในภาพนั่นเอง) และความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำจะทำหน้าที่บันทึก
แสงบรรยากาศในภาพทางด้านหลังให้ติดเข้ามาในภาพด้วย และโหมดนี้จะไปเร่งค่า ISO ของกล้องขึ้นมาจากค่าปกติด้วยสำหรับในบางรุ่น 
             

คำสำคัญ (Tags): #การถ่ายภาพ
หมายเลขบันทึก: 449117เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท