ประชุมประจำปี 2554 “แผนฯ 11...สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”(ตอนจบ)


     นายโฆสิต  ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)   ได้ให้ข้อคิดในการประชุมประจำปี2554 “แผนฯ 11...สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”ว่า
        แผนฯ 11 ทำอย่างบูรณาการมากกว่าแผนฉบับอื่นๆ  แต่จะต้องมีทิศทางการขับเคลื่อนในเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง คือ
        1. ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทิศทางในการพัฒนา โดยคำนึงถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี  ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้  ความรอบคอบ  ความระมัดระวัง และหลักคุณธรรม
        2.การแก้ปัญหาโครงสร้างประชากรไทยที่เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการเปลี่ยนผ่าน ที่มีอัตราการเพิ่มประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง แต่เพิ่มในวัยสูงอายุ  จนกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ   เมื่อโครงสร้างประชากรเป็นเช่นนี้ จะทำให้จำนวนแรงงาน และผู้บริโภคภายในประเทศน้อยลง  เราจึงต้องอาศัยแรงงานและตลาดจากเพื่อนบ้าน ด้วยยุทธศาสตร์การบริหารที่ดี
      3. การข้ามพ้นกับดักในการแข่งขันกับประเทศที่ก้าวหน้าในโลก  ซึ่งปัจจุบันประชากรประเทศไทยมีรายได้อยู่ในระดับปานกลาง  ซึ่ง IMF บอกว่ามีประเทศทั่วโลกอยู่ในระดับก้าวหน้า  33 ประเทศ  มีประเทศในเอเชียที่เลื่อนชั้นขึ้นมาเป็นประเทศก้าวหน้า 4 ประเทศ คือ เกาหลีใต้  ไต้หวัน  สิงคโปร์  และฮ่องกง  เพราะเขาสามารถข้ามพ้นกับดักจากประเทศที่ก้าวหน้ากว่าได้ และความสามารถดังกล่าวก็มาจาก ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มีความสามารในการแข่งขัน  ซึ่งจีนกำลังพยายามข้ามกับดัก โดยใช้ทุนทางปัญญาเป็นเครื่องมือ คือการเชื่อมโยงการปฏิบัติให้เข้ากับการวิจัย การค้นคว้า และการเรียนการสอน
      นายพยุงศักดิ์  ชาติสุทธิผล  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย   ให้ข้อคิดเห็นตอนหนึ่งว่า
      เรากำลังเผชิญกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในภาคอุตสาหกรรม ใน 3 เรื่อง คือ
      1.ความท้าทายภายในประเทศและต่างประเทศ
      2. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
      3. การพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
       เราจึงต้องปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน  โดยสภาอุตสาหกรรมได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  6 ยุทธศาสตร์ คือ
     1.การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในแนวทางการสร้างคุณค่าด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างครบวงจร และสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
    2.การพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
    3.การพัฒนาการดำเนินธุรกิจในรูปแบบคลัสเตอร์และซัพพลายเชนที่สะท้อนสู่ SME

    4. ,มาตรการเชิงรุกสำหรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) และการเตรียมความพร้อมสำหรับเขตการค้าเสรี(FTA)
    5. การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม
    6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรม      

หมายเลขบันทึก: 448141เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2011 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบเรียนท่านอาจารย์ธเนศค่ะ

ได้เรียนรู้เรื่องแผนการพัฒนาประเทศไทยที่ยั่งยืนค่ะ แต่ก็มีความสงสัยต่อไปว่าเมื่อรัฐบาลเปลี่ยน เรื่องที่กล่าวมานี้คงพลิกผันเปลี่ยนไปด้วยนะคะ ในฐานะที่เป็นข้าของแผ่นดินคนหนึ่งก็ตั้งใจมากในสิ่งที่ตนเองทำอยู่ให้เกิดผลดีที่สุดค่ะ

ขอให้อาจารย์มีความสุขในการงานที่ทำนะคะ

ที่ผ่านมาก็มักจะเป็นเช่นนั้น ใครเป็นรัฐบาลก็ยึดนโยบายของตนเป็นหลัก (เว้นแต่เชื่อมโยงกันได้) ประเทศเราถึงเป็นเช่นนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท