ผนึกหนึ่งของ PAR


การนำองค์ความรู้ที่ได้นั้นไปถ่ายทอดและมอบให้กับ “ลูกศิษย์” ซึ่งถือว่าเป็นอนาคตของประเทศชาติ

สืบเนื่องจากข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณกัลยา มิขะมา

ท่านได้ให้ประเด็นที่น่าสนใจว่า

"ครั้งต่อไปเขียน การวิจัย แบบ PAR บ้างสิค่ะ จะตามอ่านตลอดไปนะคะ"

อยากจะเรียนสั้น ๆ เลยครับว่า การเขียนพาเป็นเป็นอย่างไรนั้นไม่ยากครับ แต่ PAR นั้นยากที่ต้อง "ทำแบบไม่ทำ" ครับ

ซึ่งผมได้มีโอกาสลงรายละเอียดของการทำงานแบบมีส่วนร่วมไว้ช่วงหนึ่งครับใน "ท่าสักไดอารี่"

 ท่าสักไดอารี่(1) : อารัมภบท

ท่าสักไดอารี่(2) : ร่วมคิด ร่วมริเริ่มโครงการ

ท่าสักไดอารี่(3) : ร่วมเรียนรู้ ร่วมกันทำงาน ร่วมมีเจ้าภาพ

ท่าสักไดอารี่(4) : สร้างเครื่องมือ

ท่าสักไดอารี่(5) : เรียนรู้เรื่องกระบวนการเก็บข้อมูลในชุมชนภาค 2 

ท่าสักไดอารี่(5) : เรียนรู้เรื่องกระบวนการเก็บข้อมูลในชุมชนภาค 3

ท่าสักไดอารี่(6) : ผังชุมชน

ท่าสักไดอารี่(6) : ผังชุมชน : KM

ท่าสักไดอารี่(6) : เก็บข้อมูลชุมชน 

ท่าสักไดอารี่(7) : เก็บข้อมูลชุมชน จัดกระบวนการเรียนรู้ภาค1

ท่าสักไดอารี่(7) : เก็บข้อมูลชุมชน จัดกระบวนการเรียนรู้ภาค2 เรื่องการสัมภาษณ์

ท่าสักไดอารี่(8) : เตรียมการนำเสนอ

ท่าสักไดอารี่(9) : นำเสนอและปิดโครงการในชุมชน

ท่าสักไดอารี่(10) : สรุปโครงการ

ท่าสักไดอารี่(10) : สรุปโครงการภาค2

ท่าสักไดอารี่(11) : เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน

มหาวิทยาลัยที่เข้มแข็ง : ส่วนหนึ่งจากท่าสักไดอารี่

การจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Learning: PAL)ส่วนหนึ่งจากท่าสักไดอารี่

เมื่อวิจัยจบแล้วจบเลยไหม : ส่วนหนึ่งจากท่าสักไดอารี่

 เสียงสะท้อนจากนักศึกษา : ส่วนหนึ่งของท่าสักไดอารี่

ประโยชน์จากท่าสักไดอารี่ : มุมมองใส ๆ ของนักศึกษา

เป็นงาน PAR ที่เราทำร่วมกัน (นักศึกษา อาจารย์ ชุมชน นักวิชาการ หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน) กับงานที่เริ่มต้นโดยไม่ได้มีงบประมาณแม้แต่เพียงบาทเดียวครับ พวกเรามีแต่ใจที่อยากจะทำงานร่วมกันครับ

จากกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาด้านบน พวกเราได้เงินมาจากการบริจาคของหลาย ๆ ภาคส่วนครับ ซึ่งงบประมาณทั้งโครงการตั้งแต่ต้นโครงการจนกระทั่งเมื่อทำเสร็จพวกเราคิดงบประมาณออกมาแล้ว หมดไปห้าพันกว่าบาทครับ

แต่เหนือกว่าได้เราทุก ๆ คน ได้ "ปัญญา" อย่างมากมายมหาศาลครับ

 

 บันทึกนี้ก็เลยได้นำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ตกผลึกจากกงานวิจัยอีกเล่มหนึ่งของผมและทีมงาน "โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์" ที่เตรียมจะลงหลายครั้งแล้วครับ แต่ก็มิได้มีโอกาสได้ลงเป็นบันทึกเสียทีครับ

จึงได้นำได้มาถ่ายทอดให้ทุก ๆ ท่านเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ


การวิจัยแบบ “พา” นั้น เป็นรูปแบบการวิจัยเป็นการก้าวข้ามพรหมแดนของนักวิชาการบนหอคอยที่หมกมุ่นอยู่แต่การสอนและการวิจัยบนโต๊ะทำงาน โดยตัดขาดจากความเดือดเนื้อร้อนใจในปัญหาของชุมชน

วันนี้นอกจากผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำวิจัยทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ชุมชน หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน  หรือว่า NGO จะได้รับประโยชน์จากการทำวิจัยครั้งนี้ เราคงจะลืมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอีกคนหนึ่งไปไม่ได้

สิ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ของราชภัฏ ปรัชญาของมหาวิทยาลัย นโยบายของคณะ คนที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้    โดยตรงคือ “นักเรียน หรือนักศึกษา”

เพราะในฐานะของครูหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยนอกจากการสอน ภาระกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ“งานวิจัย” แต่เนื้อแท้ที่ได้รับจากการวิจัยที่ได้รับนั้นไม่ได้ออกมาในรูปของตัวเงิน ผลงาน หรือตำแหน่งทางวิชาการ แต่หัวใจของการวิจัย  ก็คือ การนำองค์ความรู้ที่ได้นั้นไปถ่ายทอดและมอบให้กับ “ลูกศิษย์” ซึ่งถือว่าเป็นอนาคตของประเทศชาติ

เมื่อวานเราได้จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนแล้ว วันพรุ่งนี้เราจะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นในห้องเรียนอย่างยั่งยืน และทำให้ลูกศิษย์ของเรานั้นได้เรียนรู้เรื่องของตัวเขาเอง เรียนรู้วิธีการ เรียนรู้หนทาง  รู้วิธีการแก้ปัญหา

เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของเราไปแล้ว เมื่อมีปัญหาแบบนี้เข้ามา เขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร จะต้องหาข้อมูลต่าง ๆ มาจากที่ไหนเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น เขาจะทำได้ เพราะการกระบวนการเรียนรู้นี้สร้างปัญญา ช่วยให้คนมาร่วมกันคิด ร่วมกันศึกษาเอง ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและหาทางออกได้ด้วยตนของเขาเอง วันนั้นอนาคตของชาติเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะนำประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเท่านั้น แต่อนาคตของชาติเหล่านี้จะทำให้ชุมชนของเขาเองไปสู่ความสุขที่แท้จริงและยั่งยืนได้ เพราะ “พา”

หมายเลขบันทึก: 44807เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • จะเรียกว่า "ติดอาวุธทางปัญญา" ได้ใหมครับอาจารย์
  • "PAR" เหมาะมากที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการทำงาน/การเรียนรู้ของงานพัฒนาชิ้นหนึ่ง  ซึ่งอาจจะมีที่เหมาะสมอีกหลายๆ เครื่องมือ
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • ได้สิครับพี่วีรยุทธ
  • ใช่เลยครับ เป็นการติดอาวุธทางปัญญาครับ
  • ขอบพระคุณพี่วีรยุทธมาก ๆ ครับที่เข้ามาต่อยอดและเติมเต็มรวมถึงติดอาวุธทางปัญญาให้ผมมากขึ้นครับ

สุดยอด เลยครับท่าน

ต้องขอบคุณบันทึกนี้มากๆเลย..

ขอเวลาย่อยไปทีละบันทึกละกันนะครับอาจารย์ 

ได้อ่านแล้วรู้สึกตะลึงมากเลยครับ

  • เรื่อง PAR ผมเองเพิ่งรู้จัก
  • แต่พบว่ามีอะไรคล้ายๆ กับที่ผมกำลังดำเนินอยู่
  • เป็นประโยชน์มากครับ
  • กำลังทยอยอ่านตามคุณจตุพร มีเพื่อนร่วมอ่านละ ดีใจ
  • ขอบคูรสำหรับบันทึกนี้ครับ

 

อ่าน "พา" บันทึกแรก "อารัมภบท" แล้ว ชอบมากครับ จะอ่านให้ครบทุกบันทึกเร็วๆนี้ เป็นขุมความรู้ที่สลัดคำอธิบายแบบวิชาการที่อาจารย์เขาอธิบายกันในมหาวิทยาลัย อาจารย์กลั่นความรู้ประสบการณ์ออกมาได้เยี่ยมมากครับ

ท่านจันทร์เมามาย

ท่านอ่านแล้ว ตีลังกาคิดด้วยนะ

ลองคิดตามมุมมองของท่านนั่นหละ...น่าสนใจ

แล้วเจอกันครับ

 ..................

จะบอกว่า อาจารย์ปภังกร หน้าคล้ายเพื่อนผมคนหนึ่ง(มาก) เวลาโพสก็นึกถึงเพื่อนคนนี้ทุกที 

  • คุ้นเคยแต่วิจัยในห้อง Lab วันนี้เริ่มจะหัดงานวิจัยที่สัมผัสชุมชน โดยรู้สึกว่าชอบ เมื่อไปร่วมงาน ที่วังน้ำเขียว เมื่อสองสามปีก่อน จะเป็น พา หรือ ไม่ใช่พา ก็ไม่ทราบ
  • คงต้องค่อย ๆ มาเรียนรู้ และ เริ่มปฏิบัติ พาPAR จากที่นี่

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท