สปสช. เปิดเวทีแรกงานกิจกรรมบำบัด


บันทึกสาระจากการประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนกลไกการส่งเสริมสนับสนุนนักกิจกรรมบำบัดในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ขอขอบพระคุณสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนกลไกการส่งเสริมสนับสนุนนักกิจกรรมบำบัดในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในวันที่ 30 มิถุนายน 2554 เวลา 9.30-12.30 น. ณ ห้องประชุม 204 สปสช. อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

รวมทั้งขอขอบพระคุณคุณอรจิตต์ ผอ.สำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีและผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และทีมงานฯ ร่วมกันสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ร่วมกับพี่โฉมยงค์ ตัวแทนนักกิจกรรมบำบัดคนเก่ง ที่เชิญนักกิจกรรมบำบัดจากสถาบันการศึกษาและสถานพยาบาลในหลายระดับ

ประเด็นที่น่าสนใจคือ

1. โจทย์จากเวทีแรกนี้คือ "นักกิจกรรมบำบัดจะมีกลยุทธ์ในเชิงระบบร่วมกับสปสช.อย่างไรในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนักกิจกรรมบำบัดในชุมชน"

2. ตัวเลขที่น่าสนใจคือ มช.และม.มหิดล เป็นเพียงสองสถาบันการผลิตนักกิจกรรมบำบัดได้ปีละไม่เกิน 120 คน แต่ประเทศไทยมีนักกิจกรรมบำบัดที่ได้ใบประกอบโรคศิลปะ ณ วันนี้คือ 725 คน กระจายตัวทำงานในสถานพยาบาลทั่วประเทศเพียง 439 คน เกิดอัตราการสูญเสียกำลังคนสูง

3. นักกิจกรรมบำบัดทำงานใน 34 จังหวัด และโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่เหลือยังคงมีความต้องการนักกิจกรรมบำบัด แต่บางที่ฝ่ายบริหารยังไม่เข้าใจบทบาทนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งหากเข้าใจบทบาทสามารถทำเรื่องการขอจ้างภายในโรงพยาบาลหรือประสานงานกับสปสช.ได้ในส่วนกองทุนตาม กม. ส่วนท้องถิ่น ที่สามารถจัดสรรมาจ้างนักกิจกรรมบำบัดชุมชนได้โดยเฉพาะโรงพยาบาลระดับจังหวัดเพื่อให้เป็นพี่เลี้ยงแก่สหวิชาชีพอื่นๆ ในระดับตำบลและชุมชนต่อไป 

4. ประชากรไทยเข้าถึงการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเพียง 11.17% ส่วนใหญ่มีครบทุกโรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ รองมาคือ ภาคกลางและภาคอีสาน ยังขาดแคลนอย่างมากในภาคอื่นๆ

5. ตัวเลขของนักกิจกรรมบำบัดในสถานพยาบาล/จำนวนที่ต้องการ คือ โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) 20/25 โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) 14/69 โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 21/700 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 1/7,000 และหน่วยงานสุขภาพชุมชนกว่า 70,000 หมู่บ้านที่มีนักกิจกรรมบำบัดช่วยเหลืออยู่เพียง 100 หมู่บ้าน จะเห็นว่าใน 5-10 ปี สถาบันการผลิตก็ไม่มีแนวโน้มผลิตนักกิจกรรมบำบัดได้ทันตามความต้องการของประชากรทุกระดับ

6. ในส่วนนักกิจกรรมบำบัดที่สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ นั้นยังแสดงบทบาทนักกิจกรรมบำบัดไม่ได้เต็มศักยภาพ เพราะข้อจำกัดของตำแหน่ง "ครูกิจกรรมบำบัด" ที่เน้นวุฒิการศึกษาครูเพิ่มเติมเพื่อไปสอนวิชาต่างๆ (อบรม 2 ปีและสอบ) โดยไม่มีโอกาสทำงานในฐานะ "นักกิจกรรมบำบัดในโรงเรียน" ได้มากนัก ดังนั้นสปสช. อาจเปิดเวทีให้กระทรวงสาธารณสุข (กรมการแพทย์ และกรมสุขภาพจิต) กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ) มีทำความเข้าใจและให้นักกิจกรรมบำบัดในโรงเรียนมีโอกาสพัฒนางานมากขึ้น

7. ในปีงบประมาณ 5 ปี นักกิจกรรมบำบัดควรประชุมประจำทุก 3 เดือนเพื่อสร้างกลยุทธ์และกรอบแนวคิดเชิงระบบในการพัฒนางานกิจกรรมบำบัดในชุมชนให้เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทย โดย สปสช. จะคิดกลยุทธ์ให้เกิดเครื่อข่ายหน้างานและร่องรอยของระบบการให้บริการ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ เช่น

  • นักวิชาการควรเพิ่มการวิจัยและพัฒนางานกิจกรรมบำบัดในชุมชนเพื่อเสนอเป็นรูปแบบนำร่องและประยุกต์สู่การแก้ไขปัญหาทางสังคม
  • นักวิชาชีพปฏิบัติการควรพัฒนาบทบาทถ่ายทอดความรู้เพื่อนำงานแบบ "คู่หูหรือ Buddy" กับสหวิชาชีพ (นักกิจกรรมบำบัด Buddy กับพยาบาลในงานบริการสุขภาพจิตในชุมชน และนักกิจกรรมบำบัด Buddy กับนักกายภาพบำบัดในงานบริการสุขภาพกายในชุมชน) ในรูปแบบ "ฝากและสร้างงานด้วยสหวิชาชีพจากระดับจังหวัดสู่อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน"
  • นักวิชาชีพปฏิบัติการควรสร้างระบบพี่เลี้ยงเพื่อสร้างหลักสูตร "กิจกรรมบำบัดในชุมชน" แก่ผู้อาสาสมัครจิตอาสา ผู้สนใจ ผู้เกี่ยวข้อง ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และสังคม...เริ่มจากหน่วยงานระดับอำเภอสู่ระดับตำบลและหมู่บ้านที่มีชีวิตชีวา 50-100 ชุมชน
  • พัฒนาองค์ความรู้แก่นักกิจกรรมบำบัดปีละ 1-2 ครั้ง ที่เน้นงานกิจกรรมบำบัดประสมประสานงานการพัฒนาสังคม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทบาทนักกิจกรรมบำบัดเฉพาะทางในสถานพยาบาลระดับต่างๆ ร่วมกับการเชิญวิทยากรในระดับเชิงระบบ/นโยบายมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการพัฒนากำลังคนให้เกิดความรู้สึกและความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ที่เกิดความสุขในการพัฒนาตนเองเพื่อส่วนร่วม เช่น ทำหน้าที่ของตนเองในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดให้ดีที่สุดและยั้งยืนในหน่วยงานบ้านเกิด เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ควรกระจายคนไปในชุมชนย่อยเกินไป ซึ่งต่างจากวิชาชีพกายภาพบำบัดที่มีสถาบันผลิตเพียงพอ

ท้ายสุดนี้ นักกิจกรรมบำบัดในชุมชน มีบทบาทที่น่าสนใจอย่างสากล คือ

1. สร้างแนวทางการจัดการตนเองให้บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือ จิตสังคม ทุกช่วงวัย มีความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างอิสระ ไม่พึ่งพิงผู้อื่นมากจนเกิดความเหมาะสม และปลอดภัย

2. เพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนทั้งระดับผู้ที่ต้องการพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและผู้ดูแลที่ช่วยเหลือในระดับพลังกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความพร้อมในการฟื้นฟูฯ เช่น การฝึกกิจวัตรประจำวันที่ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น, การสำรวจความต้องการในกิจกรรมบำบัดระดับเร่งด่วน ปานกลางใน 3 เดือน และน้อยใน 6 เดือน, มีการประเมินที่ใช้ได้จริงในชุมชนแต่ละระดับ, การให้บริการจิตอาสามืออาชีพ, การปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างความสามารถของมนุษย์อย่างพอเพียง, และการออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วย/เสริม เป็นต้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 446854เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2011 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

- OT กับ สปสช. มาประชุมร่วมกันเพื่อเข้าใจบทบาทของ OT ที่แท้จริง

- ตีพิมพ์, ให้ความรู้ทางด้านกิจกรรมบำบัด เพื่อจะทำให้ทราบว่า OT จะสามารถช่วยผู้รับบริการในประเภทไหนบ้าง

- OT ควรมีการให้เหตุผลทางคลินิกเพื่อให้สามารถยืนยันว่าบทบาทของวิชาชีพ OT สามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม

เช่น วีดีโอ

บทบาท OT ที่เห็นเป็นรูปธรรม

- พิจารณาเครื่องช่วยให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละคนและมีการสอนวิธีอุปกรณ์เครื่องช่วยที่ถูกต้อง โดย OT จะมีการติดตามผลการใช้

อุปกรณ์เครื่องช่วย, การซ่อมบำรุง

- ไปเยี่ยมบ้าน และนำบริบทที่อยู่ในบ้านมาปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ

FoR

- นำกรอบอ้างอิง PEOP มาพิจารณาในการปรับใช้เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้

- นำกรอบอ้างอิง Psychosocial มาส่งเสริม self-value ของผู้รับบริการ

- นำ KAWA Model ให้คนในชุมชนมาช่วย support ทางด้านจิตใจของผู้รับบริการ

- บอกบทบาท OT ในฝ่ายจิต

>> Time management จัดการเวลาให้สมดุลในชีวิตประจำวัน โดยดูบริบทของแต่ละบุคคล

>> การฝึกให้เขาสามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ เช่น การจัดการอารมณ์ การฝึกอาชีพ

>> สร้างความเข้าใจในครอบครัวเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการ

>> อยากให้ OT รู้หลักของสิทธิประกันสุขภาพ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ญาติในการช่วยเหลือผู้รับบริการ และได้รับสิทธิที่ถูกต้อง

>> จัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น ในองค์กร หรือในชุมชน

>> จัดโปรแกรมการป้องกันสุขภาพจิต เน้นการลงไปในชุมชน ซึ่งจะสามารถส่งเสริมสุขภาพจิตได้ในผู้รับบริการทุกกลุ่ม

- FoR ในการจัดโปรแกรม

>> Psychosocial Rehabilitation ร่วมกับ PEOP ดูเรื่องบทบาทการทำงาน และจำกัดสิ่งเร้าในชุมชน เพื่อให้เขาใช้ชีวิตในชุมชนได้อย่างมีความสุข

ot สามารถนำเสนอบทบาทของตนเองให้กับองค์กรหรือ สปสช ได้อย่างไร

- แสดงบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด ให้เห็นความแตกต่างกับวิชาชีพกายภาพบำบัด หรือครูการศึกษาพิเศษ โดยแสดงองค์ความรู้ของกิจกรรมบำบัด หลักการ กรอบอ้างอิงให้ขัดเจนมากขึ้น

- แสดงบทบาทว่าเราคือ "นักกิจกรรมบำบัด" บอกความแตกต่างและอธิบายให้ชัดเจน เช่น การพัฒนาเด็ก , การปรับพฤติกรรมทักษะชีวิต(Occupational behavior) หรือการดัดแปรสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อให้เกิดการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักการและกรอบอ้างอิงมาสนับสนุน

-นำกรอบอ้างอิงในการทำงานไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชุมชน เช่น FoR sensory integration ปรับสิ่งแวดล้อม(สิ่งเร้า)ให้สมดุลเน้นการใช้ชีวิตที่บ้านและโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่

-เน้นให้ความรู้กับผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองรู้การรักษา ให้ Home programe รู้จักการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก

-ให้ผู้ปกครองรู้สิทธิของผู้พิการ ให้เห็นประโยชน์จากการเข้ารับการบำบัดรักษา นอกเหนือจากสิทธิอื่นๆ

สรุป Occupational behavior

พฤติกรรมการแสดงความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน การดัดแปรสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต

นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหิดล รุ่น 1

1.สร้างเครือข่ายกับบุคคลากรทางด้านสาธารณสุขในชุมชน เช่น อสม.

2.ส่งเสริมให้ความรู้แก่คนในชุมชนดูแลตนเองได้

- สิทธิในการรับบริการด้านสุขภาพ

- ให้ความรู้บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

- ให้ความรู้ด้านกฎหมาย เช่น พรบ.

3. ส่งเสริมทัศนคติด้านความเสมอภาคในชุมชน

4 ส่งเสริมเจตจำนงค์ตามกรอบอ้างอิง MOHO

5. ส่งเสริม well being และคุณภาพชีวิต

ขอบคุณครับนักศึกษากิจกรรมบำบัดรุ่นที่หนึ่ง ม.มหิดล และ ดร. ขจิต ดร.ภิญโญ คุณอาร์ม และคุณไพบูลย์

ขอบคุณครับคุณทองนาค

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท