ทฤษฎีการเรียนรู้


ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข

 

        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้เล็งเห็น ความสุข และต้องการให้นักเรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข จึงเชิญคณะผู้เชี่ยวชาญร่วมกันศึกษาค้นคว้า โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิติยวดี บุญซื่อ (กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ 2540) เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งได้นำเสนอ " ทฤษฎี การเรียนรู้อย่างมีความสุข " สรุปหลักการสำคัญว่า การเรียนรู้อย่างมีความสุข จะต้องมีแนวคิดพื้นฐานที่จะต้องสร้างความรักและความศรัทธาให้กับนักเรียน เพราะศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นของ การเรียนรู้ ที่ดีที่สุด การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการได้สัมผัส และสัมพันธ์กับของจริงและธรรมชาติ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตนเอง และบุคคลรอบข้าง ช่วยให้เขาปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวการประยุกต์กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย

        การพัฒนาให้เด็กเป็นคนที่ เก่ง ดี และ มีความสุข ต้องมีความสมดุลในการจัด กระบวนการเรียน การสอน บรรยากาศ และ สภาพแวดล้อมโดยให้เด็กได้ สนุก สนาน กับกิจกรรมการเรียน และเสริมสร้าง ประสบการณ์ที่ สร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนมี ความสุข จากการช่วยเหลือ อื้ออาทรและร่วมมือร่วมใจกัน สามารถจัดการ จัดระบบโดยร่วมมือกันรับผิดชอบ ในการปฏิบัติตากฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อตกลง เพื่อเสริมสร้างวินัยในตนเอง สำหรับการอยู่ร่วมกัน และให้ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่รู้ ซึ่งต้องอาศัย กระบวน การเรียนรู้ ตามสภาพจริง (Authentic Learning) และ กระบวนการ ประเมินตามสภาพจริง (Authentic Evaluation)
ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นคนเก่ง ดี และ มีความสุข ควรจะมีการส่งเสริม หรือพัฒนาเด็ก ดังนี้

        1. ส่งเสริมให้เด็กเป็น ศูนย์กลางของการเรียนรู้ (Student - centered approach) โดยเน้นให้เด็กเป็นผู้ปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        2. ส่งเสริมพัฒนาการของสมองทุกๆ ด้าน (Whole brain approach) ทั้งด้านร่างกาย ภาษา คณิตศาสตร์ ดนตรี การรับรู้ และมิติสัมพันธ์ และการรักธรรมชาติ
        3. ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะ กระบวนการคิด (Thinking Skill) และการ แก้โจทย์ปัญหา อย่างเป็นเหตุเป็นผล และในเชิงสร้างสรรค์
        4. เน้นการบูรณาการการเรียนรู้ และทักษะความถนัดของผู้เรียน โดยส่งเสริมศักยภาพของเด็กทุกๆด้าน โดยการเรียนเป็นหน่วย(Thematic Apporach)
        5. เน้นการพัฒนาเด็กในด้านการอยู่ร่วมกัน และทำงานร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตย
        6. ส่งเสริมการเข้าใจตนเอง รู้จักส่วนดี ส่วนบกพร่องของตนเอง และความเข้าใจผู้อื่น สามารถชื่นชมกับความสำเร็จของผู้อื่น
        7. เน้นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Evaluation) โดยอาศัย การสังเกต การสัมภาษณ์ การเก็บสะสมแฟ้มผลงานของเด็ก
 

 

หมายเลขบันทึก: 448664เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท