การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง : ส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือกระทรวงศึกษาธิการ



          สาระในการประชุม กกอ. เมื่อวันที่ ๒ มิ.ย. ๕๔ วาระแจ้งเพื่อทราบ ความก้าวหน้าของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๑) ทำให้ผมเขียนบันทึกนี้   โดยไม่มีเจตนาจาบจ้วงใคร   แต่ต้องการชี้ม่านบังตา เพื่อประโยชน์ของประเทศไทย
 
          ผมตีความเอง (อาจผิด) ว่ารายงานนี้บอกว่า ความก้าวหน้าคือไม่ก้าวหน้า   เพราะยังดำเนินการแบบเดิมๆ   จะไม่เห็นผลที่จะเกิดที่ผลสัมฤทธิ์ของเด็ก   งบประมาณค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะตกแก่ฝ่ายบริหาร   ไปไม่ถึงการเรียนรู้ของเด็ก
 
          ผมจึงสรุปเอาเองว่า ปัญหาหรืออุปสรรคของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง คือกระทรวงศึกษาธิการ

 

 

วิจารณ์ พานิช
๗ ก.ค. ๕๔
 
               
หมายเลขบันทึก: 448536เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะเป็นไปได้หรือไม่?

1 แยกกระทรวงศึกษาธิการออกจากการบริหารงานของรัฐ รัฐมีหน้าที่สนับสนุนงบฯ

เหตุผล เปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยน หลักสูตร

2 นิสิ้ต นักเรียน นักศึกษา มีส่วนร่วม ต่อกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงมี สิทธิ ความคิดเห็นมากกว่านี้

เหตุผล ปัจจุบัน กระทรวงมีหน้าที่สั่ง นักศึกษา ต้องทำตามเท่านั้น

3 ทำไมเด็กไทยเรียนมากถึงเป็นอย่างนี้ สิงคโปร์เรียนน้อยถึงดีกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท