วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

อำเภออาจสามารถจัดงานวันสาธิตการปลูกข้าวโดยวิธีโยนกล้า


กรมส่งเสริมการเกษตร/ร้อยเอ็ด/อาจสามารถ/ข้าว

อำเภออาจสามารถจัดงานวันสาธิตการปลูกข้าวโดยวิธีโยนกล้า

 

วันนี้(28 มิ.ย. 54)นายวัชเรนทร์  ศิริมงคล เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดงานวันสาธิตวันโยนกล้าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่บ้านกลอย หมู่ที่ 10 ตำบลหน่อม

นายฐานวัฒน์  ธนโชคชัยอนันท์  นายอำเภออาจสามารถ นำกลุ่มเกษตรกร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนร่วมงาน โดยการสนับสนุนงบประมาณจากนายณรงค์  ขันแข็ง นายก อบต.หน่อม นายนิพนธ์  พละชัย เกษตรอำเภออาจสามารถ เพื่อสนองนโยบายการพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ด ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ในวันที่ 28 มิถุนายน 2554  จึงจัดงานวันสาธิตการปลูกข้าวโดยวิธีการ 

 โยนกล้า มีการจัดนิทัศการการปลูกข้าวโดยวิธีโยนกล้า โดยนายวิชาญ  เที่ยงธรรม ผอ.ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด  โดยตำบลหน่อมดำเนินการมาแล้ว 3 ปี โดยวิธีการโยนกล้า ได้ผลดี ลดต้นทุนผลผลิตเพิ่มขึ้น ปีนี้มีเกษตรกรดำเนินการจาก 1 หมู่บ้าน เป็น 5 หมู่บ้านพื้นที่กว่า 5,000 ไร่

นายวัชเรนทร์  ศิริมงคล เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด  กล่าวว่า  จากข้อมูล กรมการข้าว ด้านงานวิชาการ โดย ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีจึงได้เสนอทางเลือกใหม่แก่เกษตรกรปลูกข้าวอ้างอิงจากผลการศึกษาวิจัยการปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า (parachute) ของ นางนิตยา รื่นสุข นักวิชาการเกษตร 8ว และคณะ

  ซึ่งพบว่าวิธีการดังกล่าวประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวได้มาก เพราะใช้เพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ เท่านั้น ขณะที่ชาวนาที่ปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตมจะใช้เมล็ดพันธุ์ 30-40 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งที่ภาครัฐแนะนำอัตราเมล็ดพันธุ์ 15-20 กก./ไร่

 ส่วนการปักดำจะใช้เมล็ดพันธุ์ 6-10 กิโลกรัม/ไร่ และเมื่อเปรียบเทียบผลผลิต พบว่า การหว่านน้ำตมได้ผลผลิต 775 กิโลกรัม/ไร่ การปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ผลผลิต 875 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่การปลูกโดยวิธีการโยนกล้าได้ผลผลิต 880 กิโลกรัม/ไร่ ที่ความชื้น 14% 

เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด  กล่าวว่า   ข้อดีของการปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า ช่วยลดต้นทุนการผลิตของชาวนาในด้านของเมล็ดพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงขึ้น กิโลกรัมละ 22-25 บาท และเป็นทางเลือกให้ชาวนานำไปปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาการระบาดของข้าววัชพืช

 ในกรณีที่ชาวนาต้องการปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมและลดการระบาดของข้าววัชพืช แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นนาหล่ม รถดำนาเข้าไม่ได้ ซึ่งทั้งการทำนาดำ

 และการโยนกล้าจะใช้ระดับน้ำเป็นตัวควบคุมการงอกของข้าววัชพืชเหมือนกัน แต่ถ้ายังมีข้าววัชพืชงอกขึ้นมาได้ ชาวนาก็สามารถเห็นและแยกแยะได้อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มปลูก

ต่างกับนาหว่านน้ำตมซึ่งจะเห็นข้าววัชพืชชัดเจนในช่วงข้าวแตกกอและออกรวง ขณะเดียวกันการปลูกข้าวแบบโยนกล้านี้แปลงนาข้าวจะมีความโปร่งโล่ง

ซึ่งจะลดการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าวอันนำไปสู่การลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวได้

  

วัชรินทร์  เขจรวงศ์/รายงาน

โทร.085-7567108

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 446396เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท