อีกบรรยากาศหนึ่งของการจัด "กระบวนการกลุ่ม"


สถานที่มิใช่สิ่งขวางกั้นการสนทนา แต่บรรยากาศที่เราสร้างขึ้นต่างหากเป็นสิ่งขวางกั้นเนื้อหาที่เราชวนชาวบ้านคุย

     ก็เป็นอีกบทเรียนหนึ่ง ของการทำงานเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตข้าว โดยรวมแกนนำชาวนา 4 จังหวัด คือ จังหวัดสุพรรณบุรี  อยุธยา  อ่างทอง  และสิงห์บุรี ประมาณ 120 คนที่แบ่งเป็น 5 กลุ่ม  และมีเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน เป็นวิทยากรกลุ่ม ๆ ละ 2 คน

     ขณะที่เดิมตามหาการจัดกลุ่มคุยกับชาวบ้านแต่ละที่ ๆ ของทั้ง 5 จุด ของ บ้านทรงไทยที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ควาย จังหวัดสุพรรณบุรี ก็อดไม่ได้เลยถ่ายรูปบรรยากาศที่แต่ละกลุ่มกำลังทำงานอยู่มาให้ท่านได้ชมกัน

     49080609  * กลุ่มนี้ใช้ใต้ถุนบ้านเป็นสถานที่จัดกลุ่ม

   (ภาพนี้ : ดิฉันถ่ายจากบนระเบียงบ้านทรงไทยบ้านหลังตรงกันข้าม)

    49080605 * กลุ่มนี้ใช้เรือนแพเป็นสถานที่จัดกลุ่ม

   (ภาพนี้ : ดิฉันถ่ายมาจากริมตลิ่งใต้ต้นไม้ด้านหลังห้องประชุมใหญ่)

   49080607 * กลุ่มนี้ใช้ห้องรับแขกใต้ทุนบ้านเป็นที่คุย

   (ภาพนี้ : ดิฉันถ่ายมาจากสวนหย่อมหน้าบ้านทรงไทย)

   49080608 * กลุ่มนี้ทำงานกลุ่มเสร็จแล้วกำลังเดินกลับมาที่ห้องประชุมใหญ่ โดยใช้เวลาคุยกันประมาณ 3 ชั่วโมง/กลุ่ม

  (ภาพนี้ : ดิฉันถ่ายจากชั้นบนของระเบียงบ้านทรงไทยริมถนน)

   49080611 * กลุ่มย่อย "กองบัญชาการ"

 * ขณะที่ชาวบ้านเข้ากลุ่ม ทีมงานก็ทำงานเช่นกัน โดยปรึกษาหารือ วางแผนงาน และแจกจ่ายงานเพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์

   49080612 * เวทีใหญ่ของการประมวลสรุปข้อมูล

   (ภาพนี้ : ดิฉันถ่ายขณะที่กำลังทำหน้าที่บันทึกและประมวลผลข้อมูลอยู่แถวหน้าเพื่อส่งตัวเลขและข้อความให้กับผู้ที่ทำหน้าที่อยู่บนเวที เช่น ผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่  การลงทุนผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ ซึ่งเป็นผลรวมจากข้อมูลของ 5 กลุ่มย่อย)

     วันนั้นข้อสรุปที่เกิดขึ้นคือ  การผลิตข้าวที่ใช้สารเคมีกับเกษตรอินทรีย์ จะมีการลงทุนต่างกัน 1,000 กว่าบาท ซึ่งจะกลับมาเป็นกำไรให้กับชาวนาในการลดต้นทุนการผลิตจากการลดหรือไม่ใช้สารเคมี  นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดข้อมูลที่ยุติของต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่  ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่  ปัญหาของชาวนา   ทางออกที่เป็นไปได้ในการปรับแก้  และงานที่จะทำร่วมกันของเครือข่ายชาวนา

   ส่วนองค์ความรู้ที่ได้คือ 1)  เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตหรือ ทำนา  2)  กระบวนการผลิตข้าว  3)  ชาวนาที่เป็นผู้รู้  4)  การพัฒนาอาชีพการทำนา  5)  เครื่องมือในการแกะข้อมูลและการชวนชาวบ้านคุย  และ 6)  วิธีการทำให้นักส่งเสริมเรียนรู้งานส่งเสริมกับชาวบ้าน

   ฉะนั้น ก้าวต่อไปของการค้นหาของดีคือ เมื่อได้ของดีแต่ละเรื่องที่มาจากแต่ละบุคคล ของเนื้อหาต่าง ๆ ที่ต่างวันเวลา สถานที่ และต่างสภาพแวดล้อมกัน  ดิฉันก็จะนำมาเชื่อมโยงเพื่อจัดระบบและสร้าง Model แล้วนำไปทดลองใช้ดูเพื่อค้นหาคำตอบบางอย่างของ "การจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในงานส่งเสริมการเกษตร"

หมายเลขบันทึก: 44631เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2006 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท