สาระดีๆ จาก วันนักวิจัย และนวัตกรรม ม.อ. ครั้งที่ 5


"อนาคตของงานวิจัยและงานการศึกษาในมหาวิทยาลัย จะไปด้วยกันทางไหนดี"

ในช่วงเช้าวันอังคารที่ 28 มิถุนายน ผมได้มีโอกาสเข้าร่วม วันนักวิจัย และนวัตกรรม ม.อ. ซึ่งได้จัดเป็นครั้งที่ 5 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มอ.หาดใหญ่ โดยผมได้เข้าร่วมรับฟัง การปาฐกถาพิเศษ “ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข” ครั้งที่ 2 เรื่อง “อนาคตของงานวิจัยและงานการศึกษาในมหาวิทยาลัย จะไปด้วยกันทางไหนดี” โดย ศ.ดร.ศกรณ์ มงคลสุข ทายาทของท่าน ศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผมได้สรุปประเด็นสำคัญๆ มาร่วม share ให้กับท่านที่สนใจ ดังนี้

1.บทบาทของมหาวิทยาลัยในอดีตมุ่งเน้น Teaching, Learning and Research แต่ในปัจจุบันปัจจุบัน หลายๆมหาวิทยาลัยมีการคำนึงถึง Internationalization หรือ ความเป็นสากลเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเปิดประตูสู่ Asean 2015
2. ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือ USR หรือ University Social Responsibility คือการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
3. ในการพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ ควรคำนึงถึง 21st Century Skills ด้วย โดย 21st Century Skills สามารถจัดกลุ่มได้ 4 หลักๆ ดังนี้

1) Way of thinking ได้แก่ Creativity and innovation, Critical Thinking , Problem-Solving, Decision-Making
และ Learning
2) Way of working ได้แก่ Communication and collaboration
3) Tools for working ได้แก่ Information and Communication Technology (ICT), Information Literacy
4) Skill for living in the world ได้แก่ Citizenship, Life and Career, Personal and Social Responsibility

4. NRU : National Research University หรือ โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 6) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 7) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8) มหาวิทยาลัยมหิดล 9) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และปัจจัยหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่มหาวิทยาลัยต้องส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัย คือ การจัดลำดับมหาวิทยาลัย หรือ Ranking University ของสถาบันต่างๆ เช่น QS-Ranking , World University Ranking ตัวอย่าง Criteria ด้านงานวิจัย เช่น 1) Number Publication per Faculty Member หรือจำนวนผลงานตีพิมพ์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 2) Citation per Faculty Member หรือ จำนวนการอ้างอิงของผลงานตีพิมพ์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ เป็นต้น
5. ข้อมูลด้านบุคลากรด้านการวิจัย เป้าหมายของประเทศไทย คือ จำนวนบุคลากรวิจัยเต็มเวลาเทียบเท่า 10 คนต่อ ประชากร 10,000 คน (10 : 10,000) แต่ปัจจุบันประเทศไทย มีจำนวนบุคลากรวิจัยเต็มเวลาเทียบเท่า 6.76 คน ต่อประชากร 10,000 คน (6.76 : 10,000) ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเรามีสัดส่วนดังนี้ มาเลเซีย (7: 10,000), ญี่ปุ่น (72.1 : 10,000) และ สิงคโปร์ (82.2 : 10,000)
6. ระบบวิจัยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย และสังคมไทยต้องตื่นตัวด้านนวัตกรรม และตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาวิจัย (R&D)
7. งานวิจัยประเภท Translational Research ในประเทศไทยมีแนวทางการทำได้ยากมาก แต่มีแนวโน้มควบคู่ไปกับงานวิจัยประเภท Basic & Applied Research ต่อไปได้ในอนาคต
8. University Research Output เช่น International Publications, Publication per Staff, Citation per Staff เป็นต้น มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้มีการตีพิมพ์เยอะๆ
9. SJR เป็นการแบ่งคุณภาพของวารสาร เป็นควอไทด์ 1- 4 ใช้สำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกของ สมศ. รอบ 3 ด้วย


อ.บุญรัตน์ บุญรัศมี

หมายเลขบันทึก: 447570เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท