สาวิตรี
นางสาว สาวิตรี สาวิตรี มูลย่อง

20 มิ.ย. 54 เครียดสุด ๆ


วันนี้มีสอน 2 คาบ คือ
คาบที่ 4 รหัสวิชา ค 23101 ชั้น ม.3/9 สอบเก็บคะแนนบทที่ 1 โดยให้นักเรียนแยกโต๊ะสอบ แต่ก็ไม่ห่างมากเพราะห้องแคบมากก็เลยต้องคุมเข้มเพราะกลัวนักเรียนลอกกัน แต่ห้องนี้รู้สึกว่าจะดีมาก เพราะหลังจากแจกข้อสอบแล้วทุกคนก็จะตั้งใจทำของตนเอง


คาบที่ 9 รหัสวิชา ค 22101 ชั้น ม.2/5 สอนเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สอนยากมาก เพราะมีโจทย์ที่มีแนวหลากหลาย นักเรียนเข้าใจยากก็เลยสอนตัวอย่างที่ง่าย ๆ ก่อน แต่ก็ดูเหมือนว่าจะมีอุปสรรคเยอะเหลือเกิน เพราะนักเรียนไม่ค่อยตั้งใจเรียนและคุยแข่งตลอด ห้องนี้เป็นห้องที่รู้สึกว่าสอนยากที่สุด เพราะมีเด็กที่มีปัญหาหลายคนจากการสอบถามอาจารย์ที่ปรึกษา

ตอนแรกที่เด็กคุยกันก็เตือนก่อน แต่ก็ยังไม่ฟัง ดุก็ยังไม่ฟัง ลองเงียบไม่สอน ก็รู้สึกว่าจะไม่สนใจอะไรเลย ก็เลยทนไม่ไหว เลยปาปากกาไวท์บอร์ดไป แต่ก็ปาแบบไม่ให้โดนนะ ก็แค่อยากให้เขารับรู้ว่าเราไม่พอใจ เพราะไม่รู้จะทำวิธีไหนแล้ว พอหลังจากที่ปาไป ก็รู้สึกว่าเขาจะรับรู้แล้วว่าเราไม่พอใจ และหลังจากนั้นทุกคนก็เงียบ ไอ้เราก็โกรธจนพูดไม่ออก พยายามหายใจเข้าลึก ๆ พอตั้งสติได้ก็เลย อบรมสั่งสอนไปนิดหน่อย จากนั้นก็สอนต่อแล้วให้ทำแบบฝึกหัดแล้วบังคับให้ส่งท้ายคาบทุกคน
วันนี้ก็เลยมีสมุดมาส่งเยอะกว่าทุกวัน แต่ยอมรับว่าวันนี้เครียดจริง ๆ เพราะเราไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับห้องนี้ดี เพราะในแต่ละวัน แต่ละวิธีที่ใช้และคิดว่าได้ผลแล้ว พอมาอีกวันกลับไม่ได้ผล และก็ยังมีความรู้สึกว่าเราทำเกินไปหรือเปล่า ทุกอย่างมันทำให้รู้สึกว่าวันนี้เครียดมาก

หมายเลขบันทึก: 446757เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2011 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อดทนครับ การทำงานหนักคือดอกไม้แห่งชีวิต

ทบทวนตัวเองดูนะครับ ;)

เด็กมีวุฒิภาวะไม่มากเท่ากับเรา ซึ่งผ่านประสบการณ์รู้ร้อนรู้หนาวมามากกว่า

เมื่อหนูทำแบบนั้น สภาพจิตของพวกเขาก็จะตกลง และจิตสำนึกจะไม่เกิดจากตัวของเขาที่รู้ตัวเอง แต่กลับเกิดจาก "ความกลัว" แทน

และหลังจากนั้น "ความกลัว" นั้นจะเป็นแปรเปลี่ยนเป็น "ความเกลียด" ในตัววิชานี้แทน

สภาวะแบบนี้ "อันตราย" เหลือเกินครับ อันตรายต่อจิตใจของเด็กทำให้มีวิธีคิดที่ผิดเพี้ยนได้ครับ

ในฐานะที่เราเป็น "ครู" เราต้องรู้จักอดทน อดกลั้น (ตามที่ครูเคยบอกกับเราในตอนท้าย ๆ จำได้ไหมครับ) หากไม่ไหว ให้ใช้วิธีการเดินออกจากห้องเรียนสักพักครับ

เมื่ออารมณ์เย็นลง เราก็สามารถควบคุมตนเองได้

และถือเป็นการให้โอกาสให้เด็กได้คิดในสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อครูเดินออกมา

แล้วจึงเข้าไปแจ้งเหตุผลจากเหตุการณ์เมื่อกี้นี้ให้เขาเข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้น

วาทศิลป์มีเท่าไหร่ ใส่ไปให้หมด เมื่อเด็กเกิดสำนึกแล้ว (เราสังเกตเห็น)

เราจึงเริ่มการสอนต่อ ครับ ;)...

ด้วยความห่วงใยนะครับ สาวิตรี ;)...

  • เครียดแน่เลยแบบนั้น
  • เปลี่ยนความคิดใหม่ครับ
  • เช่น เด็กเหล่านี้คือคนที่เรารักที่สุด
  • มีค่าที่สุด เพราะถ้าไม่มีพวกเขาเราจะสอนใคร
  • ถ้าเขามีความรู้ รักความรู้ เราก็ไม่จำเป็น
  • ขอบคุณพวกเขาที่ทำให้เราดูดีมีค่าขึ้น
  • การปั้นดินให้เป็นดาว เท่ากับการปั้นเด็กให้มีความรู้
  • เป็นหน้าที่ของเรา 
  • อย่างนี้จิตใจก็สงบคิดหาสิ่งที่เขาสนใจ+กับวิชาที่เราสอน
  • ทำได้ก็เยี่ยมครับ


สวัสดีค่ะ คุณสมชาย

ความอดทนนี่เป็นสิ่งที่บางที่ถ้าเราควบคุมสติไม่อยู่ เราก็ไม่สามารถที่จะอดทนได้ เพราะฉะนั้น ต่อไปดิฉันจะมีความอดทนมากกว่านี้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

เรียน อาจารย์ Ongkuleemarn

สิ่งที่หนูกลัวที่สุด ก็คือ ความรู้สึกกลัวและความเกลียดในวิชาที่เราสอน เหมือนที่อาจารย์แนะนำค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกลียดและกลัวครูผู้สอน ต่อไปหนูจะควบคุมอารมณ์ตัวเองให้มากกว่านี้ ขอบคุณอาจารย์ที่คอยเตือนสติและคอยให้คำแนะนำนะคะ บางครั้งที่เรารู้สึกท้อแต่ว่าหนูก็ไม่ถอยนะคะ หนูจะเก็บเอาคำสอนของอาจารย์ไว้เตือนสติตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

ขอบคุณมากค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์โสภณ เปียสนิท

อ่านคำแนะนำของท่านเกี่ยวกับการเปลี่ยนแนวความคิดแล้ว ทำให้รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมากค่ะ ทุกสิ่งที่อาจารย์แนะนำเป็นการคิดทางบวก ซึ่งทำให้เราไม่ทุกข์มากจนเกินไป ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับทุกข้อคิดและคำแนะนำนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ยินดีนะครับ ว่าที่คุณครู สาวิตรี ;)...

สู้ สู้ นะ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท