ผลการจัดงาน KM กับบัณฑิตอุดมคติไทย : (5) AAR - สิ่งที่ท่านได้เกินความคาดหวัง


ได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง รู้สึกว่า KM ไม่ยากอย่างที่คิดไว้

         AAR จากโครงการการจัดการความรู้ของเครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 7- วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก

         2. สิ่งที่ท่านได้เกินความคาดหวัง

         - ได้แลกเปลี่ยนความรู้+ประสบการณ์ จากผู้ร่วมสัมมนาท่านอื่น ๆ

         - ได้เข้าใจคำว่า KM ได้ง่าย โดยที่ไม่ต้องอ่านหนังสือ

         - ได้ปฏิบัติจริง ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่ดีที่จดจำได้

         - ได้เข้าใจความรู้สึกของนักกิจกรรมนักศึกษา

         - ได้เข้ากลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         - ความน่าตื่นเต้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         - ได้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติงานจริงจากผู้ที่มีความรู้ต่างสถาบัน ได้คำแนะนำจากการปฏิบัติงานจริงโครงการต่าง ๆ ในการเสริมประสิทธิภาพและพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยเขตภาคเหนือ

         - ได้เครือข่ายเกี่ยวกับการทำ KM

         - ได้รู้เทคนิควิธีการที่ดี ในการนำความรู้จากประสบการณ์ของแต่ละคนมาเล่าแลกเปลี่ยนกัน

         - บรรยากาศในการ ลปรร. ดี มีมิตรภาพต่อกัน

         - ได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น และสามารถนำมาเป็นตัวอย่างหรือแนวทางในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้

         - ได้รู้จักหรือมีเพื่อนเพิ่มขึ้น

         - ได้ทราบว่า KnowledgeVolution คืออะไร มีประโยชน์ด้านใดบ้าง

         - ได้ทราบเทคนิคการจัดการ KM

         - ความรู้ที่ได้จาก Storytelling,  Key of success,  Knowledge Assets

         - ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง KM มากกว่าที่คาด

         - ได้รับความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้เข้าสัมมนา

         - ไอเดียบรรเจิด มิตรภาพที่ดีมาก ๆ

         - เครือข่าย

         - กำลังใจ และแนวทางที่จะทำงานกิจการนักศึกษาต่อไป และเพื่อน ๆ ในเครือข่ายสถาบันต่าง ๆ ในภาคเหนือ

         - ประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระยะเวลาที่จำกัด

         - การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์

         - ก็ได้เพิ่มเติมจริง ๆ จากที่รู้มานิดหน่อย

         - ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ KM ได้ขุมความรู้มากมาย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ลดระยะเวลาการไปเรียนรู้เอง

         - ได้รู้จักเพื่อนใหม่จากสถาบัน

         - ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของผู้มีประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และได้รับมิตรภาพจากเพื่อนใหม่

         - เครือข่ายของแต่ละสถาบัน จุดประกายความคิดในการที่จะนำไปใช้ในวิชาที่รับผิดชอบสอน คาดว่าน่าจะบูรณาการไปใช้ได้

         - ได้รับประสบการณ์การปฏิบัติจริงและได้เครือข่ายจาก มหาวิทยาลัยต่างสถาบันแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

         - ได้รับทราบความรู้เรื่อง KM และกระบวนการ กิจกรรมที่จะพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา

         - ได้รับความรู้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้รับฟังแนวความคิดใหม่ ๆ และรับทราบแนวนโยบาย การปฏิบัติ และผลที่ได้รับจากการจัดดำเนินการ KM การจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการ ขบวนการในการดำเนินงาน KM

         - ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานในแวดวงวิชาการศึกษาซึ่งทำงานต่างสถาบันกันได้รับทราบประสบการณ์ที่ต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาในองค์การของตนได้ เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่นมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเอง

         - การลงมือปฏิบัติจริง

         - ความรู้สึกที่เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน

         - การมีเครือข่ายที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

         - ความรู้ที่หลากหลายที่เกิดจากประสบการณ์จริงที่นำมาเล่าเรื่อง

         - มีทัศนะคติที่ดี ระหว่างกิจการนักศึกษาและวิชาการ จำนวนวัน 1วันครึ่ง เหมาะสมสำหรับการอบรม ไม่น่าเบื่อ

         - ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยจากนักปฏิบัติที่มีประสบการณ์

         - แนวความรู้ ความคิด วิธีการดำเนินงานของเพื่อนผู้เข้ารับการอบรมจากสถาบันต่าง ๆ ในการที่จะพัฒนานิสิต นักศึกษา ให้เกิดมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ ก่อนที่จะจบการศึกษาออกไปเพื่อเข้าสู่สังคม นอกเหนือจากที่ได้รับจากวิทยากร

         - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในด้านกิจกรรมแต่ละสถานศึกษา

         - ได้เห็นแนวทางการจัด Workshop ซึ่งน่าสนใจมาก สามารถนำไปขยายผลได้

         - ประสบการณ์ที่เราไม่เคยเจอ องค์ความรู้

         - ความรู้เรื่อง KM กระบวนการ KM ความรู้จากเอกสารประกอบการสัมมนา

         - ได้พบและได้ฟังการบรรยายจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ซึ่งได้รับความรู้ และแนวคิดจากท่านมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

         - บรรยากาศการเข้าทำกิจกรรม KM ในกลุ่ม

         - ได้เรียนรู้การทำ B to B

         - รู้จักขุมความรู้ใหม่ “blog”

         - ได้รับความรู้ความคิดเห็นที่ใหม่ ๆ สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี

         - ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สามารถนำข้อดีไปใช้ได้ดี

         - ได้เครือข่ายทุกสถาบันสามารถนำไปสร้างความสัมพันธ์ในอนาคตได้

         - ได้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ ได้ความความคิดใหม่ ๆ

         - ทำ Workshop ที่ค่อนข้างใช้เวลามาก

         - ได้เข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นด้านการปฏิบัติจริงของการทำ KM และความรู้ที่ระดมมายังไม่เห็นภาพบัณฑิต

         - (มี 2 ส่วน) 1. ด้านภาพบัณฑิตต่ำกว่าความคาดหวัง  2. ด้านการเข้าใจและปฏิบัติ KM เข้าใจเกินคาดและยังได้รู้ถึง B+B จะได้เข้าศึกษาต่อไป

         - ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกลุ่มค่อนข้างมาก

         - มีการจัดการอบรมที่มีประสิทธิภาพ

         - ได้รู้จักเพื่อนร่วมกลุ่ม ได้มองเห็นถึงสภาพในการทำงาน บางส่วนที่ได้เป็นความรู้ใหม่ และจะนำไปปรับให้เข้ากับสภาพของเราได้

         - ได้เครือข่ายใหญ่ ๆ

         - ได้แนวทางใหม่ในการจัดการ KM เพิ่มขึ้น

         - ได้พบว่า KM เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นธรรมชาติ

         - ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ KM มากขึ้น

         - มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และเรียนรู้ร่วมกัน

         - ได้เครือข่าย KM

         - ได้รู้จัก KM มากขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติกับงานที่รับผิดชอบ

         - ประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมสัมมนา

         - ได้รู้เรื่อง blog

         - ประสบการณ์จากเพื่อน ๆ ในกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         - ได้รูปแบบ แนวทางในการปฏิบัติโครงการจัดการความรู้

         - ความดีของแต่ละคนที่แฝงอยู่

         - ได้ทดลอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รู้จักคณาจารย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งงานวิชาการและงานกิจการนักศึกษา

         - ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมการสัมมนาท่านอื่น ๆ

         - ได้ประโยชน์อย่างมากจากกิจกรรมครั้งนี้ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทุกคนสามารถพูดเปิดใจกันได้ปรึกษาปัญหาได้ และมีการนำความรู้ของทุกคนที่มีประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จมารวบรวมเป็นสิ่งที่จะนำไปใช้พัฒนาเพื่อพัฒนาองค์กรของตนเองต่อไป

         - ความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อเป้าหมายของบัณฑิตอุดมคติ

         - ได้ความรู้ใหม่ ๆ ในเรื่องของ KM ตลอดจนรูปแบบวิธีการ ในการจัดการความรู้ รวมทั้งการนำ KM ไปสู่การพัฒนาบัณฑิตในอุดมคติ

         - กระบวนการทำ KM (ว่าทำอย่างไร)

         - ได้เรียนรู้กระบวนการที่แท้จริงในการทำ KM จากการฝึกปฏิบัติในการทำกลุ่ม

         - ได้เรียนรู้วิธีการจัดการประชุมตามแนวทางของ KM

         - ได้เรียนรู้ KM จากการปฏิบัติจริง

         - พลังของความรู้จากการปฏิบัติของแต่ละคน

         - วิธีการได้ความรู้

         - ได้ทราบวิธีการจัดกิจกรรมเป็นฐานให้นิสิตได้เรียนรู้ชุมชน

         - ความตั้งใจที่จะทำเพื่อนิสิต และความเป็นกันเอง

         - ได้ปฏิบัติใน workshop

         - ได้เอกสารที่มีคุณค่าของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

         - ได้เข้าใจคนปฏิบัติกิจกรรมนักศึกษาที่ดีและเสียสละจริง ๆ

         - ได้ปฏิบัติจริง

         - ได้รู้จักกับบุคคลหลายหน่วยงาน

         - การเรียนรู้ต่อเนื่องโดยใช้ Gotoknow

         - ผู้สังเกตการณ์ช่วยให้บรรยากาศภายในกลุ่ม ลปรร. เป็นไปอย่างราบรื่นเป็นกันเอง (กลุ่ม 7 สีชมพู)

         - ความสัมพันธ์ที่ดี มิตรภาพใหม่

         - ได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง รู้สึกว่า KM ไม่ยากอย่างที่คิดไว้

         - ได้ทราบแนวคิดใหม่ วิธีการและมุมมองที่แปลกกว่าเดิม ไม่จำเป็นต้องติดกับกรอบคิดเดิม ๆ

         - จากสิ่งที่ได้เกินความคาดหวังคือการมองนอกกรอบ คิดแปลก ๆ ใหม่ ๆ ก็คิดว่าระบบราชการไทยเกือบทุกวงการชอบเอาความคิดของคนอื่นหมายถึงฝรั่งหรือญี่ปุ่นมาใช้ แล้วเราก็ล้มเหลวมาเกือบทุกตัว QCC เกิดที่อเมริกาโตที่ญี่ปุ่นแล้วมาตายที่เมืองไทย (TQA, ISO, QA, KPI, KM, Ranking, กพร. 5ส. ทั้งหลาย)

         - ประสบการณ์มาก/แนวคิด

         - วิธีการ กระบวนการของ KM ที่ทดลองปฏิบัติจริง

         - ประสบการณ์ของการปฏิบัติและจัดการที่ทำให้เกิดบัณฑิตในอุดมคติ

         - บรรยากาศการประชุมเชิงบวก ทำให้มีพลังในการทำงานพัฒนานักศึกษามากยิ่งขึ้น

         - แนวคิดมุมมองการพัฒนางานกิจการนักศึกษาจากผู้รู้ทั้งหลายว่าควรดำเนินการอย่างไร

         - ได้เครือข่ายเพิ่มขึ้น

         - เข้าใจ KM เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้ปฏิบัติจริง

         - ภาพรวมของบัณฑิตอุดมคติไทย สามารถทำให้สำเร็จโดยวิธีใดได้บ้าง ซึ่งทำให้เห็นมุมมองต่าง ๆ ที่แปลกออกไป เนื่องจากมาจากหลายแหล่งข้อมูล

         - บรรยากาศการทำ workshop ที่สนุก ราบรื่น ไม่น่าเบื่อ

         - ได้ความรู้+ขุมความรู้ จากประสบการณ์จริง

         - ได้เครือข่าย

         - ได้กระบวนการ KM เพื่อนำไปปฏิบัติจริง

         - ง่ายกว่าอ่านหนังสือ

         - การได้รับฟังการเล่าเรื่องต่าง ๆ ของกลุ่มที่หลากหลายเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้

         - ได้เป็นเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ

         - ความรู้หลากหลายจากสถาบันต่าง ๆ ความรู้ที่ดี ๆ จากการปฏิบัติงานของสมาชิกในกลุ่ม

         วิบูลย์  วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 44905เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2006 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท