Refer


Refer,ระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

การส่งต่อผู้ป่วย(Refer)

                เมื่อมีการตรวจสุขภาพแล้วต้องการที่จะส่งต่อผู้ป่วยที่มีความผิดปกติไปตรวจร่างกายโดยละเอียดที่โรงพยาบาลนั้น ก่อนที่จะมีการส่งต่อผู้ป่วยจะต้องมีการตรวจคัดกรองเพื่อหาคนที่มีความผิดปกติ โดยการตรวจคัดกรองที่จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆดังต่อไปนี้

  1. บุคลากรทางการแพทย์จะต้องมีความร่วมมือกันทำงานเป็นทีม
  2. เครื่องมือที่นำมาตรวจร่างกายจะต้องมีความสะดวก ง่ายต่อการใช้ แปลผลรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ มีความปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุดเพราะการตรวจคัดกรองจะต้องมีการตรวจผู้ที่สงสัยว่าจะมีอาการผิดปกติค่อนข้างมาก

การส่งต่อคนที่มีความผิดปกติไปตรวจละเอียดซ้ำที่โรงพยาบาลสิ่งที่จะต้องเตรียมให้พร้อมมีดังต่อไปนี้

  1. ประวัติคนไข้ (OPD Card) รวมทั้งประวัติอาชีพของผู้ป่วย
  2. แบบฟอร์มอธิบายลักษณะงานที่ผู้ป่วยทำ
  3. ปัญหาสุขภาพที่ตรวจพบ ซึ่งอาจจะประกอบด้วย

-                   การวินิจฉัยเบื้องต้นโดยแพทย์ผู้ตรวจคัดกรอง

-                   กรณีที่มีการตรวจเลือดควรแนบผลการตรวจเลือดไปด้วย

-                   ประวัติการรักษาเบื้องต้น

  1. การติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาล เพื่อขอรถพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปโรงพยาบาลและได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่ถูกต้อง
  2. ระบุงบประมาณค่าใช้จ่าย และสิทธิการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยมี เช่น ประกันสังคม เป็นต้น
  3. ความคิดเห็นอื่นๆของแพทย์ผู้ตรวจ

นอกจากนี้สถานประกอบการที่ผู้ป่วยทำงานควรจะมีการตรวจร่างการประจำทุกปีเพื่อหาความผิดปกติของร่างกายของพนักงานเพื่อที่จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที

ระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

องค์ประกอบหลักในการจัดทำระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

  1. อบรมทีมงานซึ่งได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ หน่วยกู้ชีพ ฯลฯ
  2. กำหนดวัตถุประสงค์โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทีมงานทุกคน
  3. อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่สำคัญในการกู้ชีพ
  4. อบรมกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินให้กับทีมงาน
  5. การติดต่อประสานงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น 1669 , 191 เป็นต้น

ทีมงานทุกคนจะต้องได้รับการอบรมและฝึกปฏิบัติระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่สำคัญต่างๆดังต่อไปนี้

  1. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง
  2. การช่วยชีวิตจากอุบัติเหตุจากจราจร
  3. การทำคลอดฉุกเฉิน
  4. การช่วยชีวิตจากอุบัติเหตุทางน้ำ
  5. การช่วยชีวิตจากการถูกชน
  6. การช่วยชีวิตจากการถูกแทง
  7. การช่วยเหลือในกรณีที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูสันหลัง
หมายเลขบันทึก: 448730เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท